ระบบ “ไพรมารี” กำลังจะเป็นเครื่องทดสอบอันทรงความหมายยิ่งไม่เพียงแต่ 1 ต่อรัฐธรรมนูญและต่อกฎหมายลูก หาก 1 ยังต่อคสช.

ตกลงจะ “เดินหน้า” หรือว่า “ถอยหลัง”

หากฟังแถลงล่าสุดจาก นายวิษณุ เครืองาม ซึ่งทำหน้าที่ในการรวบรวมและเสาะหาหนทางเพื่อเสนอต่อคสช.ก็พอจะมองเห็นเลาๆ

นั่นก็คือ จะดำเนินไปใน 2 แนวทาง

แนวทาง 1 คือดำเนินการไพรมารีในระดับภาค และแนวทาง 1 ย้อนกลับไปยังมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญ นั่นก็คือให้พรรคการเมืองรับฟังความเห็นจากสมาชิกแล้วตัดสินใจ

ตกลงเป็นการถอยหลัง หรือว่าเดินหน้า

ไม่ว่าจะเป็นแนวทางระดับภาค ไม่ว่าจะเป็นแนวทางย้อนกลับไปใช้บทบัญญัติของมาตรา 45 ในรัฐธรรมนูญเป็นหนทางออก

ล้วนเคยมีเสียง “เตือน” มาแล้ว

ไม่ว่าจะเป็นพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ว่าจะเป็นพรรคภูมิใจไทย ไม่ว่าจะเป็นพรรคชาติไทยพัฒนา และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไม่ว่าพรรคเพื่อไทย

ต่างดาหน้ากันมาติงตั้งแต่เมื่อแรก “ไพรมารี” ปรากฏขึ้น

ดูเหมือนเสียงเตือนจากแทบทุกพรรคการเมืองหลักบรรดาสนช.ต่างไม่ยอมรับฟัง เมื่อในที่สุดคสช.จะเดินไปบน 2 หนทางนี้ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง

เสียงร้องยี้ก็ดังกระหึ่มตามมา

เหตุปัจจัยอะไรทำให้แทบทุกพรรคการเมืองกระแส “หลัก” ตั้งข้อสงสัยต่อวิจารณญาณของคสช.เพราะล้วนตระหนักในความเป็นจริงทางการเมือง

ตระหนักว่าเหตุปัจจัยอะไรถึงได้เลือกอย่างนั้น

สภาพก็เหมือนกับเบื้องหลังการตราคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 53/2560 นั่นแหละ คือมิได้ต้องการสร้างความเท่าเทียมกันระหว่างพรรคการเมือง

หากแต่ต้องการ “เซ็ตซีโร่” พรรคการเมืองเดิม

เหตุผลอันเป็นทางออกสำหรับระบบ “ไพรมารี” ก็อีหรอบเดียวกัน ปัจจัยหลักมาจากความไม่พร้อมของพรรคการเมืองซึ่งเป็นเครือข่ายของคสช.นั่นเอง

จึงต้องทำเรื่องตลกและไร้สาระให้เป็นที่ปรากฏ

ไม่ว่าคสช.จะเลือกหนทางออกอย่างไร ระหว่างการจัดทำแบบรายภาค หรือย้อนกลับไปยังมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญ

เป้าหมายการวิพากษ์วิจารณ์ก็จะอยู่ที่ “คสช.”

เหมือนๆ กับการไม่ยอม “ปลดล็อก” ให้กับพรรคการเมืองขณะที่เปิดไฟเขียวให้ “กลุ่มสามมิตร” เพื่อสร้างความได้เปรียบในทางการเมือง

ในที่สุด บูมเมอแรงก็จะหวนมายัง “คสช.”

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน