มองเจนYผ่านศิลปะ ‘พรุ่งนี้คือวันของเรา’

มองเจนYผ่านศิลปะ ‘พรุ่งนี้คือวันของเรา’ ทูมอร์โรว์ (TMRW) บริการธนาคารผ่านช่องทางดิจิตอลบนมือถือที่สร้างสรรค์ขึ้นมาสำหรับคนยุคดิจิตอลในอาเซียน ชวนมิลเลนเนียลไทย 12 คน ที่มีความหลากหลายทั้งด้านสถานะ เพศ และอาชีพ มาร่วมกิจกรรมเวิร์กช็อปรู้จักตัวตนผ่านศิลปะ โดยมี ฟ้าใส วิเศษกุล หนึ่งในนักศิลปะบำบัดชั้นนำของประเทศ เป็นวิทยากรนำเวิร์กช็อปเพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถสื่อสารและเปิดเผยมุมมองความคิดผ่านงานศิลปะ

ฟ้าใสเริ่มกิจกรรมแรกในธีม “ดุจดาว” โดยให้ผู้เข้าร่วมจินตนาการว่า ถ้าตัวเองเป็นดาวอยู่บนท้องฟ้าจะเป็นดาวที่มีลักษณะแบบไหน จากนั้นนำดาวซึ่งแทนตัวเองไปติดบนกระดาษดำซึ่งแทนท้องฟ้า เป็นการเล่นสมมติกับจินตนาการและขยายความอิสระในการทำงานศิลปะ

มองเจนYผ่านศิลปะ ‘พรุ่งนี้คือวันของเรา’

ต่อด้วยกิจกรรม “กระจกสี่ช่อง” ที่เน้นให้ผู้เข้าร่วมสะท้อนตนเองจากภายในผ่านกระจก 4 ช่อง ช่องที่ 1 คือสิ่งที่ฉันเป็น ช่องที่ 2 สิ่งที่คนอื่นมองว่าฉันเป็น ช่องที่ 3 สิ่งที่ฉันต้องการเป็น และช่องที่ 4 สิ่งที่คนอื่นต้องการให้ฉันเป็น และถ่ายทอดกระจกทั้งสี่ช่องนี้ออกมาเป็นภาพวาด

เมื่อเข้าใจความสัมพันธ์ของตนเองกับคนรอบข้างแล้ว ต่อมาผู้เข้าร่วมเวิร์กช็อปสร้างสรรค์ภาพวาดอนาคตของพวกเขา โดยนักศิลปะบำบัดให้ทุกคนสะท้อนตัวตน ความรู้สึกและแรงบันดาลใจใน 3 ธีมหลัก ได้แก่ อาชีพในฝัน เป้าหมาย และการเดินทางของชีวิต

มองเจนYผ่านศิลปะ ‘พรุ่งนี้คือวันของเรา’

ผลงานภาพวาดที่สร้างสรรค์ออกมาแสดงให้เห็นว่า แม้ว่าเพศ หน้าที่การงาน และสถานะครอบครัวต่างกัน แต่หนุ่มสาวมิลเลนเนียลกลุ่มนี้มีมุมมองต่ออนาคตที่เหมือนกันในหลายๆ ด้าน พวกเขามุ่งมั่นที่จะสร้างความสมดุลในชีวิต ซึ่งหมายถึงความมั่นคงทางอาชีพและความมั่งคั่งทางการเงิน คนรุ่นนี้มีทางเลือกในการใช้ชีวิตแบบที่ตนต้องการ และต้องการประสบความสำเร็จตามเงื่อนไขของตัวเอง

เมื่อให้นิยามคำว่า “พรุ่งนี้” มิลเลนเนียลในช่วงวัยที่ต่างกัน การรับรู้ในช่วงเวลาก็ต่างกันด้วย กลุ่มมิลเลนเนียลตอนต้น (อายุระหว่าง 30-39 ปี) จะมองภาพวันพรุ่งนี้ในระยะยาวระหว่าง 5-10 ขวบ แต่สำหรับกลุ่มมิลเลนเนียลตอนปลาย (อายุระหว่าง 23-30 ปี) จะมองว่าพรุ่งนี้ก็คือวันถัดจากวันนี้ สิ่งนี้อาจเกิดจากประสบการณ์ชีวิตที่มิลเลนเนียลสองช่วงวัยนี้พบและสั่งสมมาต่างกัน

เพื่อทำความเข้าใจภาพวาดและความหมายที่ซ่อนอยู่ ฟ้าใสบอกว่ามีปัจจัยหลัก 3 อย่างที่ขับเคลื่อนหนุ่มสาวมิลเลนเนียลไทย ได้แก่ ความต้องการที่จะไล่ตามความใฝ่ฝัน การสนับสนุนจากวงสังคม และความรู้สึกของการมอง โลกในแง่ดี

“การสร้างสรรค์ศิลปะเป็นการใช้สมองซีกขวาที่เป็นด้าน ของความทรงจำ จินตนาการ และอารมณ์ มากกว่าการแสดงออกทางคำพูด คิด วิเคราะห์ ดังนั้นกระบวนการสร้างสรรค์งานศิลปะช่วยให้มิลเลนเนียลกลุ่มนี้สามารถแสดงออกถึงความคิด ความรู้สึก ความต้องการและประสบการณ์ต่างๆ ที่บางครั้งซ่อนอยู่ในส่วนลึก เมื่อดูจากภาพวาด เราจะเห็นสิ่งที่กลุ่มมิลเลนเนียลมองเหมือนกัน ทั้งในเรื่องทัศนคติ แรงบันดาลใจและคุณค่าที่พวกเขามองดูอนาคตและการใช้ชีวิตให้คุ้มค่าในแบบฉบับของคนกลุ่มนี้” ฟ้าใสกล่าว

ผลงานศิลปะสะท้อนให้เห็นว่าหนุ่มสาวมิลเลนเนียลเต็มเปี่ยมไปด้วยความมุ่งมั่นที่จะเดินตามอาชีพหรืองานในฝันของตัวเอง เมื่อค้นพบตัวเองและอาชีพในฝันแล้ว พวกเขายินดีที่จะเริ่มต้นในสายงานนั้นแม้ในตำแหน่งจูเนียร์เพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์ให้มากที่สุด รวมทั้งพัฒนาตัวเองให้มีทักษะเพิ่มเติม เช่น ทักษะด้านภาษา เพื่อไปให้ถึงความฝันนั้นได้

เมื่อถามถึงภาพอนาคต มากกว่า 6 ใน 12 คนวาดภาพเครื่องบิน แลนด์มาร์กสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ รวมถึงจุดหมายปลายทาง ในฝัน สิ่งนี้เป็นภาพสะท้อนแรงบันดาลใจของพวกเขาที่จะได้ไปสัมผัสสถานที่และวัฒนธรรมในต่างแดนด้วยตัวเอง ไม่ใช่แค่เพียงมองดูรูปถ่ายของคนอื่นในโซเชี่ยลมีเดีย

ผลงานศิลปะของทั้ง 12 คน ชี้ให้เห็นความชอบที่จะเป็นอิสระจากกิจวัตรประจำวันหรืองานประจำ เพื่อที่จะได้มีโอกาสทำให้เป้าหมายและความฝันของพวกเขาเป็นจริง พวกเขาต้องการกำหนดและควบคุมชีวิตของตัวเอง โดยต้องเป็นตัวของตัวเองและได้ทำในสิ่งที่รัก

ยุทธชัย เตยะราชกุล รองกรรมการ ผู้จัดการใหญ่สายงานบุคคลธนกิจ ธนาคารยูโอบี (ไทย) เผยว่าการทำเวิร์กช็อปรู้จักตัวตนผ่านศิลปะช่วยทำให้เรารู้จักและเข้าใจความรู้สึกนึกคิดข้างในของกลุ่มมิลเลน เนียลไทยได้ดียิ่งขึ้น ผลที่ได้จากการทำ เวิร์กช็อปยิ่งตอกย้ำให้เห็นถึงความแตกต่างของทั้งคนในแต่ละเจเนอเรชั่นรวม ถึงในเจเนอเรช่ันเดียวกัน การพัฒนาสร้างสรรค์ TMRW ขึ้นมาจึงเพื่อมอบประสบการณ์ทางการเงินที่ตอบสนองต่อความต้องการทางการเงินที่แตกต่างเฉพาะบุคคลให้ กลุ่มดิจิตอลเจเนอเรชั่นชาวไทย” ยุทธชัยกล่าว

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน