หนักแผ่นดินพลานุภาพความคิดกับกลาโหม

หนักแผ่นดินพลานุภาพความคิดกับกลาโหมทั้งๆ ที่ พล..คงชีพ ตันตระวาณิชย์ ในฐานะโฆษกกระทรวงกลาโหม เพิ่งแถลงไปเมื่อวันที่ 19 เหตุใดจึงต้องย้อนกลับมาแถลงอีกในวันที่ 20 กุมภาพันธ์

แถลงอย่างยาวเหยียด ทั้งๆ ที่เป็นประเด็นเดียวกัน

หากติดตามน้ำเสียงและรายละเอียดของคำแถลงก็จำต้องยอมรับว่ามีความจำเป็นต้องนั่งลงและอรรถาธิบายให้เห็นความเป็นจริงให้ปรากฏ

อย่างน้อยก็เป็นความเป็นจริงจากด้านของกระทรวงกลาโหม

ความจำเป็นที่ต้องแถลงเป็นผลและความต่อเนื่องมาจากท่าทีในแบบให้กลับไปฟังเพลงหนักแผ่นดินนั่นเอง

หากทำแบบ พล..คงชีพ ตันตระวาณิชย์ ตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ เรื่องก็คงจะจบ

หากมองแต่ในเรื่องปฏิกิริยาที่สำแดงออกในแบบปริศนาธรรมการสำแดงออกโดยการพูดตัดบทว่าให้ไปฟังเพลงหนักแผ่นดินเหมือนกับเป็นความคมคาย น่าสนใจ

เพราะเป็นการส่งปริศนาให้บรรดานักข่าวนำเอาไปตีความต่อคำถามที่ว่ามีการเสนอตัดงบประมาณของกระทรวงกลาโหมลงร้อยละ 10

ประเด็นมิได้อยู่ที่ว่าคมคายหรือไม่ หากอยู่ที่คำว่าหนักแผ่นดิน

ไม่ว่าจะมองในแง่ความหมายของคำว่าหนักแผ่นดินไม่ว่าจะมองในแง่รากฐานความเป็นมาของเพลงหนักแผ่นดิน

ล้วนมีโอกาสกลายเป็นเรื่องใหญ่ เรื่องยาว

เหตุเพราะคำว่าหนักแผ่นดินอันเป็นบทเพลงสัมพันธ์กับ 2 สถานการณ์ใหญ่ในทางการเมือง 1 เป็นสถานการณ์ก่อนรัฐประหารเดือนตุลาคม 2519 และ 1 เป็นสถานการณ์ก่อนรัฐประหารเดือนพฤษภาคม 2557 เป็นรัฐประหารอันตามมากับเพลงหนักแผ่นดิน

ปฏิกิริยาอันเนื่องแต่บทเพลงหนักแผ่นดินจึงกว้างขวางและลึกซึ้งทั้งในทางความคิด ทั้งในทางการเมือง โยงยาวไปยังพรรคพลังประชารัฐ ไปยังพรรครวมพลังประชาชาติไทย

ในที่สุด พล..คงชีพ ตันตระวาณิชย์ ก็ต้องทำหน้าที่ในฐานะโฆษกกระทรวงกลาโหมเหมือนกับเป็นแผ่นเสียงตกร่อง

ขณะที่คนเปิดประเด็นหนักแผ่นดินเงียบกริบ หายจ้อย

ถามว่าหลังจาก พล..คงชีพ ตันตระวาณิชย์ ออกมาแถลงย้ำ ซ้ำแล้วซ้ำอีก เรื่องจะจบลง ม้วนฉากกลับบ้านใครบ้านมันหรือไม่ ตอบได้เลยว่า ยากถึงขั้นยากส์

ที่เห็นๆ ก็คือ มีการแบ่งขั้วระหว่าง พรรคพลังประชารัฐ พรรครวมพลังประชาชาติไทย กับ พรรคเพื่อไทย พรรคไทยรักษาชาติ พรรคเพื่อชาติ และพรรคอนาคตใหม่

วาทกรรมปฏิรูปกองทัพดังกระหึ่มไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าหนักแผ่นดิน

คลิกอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน