ชี้แจงข่าวอ่างเก็บน้ำที่ลพบุรี : บ.ก.ตอบจดหมาย

คอลัมน์ บ.ก.ตอบจดหมาย

เรื่อง ชี้แจงกรณีเพจข่าวสดนำเสนอข่าวผ่านสื่อออนไลน์

เรียน บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ข่าวสด

ชี้แจงข่าวอ่างเก็บน้ำที่ลพบุรี – ตามที่เพจข่าวสด ประจำวันที่ 27 มีนาคม 2562 เสนอข่าวผ่านสื่อออนไลน์นี่เพิ่งเริ่มต้น! ลพบุรี จ่อวิกฤต อ่างเก็บน้ำแห้งไม่เหลือสักหยด หนักสุด ตั้งแต่สร้างนั้น

จังหวัดลพบุรี (ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด) ขอเรียนว่าโครงการชลประทานลพบุรีได้ดำเนินการตรวจสอบ และพิจารณาดำเนินการแก้ไขปัญหาตามที่เสนอข่าวอ่างเก็บน้ำดังกล่าว โดยสรุปได้ดังนี้

1.โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยโป่ง ตำบลห้วยโป่ง อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี เป็นโครงการชลประทานขนาดกลางที่กรมชลประทานได้ก่อสร้างเสร็จเมื่อปี ..2528 ในเขตพื้นที่ศูนย์การทหารปืนใหญ่ และอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของโครงการชลประทานลพบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีน้ำไว้ใช้ในการเพาะปลูก อุปโภคบริโภคของราษฎรและสัตว์เลี้ยง เป็นแหล่งแพร่พันธุ์ปลาน้ำจืด และเหตุผลความจำเป็นที่สำคัญคือ ทางฝ่ายทหารต้องการใช้น้ำในการอุปโภคบริโภคและใช้ในการเพาะปลูกแปลงสาธิตตามโครงการเกษตรกรรมทหาร กับใช้เป็นแนวกีดขวางทางธรรมชาติเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยของฐานบินทหารบก

2. เนื่องจากอ่างเก็บน้ำห้วยโป่ง มีพื้นที่รับน้ำฝน (Watershed Area) 4.55 ตารางกิโลเมตร มีปริมาณน้ำท่าไหลลงอ่างฯ เฉลี่ยปีละ 1.132 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามแบบที่ออกไว้สามารถเก็บกักน้ำได้ 2.070 ล้านลูกบาศก์เมตร และมีพื้นที่ชลประทาน 1,050 ไร่ ซึ่งจะเป็นได้ว่าโอกาสที่น้ำจะเต็มอ่างฯ ในแต่ละปีค่อนข้างยาก ยกเว้นมีแนวร่องฝนพาดผ่านตรงบริเวณพื้นที่ดังกล่าวเป็นเวลานาน ประกอบกับปริมาณน้ำท่าที่เกิดขึ้นในพื้นที่ลุ่มน้ำดังกล่าวมักจะไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำพิบูลสงคราม ซึ่งมีพื้นที่รับน้ำฝนอยู่ติดกัน อ่างเก็บน้ำพิบูลสงครามเป็นโครงการชลประทานขนาดกลางมีพื้นที่รับน้ำฝน 17.54 ตารางกิโลเมตร ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ เฉลี่ยปีละ 4.83 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามแบบเก็บกักน้ำได้ 2.60 ล้านลูกบาศก์เมตร

3. กรมชลประทานได้ก่อสร้างเมื่อปี ..2496 และส่งมอบให้ศูนย์การทหารปืนใหญ่เป็นผู้ควบคุมและดูแลบำรุงรักษาอ่างฯ ดังกล่าว (ตั้งอยู่ในพื้นที่ค่ายของศูนย์กลางทหารปืนใหญ่) และจากสถิติการเก็บกักน้ำของอ่างฯห้วยโป่ง (5 ปีย้อนหลัง) หลังสิ้นสุดฤดูฝนของทุกปี จะมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 0.656 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือประมาณ 31.71% ของความจุอ่างฯ และมีปริมาณฝนเฉลี่ย (ข้อมูลจากสถานีวัดน้ำฝนอำเภอโคกสำโรง) อยู่ที่ 1,020 ../ปี

4. เมื่อปี ..2559 สำนักชลประทานที่ 10 ได้จัดทำรายงานเบื้องต้นโครงการสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าพร้อมระบบเติมน้ำอ่างเก็บน้ำห้วยโป่ง โดยสูบน้ำจากคลองชัยนาทป่าสัก ในช่วงฤดูน้ำหลากมาเติมลงอ่างฯ มีขนาดเครื่องสูบน้ำ 0.2 ลูกบาศก์/วินาที จำนวน 1 เครื่อง ขนาดท่อส่งน้ำเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.40 เมตร ยาว 12,000 เมตร วงเงินค่าก่อสร้าง 147 ล้านบาท มีภาระค่ากระแสไฟฟ้าสูบน้ำปีละ 1.713 ล้านบาท และเมื่อวิเคราะห์ความเหมาะสมทางเศรษฐ ศาสตร์เบื้องต้นพบว่า มีอัตราผลตอบแทนต่อค่าการลงทุน (B/C) เพียง 0.729 จึงได้ชะลอการศึกษาโครงการดังกล่าวไว้ก่อน

5. เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2562 โครงกาณชลประทานลพบุรี ได้ร่วมกับฝ่ายทหารของศูนย์การทหารปืนใหญ่ ได้ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนกลุ่มผู้ใช้น้ำอ่างเก็บน้ำห้วยโป่ง เพื่อรับฟังปัญหาอุปสรรคของการบริหารจัดการน้ำอ่างเก็บน้ำห้วยโป่ง ซึ่งในแต่ละปีจะมีน้ำเก็บกักอยู่เพียง 30-40% ของความจุอ่างฯ โดยทางกลุ่มผู้ใช้น้ำได้ขอให้พิจารณาปรับปรุงร่องลำน้ำเดิมที่อยู่ด้านเหนืออ่างฯ เพื่อเบี่ยงเบนทิศทางน้ำที่ไหลลงมาจากทางเทือกเขาวงพระจันทร์ให้ไหลลงอ่างฯ ห้วยโป่ง (ปกติน้ำจะไหลลงอ่างฯ พิบูลสงคราม) โดยขุดลอกและทำคันกั้นน้ำบนคันของร่องลำน้ำเดิมเป็นช่วงๆ

6. ขณะนี้ยังไม่ได้รับรายงานความเสียหายจากการเกิดภัยแล้งในพื้นที่ดังกล่าว ทั้งจากราษฎรในพื้นที่ จากการประชุมคณะกรรมการศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ภัยแล้งจังหวัดลพบุรี และคณะทำงานติดตามการขาดแคลนน้ำประจำพื้นที่ในและนอกเขตชลประทานจังหวัดลพบุรี ซึ่งมีการประชุมไปเมื่อวันที่ 21 และ 26 มีนาคม 2562 ตามลำดับ ทั้งนี้ เนื่องจากราษฎรได้เก็บเกี่ยวพืชฤดูแล้งและมีระบบประปาส่วนภูมิภาคขยายเขตเข้าไปในพื้นที่ชุมชน วัด และโรงเรียนในบริเวณพื้นที่ดังกล่าวแล้ว จึงไม่มีปัญหาในเรื่องการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค ซึ่งขณะนี้จังหวัดลพบุรีได้จัดเตรียมความพร้อมของเครื่องจักรเครื่องมือไว้คอยให้ความช่วยเหลือหากมีการร้องขอ ประกอบด้วย รถบรรทุกน้ำ จำนวน 163 คัน (หน่วยงานชลประทาน 3 คัน) เครื่องสูบน้ำ จำนวน 158 เครื่อง (หน่วยงานชลประทาน 30 เครื่อง) และเครื่องจักรกลอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่ง พร้อมกันนี้ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ เพื่อเฝ้าติดตามสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ดังกล่าวอย่างใกล้ชิดแล้ว สำหรับมาตรการและแนวทางการแก้ไขที่โครงการชลประทานลพบุรีกำลังเร่งรัดดำเนินการในระยะเร่งด่วน มีรายละเอียดดังนี้

6.1 ปรับปรุงขุดลอกร่องลำน้ำเดิมบริเวณเหนืออ่างฯ เพื่อเบี่ยงเบนทิศทางน้ำให้ไหลลงอ่างฯ ห้วยโป่ง วงเงินงบประมาณ 2.850 ล้านบาท (อยู่ระหว่างขอเปลี่ยนแปลงงบประมาณเหลือจ่ายปี ..2562 จากกรมชลประทานมาดำเนินการ)

6.2 ขุดลอกตะกอนดินที่ตกสะสมในอ่างฯ (ขณะนี้อยู่ระหว่างเร่งรัดดำเนินการสำรวจเพื่อประมาณการค่าใช้จ่ายและขอเปลี่ยนแปลงงบประมาณเหลือจ่ายปี ..2562 จากกรมชลประทานมาดำเนินการ ตามลำดับ)

จึงเรียนมาเพื่อทราบ

ขอแสดงความนับถือ

นายสุปกิต โพธิ์ปภาพันธ์

ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน