วิเคราะห์การเมือง : การเมืองยุคใหม่จากอนาล็อกสู่ดิจิตอลคำพูดกับการทำ

การเมืองยุคใหม่จากอนาล็อกสู่ดิจิตอลคำพูดกับการทำ : ปัจจัยอันทำให้การเลือกตั้งในวันที่ 24 มีนาคมมีความสำคัญและมีความแหลมคมอย่างยิ่งในทางการเมืองเด่นชัดยิ่งมาจากเทคโนโลยี

นั่นก็คือ การก้าวผ่านจากอนาล็อกมายังดิจิตอล

ในยุคก่อนบทบาทของหนังสือพิมพ์ บทบาทของโทรทัศน์ อาจเป็นตัวชูโรง สร้างความโดดเด่นให้กับนักการเมือง

มาถึงยุคนี้ 2 สื่อนั้นอาจยังมีบทบาท แต่ที่โดดเด่นยิ่งกว่าคือออนไลน์

การปราศรัยยังสำคัญ การดีเบตประชันวิสัยทัศน์ยังสำคัญ แต่ที่สำคัญมากยิ่งกว่าคือการบันทึกผ่านคลิปวิดีโอแล้วเผยแพร่ผ่านโซเชี่ยล มีเดีย

โซเชี่ยลมีเดียนั้นเองทำให้เราได้เห็นภาพ ได้ยินเสียง พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เห็นภาพและได้ยินเสียง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ติดตรึงฝังใจ

พูดอย่างไร แสดงอากัปกิริยาอย่างใด

โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนเวทีปราศรัย บนเวทีดีเบต ไม่ว่าจะเป็น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แห่งพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ว่าจะเป็น นายอนุทิน ชาญวีรกูล แห่งพรรคภูมิใจไทย

มีความเห็นอย่างไรต่อ พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา

และเมื่อมาถึงห้วงเวลาของการตัดสินใจในทางการเมือง คลิปเสียงและการเคลื่อนไหวที่เคยพูด อย่างไรก็มีการรื้อฟื้นขึ้นมาและตั้งเป็นคำถาม

โลกในยุคดิจิตอลแทบไม่เหลือความลับอะไรในทางการเมืองอีกแล้ว ภาพและเสียงในระหว่างปราศรัยจึงกวดตามหลังนักการเมืองมาติดๆ

สังคมสามารถดึงมาแสดงได้อย่างรวดเร็ว

ความชัดเจนที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประกาศจึงมิได้หายไปไหน แนวทางที่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล เรียกร้องให้เคารพ 500 .. เหนือกว่า 250 .. จึงมิได้หายไปไหน

วนเวียนอยู่ 2 หู กึกก้องไปทั่วประเทศ

ตรงนี้เองที่ทำให้การตัดสินใจของพรรคประชาธิปัตย์ และการตัดสินใจของพรรคภูมิใจไทย ทรงความหมายเป็นอย่างสูงในทางการเมือง

หลักการที่ว่าเมื่อนักการเมืองพูดประชาชนก็จะฟัง และเมื่อนักการเมืองตัดสินใจกระทำตามคำพูดประชาชนก็จะให้ความเชื่อถือ

ยังเป็นหลักการที่เที่ยงแท้ แน่นอน

ไม่ว่านักการเมืองคนนั้นจะชื่อ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แห่งพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ว่านักการเมืองคนนั้นจะชื่อ นายอนุทิน ชาญวีรกูล แห่งพรรคภูมิใจไทย

สัจจะของนักการเมืองจึงยังมีความหมาย

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน