วิกฤตการเมือง ภายในประชาธิปัตย์ ขัดแย้ง แตกแยก

คอลัมน์ วิเคราะห์การเมือง

วิกฤตการเมืองภายในประชาธิปัตย์ขัดแย้งแตกแยก : ผ่านจากข้อเสนอว่าด้วยรัฐบาลแห่งชาติไปยังการเปิดข้อมูลว่ามีอดีตส..พรรคประชาธิปัตย์วางแผนจะแย่งยึดตำแหน่งหัวหน้าพรรคคนใหม่

ก็จะเข้าใจต่อปัญหาภายในพรรคประชาธิปัตย์ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

เข้าใจว่าพรรคประชาธิปัตย์เก่งกาจระดับเขี้ยวลากดินในการดึงเอาปัญหาภายในพรรคให้กลายเป็นปัญหาระดับชาติได้อย่างไร

ข้อเสนอรัฐบาลแห่งชาติจึงเสมอเป็นเพียงม่านควัน

แท้จริงแล้ว ปัญหาภายในพรรคประชาธิปัตย์อันเนื่องจากการแย่งชิงการนำ การพยายามเข้าไปยึดครองพรรคของแต่ละฝ่ายคือเรื่องจริง

ถามว่าทำไมจึงมีข่าวว่าอาจมี 35 ว่าที่ส..พรรคประชาธิปัตย์จะกลายเป็นงูเห่ายกมือไปในทางเดียวกันกับพรรคพลังประชารัฐ

นั่นคือ ชู พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ข่าวนี้ออกมาจากพรรคพลังประชารัฐ ขณะเดียวกัน เมื่อมองเข้าไปในพรรคประชาธิปัตย์ก็จะสัมผัสได้ถึงส่วนของ 35 ว่าที่ ส..ไม่ยากนัก

ไม่ว่าจะมาจากตรัง ไม่ว่าจะมาจากสงขลา ไม่ว่าจะมาจากชุมพร

อย่าได้แปลกใจหากจะมีข่าวปล่อยออกมาในลักษณะที่ว่า อาจมีการยกตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรให้กับผู้อาวุโสบางคนของพรรคประชาธิปัตย์

มีการเตะถ่วงการตัดสินใจให้ไปรอภายหลังกกต. รับรองส..ในวันที่ 9 พฤษภาคม แต่อย่าลืมว่า ณ วันนี้คือวันที่ 19 เมษายน เหลืออีกเพียง 20 วันเท่านั้น

เป็น 20 วันแห่งความระทึกของพรรคประชาธิปัตย์

การพยายามชูภาพ นายชวน หลีกภัย ไม่ว่าในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ไม่ว่าในตำแหน่งหัวหน้าพรรค คือการดิ้นอย่างสุดแรงของพรรคประชาธิปัตย์

ดิ้นผ่านรัฐบาลแห่งชาติผ่านประธานรัฐสภา

หรือแม้กระทั่งการปูดเรื่องการพยายามจะแย่งยึดพรรคโดยประเคนมอบตำแหน่งหัวหน้าพรรคให้กับทหารบางกลุ่มไปยึดครอง

คล้ายกับว่าทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นผลสะเทือนอันเนื่องจากการกำหนดยุทธวิธีผิดพลาดในการเลือกตั้งเมื่อเดือนมีนาคมภายใต้การนำของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

อาจใช่ แต่ยังมีมากกว่านั้น

ปัญหาทั้งปวงคือผลสะเทือนจากการตัดสินใจที่ผิดพลาดตั้งแต่หลังการเลือกตั้งเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2548 มาแล้วส่งผลให้เข้าไปพัวพันกับกระบวนการรัฐประหาร

ไม่ว่าเมื่อเดือนกันยายน 2549 ไม่ว่าเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน