“เราจึงจำเป็นต้องฝึกจิตให้มีพลัง พลังที่สำคัญก็คือความมั่นคง ได้แก่สมาธิรองลงมาก็คือสติสัมปชัญญะ คือความระลึกรู้พร้อม ได้แก่ความรู้สึกสำนึกผิดชอบชั่วดี” สารธรรมมงคล พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย) วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา

วัตถุมงคลที่หายากในปัจจุบันคือ “เหรียญรุ่น 1 ปี พ.ศ. 2509” คณะศิษย์จัดสร้างจำนวนไม่ถึงร้อยเหรียญ แล้วแจกจ่ายเฉพาะลูกศิษย์ใกล้ชิดเท่านั้น

เหรียญหลวงปู่ขาว รุ่นแรก เป็นเหรียญรูปไข่ มีหูห่วง จัดสร้างเป็นเนื้อทองแดงกะไหล่เงิน ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปเหมือนหน้าตรง มีอักษรนูนโค้งตามขอบด้านล่าง เขียนคำว่า “หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล อุดรธานี” ด้านหลังเหรียญ เป็นอักขระคาถาโบราณ ด้านล่างอักษรนูน มีตัวเลขไทย “๒๕๐๙” ราคาเช่าบูชาปัจจุบันติดลมบนไปแล้ว

ในโอกาสปี พ.ศ.2558 พระสมุห์เกรียงศักดิ์ กัมมสุทโธ เจ้าอาวาสวัดทัพทันวัฒนาราม ได้รับพระราชทานเสาเสมาธรรมจักร ประกอบกับการที่ “หลวงพ่อเคลือบ สังวรธัมโม” พระเกจิดังวัดหนองกระดี่ อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี เคยมาจำพรรษา จัดสร้างวัตถุมงคล “เหรียญอาร์ม หลวงพ่อเคลือบ” ที่ระลึกงานฉลองรางวัลพระราชทานเสาเสมาธรรมจักร และมอบให้แก่ผู้ร่วมทำบุญ

ลักษณะวัตถุมงคล เป็นเหรียญรูปอาร์ม มีหูห่วงตัน ด้านหน้ามีขอบรอบ ตรงกลางเป็นรูปนูนหลวงพ่อเคลือบนั่งสมาธิเต็มองค์ เหนือขอบล่างมีอักษรไทย“หลวงพ่อเคลือบ” มีเลขลำดับองค์พระเป็น“เลขไทย” ตอกโค้ดภาษาจีน ส่วนด้านหลังเหรียญ ตรงกลางเป็นรูปนูน “เสาเสมาธรรมจักร” สองข้าง ซ้าย-ขวา เป็นยันต์สี่ บรรจุอักขระขอม มียันต์เฑาะว์อยู่กลาง ใต้ยันต์มีอักษรไทย “วัดทัพทัน อุทัยธานี” ใต้ขอบเหรียญมีอักษรไทย “ที่ระลึกงานฉลองรางวัลพระราชทานเสาเสมาธรรมจักร พ.ศ.๒๕๕๘” นับเป็นวัตถุมงคลอีกรุ่นหนึ่งที่น่าสนใจ

“หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ” วัดอรัญญบรรพต ต.บ้านหม้อ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย พระเกจิวิปัสสนาชื่อดัง ในปี พ.ศ.2521 คณะลูกศิษย์จัดสร้างวัตถุมงคล เหรียญเนื้อทองแดงรมน้ำตาล ลักษณะรูปไข่มีหูห่วงด้านหน้าเหรียญ มีเส้นสันนูนรอบขอบเหรียญ ขอบเหรียญด้านในมีรอยหยักคล้ายฟันปลาล้อมรอบขอบเหรียญ ตรงกลางเหรียญมีภาพนูนเหมือนหันหน้าไปทางซ้ายของเหรียญ

ด้านหลังสลักตัวหนังสือนูนคำว่า “พระอาจารย์เหรียญ วรลาโภ” ด้านหลังเหรียญ มีเส้นสันนูนหนารอบขอบเหรียญ ใต้หูห่วง ท่อนบนสลักอักขระธรรมกำกับ กึ่งกลางเหรียญมีภาพเหมือนสลักคล้ายบาตร ร่ม และกาน้ำ ถัดลงมาสลักตัวหนังสือนูน ระบุ “รุ่นแรก พ.ศ.2521” บรรทัดที่ 2 สลักระบุชื่อ “กวี เหลืองตระกูล” ผู้สร้างถวาย กำกับไว้ บรรทัดล่างสุดตามส่วนโค้งครึ่งวงกลมของเหรียญสลักคำว่า “วัดอรัญญบรรพต อ.ศรีเชียงใหม่จ.หนองคาย” เซียนพระเรียกเหรียญรุ่นนี้ว่า “เหรียญหลังบาตร” จัดเป็นอีกเหรียญที่หลายคนเสาะแสวงหา

อริยะ เผดียงธรรม

[email protected]

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน