พระเจ้าตากสิน – พระพุทธรูปเป็นสัญลักษณ์ทางพุทธศิลป์ที่มีท่าทางหรือที่เรียกว่า มุทรา แสดงคติหรือความหมายของธรรมที่เรียกว่า พระสูตร จากการสั่งสอนของพระพุทธเจ้าในวาระต่างกัน

รูปปั้นของวีรบุรุษต่างๆ ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่หรือบริเวณด้านหน้าอาคาร สถานที่ ในเมืองใหญ่น้อยทั่วไป ก็เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงเรื่องราวของวีรบุรุษต่างๆ นั้น ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือกษัตริย์หรือพระราชาที่มีวีรกรรมแตกต่างกัน และมักจะแบ่งออกเป็น 4-5 รูปแบบ เช่น

รูปปั้นกษัตริย์ผู้เป็นนักรบนั่งอยู่บนหลังม้าที่ยกขาม้าขึ้นข้างเดียว หมายถึง ชัยชนะของการรบของกษัตริย์ หรือพระราชาพระองค์นั้น

รูปปั้นของกษัตริย์หรือพระราชาที่นั่งอยู่บนหลังม้าที่ยืน 4 ขา หมายถึง กษัตริย์หรือพระราชาผู้เป็นผู้ครอบครอง ปกครองในดินแดนนั้น

รูปปั้นของกษัตริย์หรือพระราชาที่นั่งอยู่บนหลังม้า และม้านั้นยกขาหน้าขึ้นทั้งสองขา หมายถึง การสูญเสียชีวิตของกษัตริย์หรือพระราชาพระองค์นั้นในการรบ

แต่ถ้าเป็นรูปบุคคลธรรมดาทั่วไปมักจะเป็นรูปปั้นยืนถือสิ่งของหรือสัญลักษณ์อย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นเรื่อง หรือสิ่งสำคัญของความสำเร็จ หรือการค้นพบสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และมักจะต้องอยู่กลางแจ้ง

ธรรมเนียมปฏิบัติสำคัญก็คือ จะไม่ปั้นรูปของบุคคลใดที่เป็นรูปปั้นครึ่งตัวแล้วตั้งไว้นอกอาคาร

นอกจากนี้มีข้อสังเกตว่า รูปปั้นของพระเจ้าตากสินที่ทรงม้ามีทั้งประทับอยู่บนหลังม้าที่ม้าทรงยืนเรียบทั้ง 4 ขา ที่วงเวียนใหญ่ น่าจะหมายความถึงการเป็นผู้ครอบครองราชอาณาจักร แต่ในอีกรูปปั้นนั้น รูปพระเจ้าตากสินประทับอยู่บนหลังม้าที่ยกขาทั้ง 2 ขาหน้า อาจแปลความหมายถึงการสิ้นสุดของชีวิตของพระองค์

ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน