การนิ่ง การเมือง “นิ่ง” อย่างมี “เคลื่อนไหว” กระหน่ำ ไปยังคสช. : วิเคราะห์การเมือง

การนิ่ง การเมือง “นิ่ง” อย่างมี “เคลื่อนไหว” – อํานาจอันอยู่ในมือของพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคภูมิใจไทย เป็นอำนาจของ 52 ส.ส. และ 51 ส.ส. ซึ่งดำรงอยู่ในลักษณะอันเป็น “ตัวแปร” อย่างนั้นหรือ

เป็นความจริง

ความเป็นจริงนี้ คสช. และพรรคพลังประชารัฐรู้ดี เพราะว่า คสช.และพรรคพลังประชารัฐล้วนมีความต้องการ อย่างแรงกล้า

ความต้องการของคสช. นั้นเองทำให้ 2 พรรคนี้มีความหมาย

ขณะเดียวกัน ความหมายอันทำให้พรรคพลังประชารัฐต้องง้อก็เนื่องมาจากมี 245 ส.ส. ก่อรูปขึ้นเป็นพันธมิตรในแนวร่วมต่อต้านการสืบทอดอำนาจ คสช. อย่างเปิดเผย

จึงเห็นได้ว่าอำนาจที่ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย อยู่ในสายตาของพรรคพลังประชารัฐ เป็นการดำรงอยู่บนสภาพความเป็นจริง 2 อย่าง

1 ความเป็นจริงของพรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย

ขณะเดียวกัน 1 คือ ความเป็นจริงที่พรรคเพื่อไทย พรรคอนาคตใหม่ พรรคเสรีรวมไทย พรรคเศรษฐกิจใหม่ พรรคประชาชาติ พรรคเพื่อชาติ พรรคพลังปวงชนชาวไทย

ก่อรูปขึ้นเป็นพันธมิตรในแนวร่วมต่อต้านการสืบทอดอำนาจของคสช.

ตรงนี้เองที่ส่งผลให้คสช. และพรรคพลังประชารัฐต้องเจรจากับพรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย ด้วยความระมัดระวังอย่างเป็นพิเศษ

การที่พรรคประชาธิปัตย์ยังไม่มีคำตอบ การที่พรรคภูมิใจไทยยังไม่มีคำตอบ จึงกลายเป็น “อำนาจ” ที่ทำให้มีเงื่อนไขในการต่อรองมากยิ่งขึ้น

อาจไม่สามารถรุกคืบไปยังกระทรวงกลาโหมได้

แต่เชื่อได้เลยว่า จะต้องมีการหยิบเอากระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม มาเป็นประเด็นในการเจรจา

หัวหน้าเศรษฐกิจอาจมิใช่คนหน้าเดิมของคสช.ก็ได้

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อรองในเรื่องตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรจะยิ่งเป็นความร้อนแรงก่อนการประชุมในวันที่ 25 พฤษภาคม

จากนี้จึงเห็นได้ว่า มีความจำเป็นที่พรรคเพื่อไทยจักต้องกำหนดยุทธวิธี และมีความจำเป็นที่พรรคอนาคตใหม่จะยอมเป็นเป้านิ่ง

แม้ทุกอย่างจะดูเหมือน “นิ่ง”

แต่ก็ต้องยอมรับว่า ไม่ว่าพรรคเพื่อไทย ไม่ว่า พรรคอนาคตใหม่ ไม่ว่าพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ว่า พรรคภูมิใจไทย ล้วนเป็นการนิ่งที่ดำรงอยู่อย่างมีความเคลื่อนไหว

เป้าหมายร่วมก็คือ คสช. คือ พรรคพลังประชารัฐ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน