เพื่อไทยสะท้อนภาพเลือกตั้ง’62

เพื่อไทยสะท้อนภาพเลือกตั้ง’62 – แกนนำพรรคเพื่อไทย (พท.) พบปะผู้บริหารในเครือข่าวสด-มติชน และให้สัมภาษณ์พิเศษเกี่ยวกับการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในปี 2562 รวมถึงนโยบายในด้านต่างๆ ที่รัฐบาลปัจจุบันดำเนินการมา ตลอดจนนโยบายสำคัญที่พรรคเพื่อไทยจะอาสาเข้ามาทำงานให้ประชาชน

รายงานพิเศษ.eps

ชัยเกษม นิติสิริ

อดีต รมว.ยุติธรรม

เรามีกฎหมายออกมามากมาย แต่กฎหมายที่ออกมาหลังการปฏิวัติ จะดูเหมือนว่าเป็นไปตามกระบวนการออกกฎหมายที่ถูกต้องเพราะผ่านสภา นิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)และกฎหมายที่ออกมาตามมาตรา 44 ซึ่งไม่เป็นไปตามหลักการประชาธิปไตย

การออกกฎหมายทุกมาตราต้องมีหมายเหตุว่า เพราะอะไร เพราะจะเกี่ยวข้องกับการตีความและดุลพินิจในการใช้กฎหมายของเรา หากมีกรอบการใช้จะมีอะไรที่ควบคุมได้ แต่ที่ประชาชนบ่นกันมาก คือการใช้กฎหมายของกระบวนการยุติธรรมมันเบี่ยงไป เบนมา ไม่มีหลักที่ควรจะเป็น

การปล่อยตัวผู้ต้องหาชั่วคราวก็ไม่มีหลัก เกณฑ์ ซึ่งผมเห็นว่า ควรมีหลักเกณฑ์ว่าเรื่องอะไรที่ควรจะปล่อย ใช้ดุลพินิจอย่างไรให้ลงลึกไปกว่าที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ไม่เช่นนั้นคนจนไม่ได้รับการปล่อยตัว คนรวยปล่อยตัวได้ ซึ่งมีคนพูดแบบนั้น

หรือการตัดสินคดีทั้งหลายวิพากษ์วิจารณ์ไม่ ได้ เพราะจะหาว่าละเมิดอำนาจศาล เหล่านี้ต้องได้รับการแก้ไขโดยเฉพาะการใช้ดุลพินิจในชั้นศาล ไม่เช่นนั้นจะเกิดปัญหาสองมาตรฐาน หรือแม้แต่กรณีการพักโทษในราชทัณฑ์ ต้องให้ทุกคนมีสิทธิรับรู้ว่าแค่ไหน อย่างไร กระบวนการแก้ไขความยุติธรรมก็จะดีขึ้น

ในเรื่องกฎหมายมีอยู่ 2 อย่าง คือตัวลายลักษณ์อักษรซึ่งเป็นกฎที่ทุกคนต้องปฏิบัติตาม มีที่มาจากประชาชนก็ต้องรับ แต่หากไม่ได้มาจากประชาชนเหมือนทุกวันนี้ ไม่เป็นที่ยอมรับก็ไม่ใช่กฎหมาย เพราะเป็นการออกตามอำเภอใจของผู้มีอำนาจ

ส่วนการให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมายกับ ประชาชนนั้น เวลานี้มีอัยการ สำนักงานคุ้มครองสิทธิ สภาทนายความ แต่ยังไม่ค่อยมีใครดูแลเท่าที่ควร คนก็ไม่ค่อยรู้

ผมอยากให้กระทรวงยุติธรรมให้ความช่วยเหลือ เวลานี้เรามีแต่ทนายขอแรง ซึ่งรู้กันว่าอะไรที่ขอแรง ไม่มีผลประโยชน์ตอบแทน ก็ไม่ค่อยมีแรงไปทำงานเท่าไร แต่ถ้ารัฐเข้ามาช่วยก็จะเป็นประโยชน์กับประชาชน จะเห็นว่าคนที่โดนทั้งที่ไม่ควรโดนมีเยอะมาก ก็ต้องแก้ไข

ในยุคเผด็จการมีอะไรที่มองแล้วไม่ถูก ไม่ใช่ แล้วเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ยาวมาก สิ่งที่ตามมาคือทำให้คนในกระบวนการยุติธรรมเสียนิสัย แต่คนที่ได้รับผลร้ายคือประชาชน ซึ่งเป็นสิ่งน่าห่วง หากเป็นนิสัยแล้วจะแก้ไม่ได้

โภคิน พลกุล

อดีตประธานรัฐสภา

ไม่ว่าเราจะไปที่ไหน สิ่งที่พี่น้องประชาชนบอกกับเราเสมอคือ เขามีปัญหาในเรื่องการทำมาหากิน ปัญหาใหญ่มาจากการทุจริตคอร์รัปชั่น ต้นทุนที่มหาศาล และความล่าช้าในการดำเนินการต่างๆ ซึ่งในแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี ของรัฐบาลบอกไว้ด้วยซ้ำว่าสิ่งเหล่านี้คือปัญหาทั้งหมด

เพื่อไทยสะท้อนภาพเลือกตั้ง’62

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็บอกว่าต้องกิโยตินกฎหมายที่มีเป็นแสนฉบับ แต่ผลออกตรงข้าม คือยิ่งมีกฎหมายเพิ่มขึ้น เลยไม่เข้าใจว่า ท่านต้องการลดกฎหมาย ลดภาระ หรือเพิ่มภาระกันแน่

ผมพยายามหาคำตอบของปัญหาความล้มเหลวในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าความเหลื่อมล้ำ ประชาธิปไตย รัฐราชการ ความยุติธรรมสองมาตรฐาน แล้วถ้าไม่ให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ต่อให้เราแก้ปัญหาจิปาถะมากมายก็แก้ไม่หมด

วันนี้ท่านติดในอำนาจนิยม ถ้าเราแก้ปัญหานี้ไม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ท่านจะได้เห็นการยึดอำนาจต่อไป ซึ่งผู้ที่เข้ามายึดอำนาจโกงทุกอย่าง โกงตั้งแต่อำนาจอธิปไตย แต่คนโกงกลับบอกว่าการโกงของฉันถูกต้อง แต่การโกงของคนอื่นคือความผิด เราต้องสู้ หรือชนกับสิ่งเหล่านี้ให้ชนะ

ทางแก้คือต้องสร้างรัฐประชาชน เพราะทุกวันนี้คุณสันนิษฐานว่าประชาชนจะต้องมาขออนุญาต อยู่ใต้การควบคุมของฉัน แต่หากตั้งสันนิษฐานใหม่ว่าประชาชนสุจริต และอยากสร้างบ้านเมืองเหมือนกัน เช่น จะทำร้านเสริมสวย ทำร้านอาหาร แต่เป็นระบบรัฐราชการที่ต้องมีการจ่ายเงินใต้โต๊ะเพื่อแลกความสะดวกรวดเร็ว ซึ่งต้องเปลี่ยนใหม่

ราชการมีหน้าที่แนะนำ ช่วยเหลือให้คนที่มาขอความช่วยเหลือทำเรื่องนั้นให้สำเร็จ เราต้องเอาเทคโนโลยี และนวัตกรรมทั้งหลายมาผลักดันด้วย

หากทำให้ระบบยาก ยิ่งเป็นการผูกขาด ยิ่งเป็นการสร้างความเหลื่อมล้ำอย่างถึงที่สุด เพราะใครที่เข้าถึงอำนาจได้ หรือเข้าถึงเงินจำนวนมหาศาลได้คนนั้นวิน

ภูมิธรรม เวชยชัย

เลขาธิการพรรคเพื่อไทย

การเลือกตั้งครั้งนี้สำคัญมาก เพราะไม่ใช่เรื่องของพรรคการเมืองที่มาแย่งชิงอำนาจกัน แต่เป็นการเลือกตั้งที่จะกำหนดทิศทางของประเทศว่าจะมีทางออก หรือจะเจอกับทางที่ตีบตันไปอีก 10-20 ปี

เป็นเรื่องที่คนในสังคมต้องคิด หากปล่อยไปแบบนี้จะเป็นปัญหาที่ย้อนกลับมาสู่วิชาชีพที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

ตั้งแต่ที่มีการยึดอำนาจ ผู้ยึดอำนาจได้ใช้ความเป็นรัฏฐาธิปัตย์เข้ามากลบเกลื่อน เปลี่ยนแปลงบริบทในสังคมไทยทุกๆเรื่อง รวมไปถึงการลิดรอนอำนาจของประชาชน สื่อมวลชน พรรคการเมือง สถาบันทางการเมือง และกลุ่มการเมืองต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

รวมทั้งใช้กระบวนการทางกฎหมายภายใต้กลไกการ ปกครองนี้ เข้ามาเปลี่ยนแปลงกติกาทั้งหมด การเขียนรัฐธรรมนูญ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี หรือการเขียนกติกาทั้งหมดที่กำลังดำเนินการอยู่ เป็นการมัดมือมัดเท้าคนในสังคมทั้งหมด

สิ่งที่เป็นเรื่องสุดท้ายขณะนี้ คือการใช้กระบวนการเข้าสู่อำนาจเพื่อสร้างความชอบธรรมโดยอาศัยภาพประชาชนผ่านกระบวน การเลือกตั้ง

การเลือกตั้งครั้งนี้จึงเป็นการเลือกตั้ง ที่ประชาชนเกือบได้ใช้วิจารณญาณในการที่จะตัดสินอะไรได้ค่อนข้างยาก เหมือนรูปแบบของประชามติโมเดลที่ผ่านมา สุดท้ายแล้วจะเป็นการทำฝ่ายเดียว พูดฝ่ายเดียว โดยอำนาจของมาตรา 44 และอำนาจขององค์กรอิสระที่เข้ามาควบคุมกติกา จะทำให้สถาบันการเมืองขับเคลื่อนได้ยากอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เช่น การที่ทหารไปแจ้งความดำเนินคดีเพื่อยุบพรรคการเมือง นี่คือกระบวนการที่แยบยลมาก

หากเดินออกไปบนถนน ท่านอาจจะไม่แน่ใจว่าเบอร์ ผู้สมัครของพรรคที่ท่านนิยมคืออะไร หันไปซ้ายมืออาจเจอจตุจักรเบอร์ 8 หันขวามาอาจเป็นบางซื่อเบอร์ 12 เลยไปอีกนิดอาจเจอนนทบุรีเบอร์ 24 วิ่งไป 350 เขต อาจจะ 350 เบอร์ สับสนไปหมด บวกกับการแบ่งเขตที่อัปลักษณ์ และแย่ที่สุด

วันนี้ได้เห็นความหน้าด้านของฝ่ายที่รับผิด ชอบ ที่ไม่ได้ละอายใจต่อบทบาทที่ตัวเองมีอยู่ วันนี้หนักขึ้นไปอีกคือคุณเป็นรัฐบาลที่รักษาการช่วงใกล้การเลือกตั้ง สิ่งที่ทำไม่ได้คือการโยกย้ายข้าราชการ และการใช้งบประมาณ แต่วันนี้ทำได้หมด โดยไม่ต้องรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ผิดหรือถูก ครั้งหน้าจึงเป็นการเลือกอนาคตว่าอยากจะอยู่แบบนี้ต่อไป หรืออยากเห็นการเปลี่ยนแปลง

พวกเราอยากจะพูดนโยบายแต่เรามีข้อจำกัด ไม่ใช่เราไม่ขยับ เราพยายามขยับ แต่เพียงแค่แถลงข่าวก็โดนแจ้งข้อหามาตรา 116 แล้ว

เราพยายามคิดว่าจะสู้อย่างไร คิดว่าจะพึ่งอำนาจประชาชน แต่จะทำอย่างไรให้ประชาชนมีส่วนที่จะสะท้อน หรือแสดงปัญหาออกมาให้ได้มากที่สุด

กิตติรัตน์ ณ ระนอง

อดีต รมว.คลัง

ระบอบเผด็จการทำให้เกิดปัญหาการขยายตัวทาง เศรษฐกิจและการกระจายรายได้ ขยายก็ช้า กระจายก็ไม่ดี การส่งออกก็ควรต้องทำได้ดีกว่านี้หากประเทศคู่ค้ายอมเจรจาเขตเสรีทางการค้า หรือเอฟทีเอกับเรา

เพื่อไทยสะท้อนภาพเลือกตั้ง’62

ส่วนเรื่องการท่องเที่ยวนอกจากจะไม่ทำอะไร แล้ว เวลามีอำนาจก็พูดจาใหญ่โต ไม่คิดให้รอบคอบ ทำให้เกิดผลกระทบร้ายแรง จำนวนนักท่องเที่ยวประเทศสำคัญหายไป

การอุปโภคบริโภคภายในประเทศ เวลาที่ราคาผลผลิตการเกษตรหลักตก เมื่อยังไม่มีกลิ่นอายการเลือกตั้งโชยมา ก็บอกให้กลไกตลาดทำงานหรือปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม เกิดวาทกรรมขายไปดาวอังคาร ทั้งที่การอุดหนุนราคาสินค้าเกษตร เป็นสิ่งที่ทั่วโลกทำกัน แต่ไม่ใส่ใจ กลับจัดสรรงบประมาณไปทำงานด้านความมั่นคง

ส่วนค่าจ้างค่าแรงขั้นต่ำผ่านมา 4 ปีถึงปรับค่าแรงขั้นต่ำขึ้นน้อยมาก บางจังหวัดน้อยมากจนน่าตกใจ ทำให้เกิดภาวะจนกระจาย ไม่เกิดกำลังซื้อ

ด้านการลงทุนภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศไม่กระตือรือร้น เพราะตลาดในประเทศหดตัว

ส่วนการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจไม่มี เศรษฐกิจซบเซาขนาดนี้เพราะการใช้จ่ายงบประมาณของภาครัฐล้มเหลว

ขณะที่การลดความเหลื่อมล้ำนั้น ท่าทีของหัวหน้ารัฐบาลหรือทีมเศรษฐกิจจะโอบอุ้มรายใหญ่ โดยมีนักวิชาการออกมาสนับสนุน บางประเทศจะเน้นหนักธุรกิจนั้นๆ ให้เข้มแข็ง ขยายตัวเองจนสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ แต่รายใหญ่บ้านเรากลับไปกินธุรกิจรายเล็กรายย่อย

ดังนั้น การถูกเฉลยว่าเรามีความเหลื่อมล้ำเป็นอันดับ 1 ก็ไม่ใช่เรื่องประหลาดอะไร

ทางแก้คือรายได้ของคนในภาคเกษตรกรรมต้องดี ขึ้นจากราคาพืชหลัก จะดีขึ้นจากการมีพืชเสริมที่ต้องค้นคว้ามาใหม่ก็ต้องทำ แต่พืชหลักๆ ต้องมีราคาดีขึ้นตามสมควรด้วยกลไกและวิธีทำงานมากกว่าการแจกเงินไปโปะ

ข้อดีคือใช้เงินน้อยกว่าและกลไกตลาดต้อง เข้ามาแข่งขันเพื่อ ให้ราคาผลผลิตดีขึ้น การแปรรูปผลผลิตเป็นพลังงานหรือเรื่อง แพ็กเกจจิ้ง เหล่านี้ต้องทำอย่างจริงจัง

ส่วนเรื่องการลงทุนด้านคมนาคมขนส่ง เราติดตามช่วงหลายปีพบว่ามีการดำเนินการตามรอยโครงการต่างๆ เป็นหลัก เสียดายที่ความเข้าใจลึกซึ้งในแผนนั้นยังไม่มี เพราะการดำเนินการต้องจัดลำดับเวลาการลงทุน มีจุดเชื่อมโยงสอดประสาน มีศูนย์โลจิสติกส์ที่จะรับสินค้าและส่งต่อ มีการลงทุนสู่ประเทศเพื่อนบ้าน

คนคาดหวังว่าเรื่องเดิมที่วางแผนจะทำและควร จะเสร็จไปมาก แต่ยังไม่คืบหน้าก็ควรเร่งมือ ทำให้เกิดความเชื่อมโยงตาม หลักการจริงๆ การคมนาคมที่ดีช่วยลดความเหลื่อมล้ำไกลกับใกล้จนกับรวย

นพดล ปัทมะ

อดีต รมว.ต่างประเทศ

ผมขอโอกาสเข้ามาทำงานด้านการศึกษา เพราะเห็นว่าการศึกษาเป็นเรื่องสำคัญ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นวาระสำคัญ การศึกษาเหมือนคลำช้าง แต่มีการคิดที่ตกผลึกพอสมควร

เรื่องใหญ่ๆ คือคุณภาพ ประสิทธิ ภาพการใช้เงิน ความเหลื่อมล้ำ เราให้ความสำคัญตั้งแต่สมัยพรรคไทยรักไทย ตัวอย่างหนึ่งคือการเปิดโอกาสให้เด็กชนบทได้ไปศึกษาต่อต่างประเทศที่ไม่ใช้ ภาษาอังกฤษ แม้จะเปิดนโยบายไม่ได้มาก แต่จะเน้นให้ความสำคัญเรื่องคุณภาพและความเหลื่อมล้ำเป็นเรื่องใหญ่

ผู้รับรางวัลโนเบลหลายคนบอกว่าการลงทุนการ ศึกษาก่อนวัยเรียนหรือ Early Years ได้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจถึง 7 เท่า เด็ก 0-6 ขวบถ้าลงทุนกับพวกเขาให้มากขึ้น อนาคตจะช่วยให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ เราจะดูแลการศึกษาทุกระดับชั้น

เราต้องเตรียมคนไทยให้มีทักษะในศตวรรษที่ 21 ไม่เน้นการป้อนความรู้ แต่เน้นการสร้างสมรรถนะทั้งการเขียน การอ่าน การโน้มน้าวผู้อื่นในเรื่องที่ตัวเองเชื่อได้

ดังนั้นแนวทางการศึกษาของพรรค คือต้องคิดเป็น ภาษาอังกฤษต้องได้ เน้นการสื่อสาร ที่สำคัญต้องมีคุณธรรม

เราจำเป็นต้องปฏิรูปการศึกษาให้มีคุณภาพอย่างรวดเร็ว เพื่อกระจายโอกาสให้กับคนไทย ลดความเหลื่อมล้ำให้เร็วที่สุด

นพดล ปัทมะ-ใหม่.tif

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน