คอลัมน์ มงคลข่าวสด

มงคลข่าวสด : พระพรหมมงคลวัชโรดม : วันที่ 8 ..2564 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่พระบรมราชโองการโปรดสถาปนาพระเทพปริยัติมงคลขึ้นเป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง

มีราชทินนามตามที่จารึกในหิรัญบัฏว่า พระพรหมมงคลวัชโรดม สุตาคมปริยัติวิธาน ปรีชาญาณอัคคบัณฑิต ไพศาลศาสนกิจดิลก สาธกธรรมวิจิตร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี สถิต ณ วัดจองคำ พระอารามหลวง จังหวัดลำปาง มีฐานานุศักดิ์ตั้งฐานานุกรมได้ 8 รูป

ตั้งแต่วันที่ 7 ..2564 ประกาศ ณ วันที่ 8 ..2564 เป็นปีที่ 6 ในรัชกาลปัจจุบัน

วัดจองคำ ตั้งอยู่เลขที่ 34 .พหลโยธิน สายลำปางงาว ก..ที่ 673 บ้านหวด ต.บ้านหวด อ.งาว จ.ลำปางสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย

สร้างขึ้นเมื่อ พ..2446 โดยกลุ่มคหบดีชาวไทยใหญ่ ที่ทำงานในบริษัทบอมเบย์ พลาซ่า จำกัด เป็นบริษัทของชาวอังกฤษที่เข้ามารับสัมปทานทำไม้ในสมัยนั้น

หลังผ่านกาลเวลามาหลายยุคหลายสมัย ทั้งรุ่งเรืองและทรุดโทรม ก่อนจะกลับมารุ่งเรืองอีกครั้งในยุคของพระพรหมมงคลวัชโรดม” (โอภาส โอภาโส) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

หรือที่ชาวบ้านมักเรียกขานท่านว่าหลวงพ่อวัดจองคำ

เป็นพระพูดน้อย ทำงานมาก ใส่ใจการศึกษาพระภิกษุสามเณรเชี่ยวชาญพระไตรปิฎกช่ำชองภาษาอังกฤษและภาษาชนกลุ่มน้อยหลายภาษา

ผลงานที่สร้างชื่อเสียง คือ เป็นหนึ่งในผู้เปิดประตูการศึกษาปริยัติธรรมแผนกบาลีที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ จนทำให้วัดจองคำ ได้รับการยกย่องจากมหาเถรสมาคมให้เป็นสำนักศาสนศึกษาประจำจังหวัด

ปัจจุบัน สิริอายุ 87 ปี พรรษา 67 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดจองคำ พระอารามหลวง และที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 6

นามเดิมชื่อ โอภาส หงษ์ เกิดเมื่อวันที่ 5 ..2477 อยู่บ้านเลขที่ 34 หมู่ 2 .บ้านหวด อ.งาว จ.ลำปางบิดาชื่อนายหว่าหรือต๊ะหงษ์มารดาชื่อนางสองจ่าหงษ์

อุปสมบทเมื่อวันที่ 3 ..2499 ที่วัดหลวง ต.หลวงเหนือ อ.งาว จ.ลำปางมีพระครูวิทิตธรรมคุณวัดหลวงเหนือเป็นพระอุปัชฌาย์

..2524 เดินธุดงค์มาถึงวัดจองคำ ซึ่งรกร้างว่างเปล่า จึงปักกลดบูรณะพัฒนาวัดในด้านวัตถุจนกลับมาอยู่ในสภาพดีแล้ว จึงดำริว่า พระพุทธศาสนาจะมั่นคงอยู่ได้นอกจากจะพัฒนาทางด้านวัตถุแล้ว ยังต้องมีการศึกษาภาษาบาลีอันเป็นภาษากลางของพระพุทธศาสนา ให้แตกฉานเป็นความรู้คู่พระสงฆ์ด้วย

จึงนำแนวคิดไปหารือกับเจ้าคณะจังหวัดลำปางในขณะนั้น เพื่อขอเปิดโรงเรียนสอนภาษาบาลี ก่อนได้รับอนุมัติให้จัดตั้งสำนักศาสนศึกษาวัดจองคำขึ้น เมื่อวันที่ 18 ..2536

ผลิตผลทางการศึกษาของวัด ภายหลังส่งนักเรียนเข้าสอบบาลีสนามหลวงครั้งแรกในปี 2538 ในประโยค 1-2 จำนวน 33 รูป ที่คาดหวังว่าหากสอบผ่านได้เพียง 1 รูป ก็ถือว่าเป็นความหวังของวัดแล้ว

ปรากฏว่าในปีนั้นมีนักเรียนสอบผ่านถึง 15 รูป ทำให้ยิ่งมีกำลังใจในการจัดการศึกษามากขึ้น

แต่นั้นมา วัดจองคำมีสถิติการสอบได้ของนักเรียนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

สัมฤทธิผลที่เพิ่มขึ้นทุกขณะ ทำให้ได้รับการยกฐานะจากสำนักศาสนศึกษา เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีประจำจังหวัดลำปาง แห่งที่ 1 จาก สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญโญ) แม่กองบาลีสนามหลวงในขณะนั้น เมื่อวันที่ 20 ..2542

ลำดับงานปกครองคณะสงฆ์ พ..2549 เป็นเจ้าอาวาสวัดจองคำ พระอารามหลวง พ..2561 เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 6

ลำดับสมณศักดิ์ พ..2533 เป็นพระครูสัญญาบัตรในราชทินนามที่ พระครูอาทรปชากิจ พ..2542 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่พระปริยัติสุนทร

วันที่ 12 ..2547 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชปริยัตโยดม

..2557 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่พระเทพปริยัติมงคล

ล่าสุด มีพระบรมราชโองการโปรดสถาปนาขึ้นเป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง มีราชทินนามตามที่จารึกในหิรัญบัฏว่า พระพรหมมงคลวัชโรดม

เกียรติคุณ พ..2541 รับพระราชทานเสมาธรรมจักร ฝ่ายพระปริยัติธรรม แผนกบาลี และได้รางวัลวัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่น ตลอดจนให้เป็นวัดตัวอย่างโครงการสวนสมุนไพรภายในวัด

นอกจากความเป็นนักบริหารจัดการแล้ว ยังกำหนดให้พระภิกษุสามเณรทุกรูปภายในวัด ต้องศึกษาพระปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรมและแผนกบาลี รวมทั้งกำชับให้เชื่อฟังคำสั่งสอนของเจ้าอาวาสและครูบาอาจารย์

จึงเป็นพระดีอีกรูปที่ชาวเมืองลำปางให้ความเลื่อมใส เป็นแบบอย่างที่ดีในความเรียบง่าย

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน