คอลัมน์ วิเคราะห์การเมือง

มอง “รัฐประหาร” – โจทย์รัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 สร้างความแตกต่างเป็นอย่างสูง

ระหว่างบทสรุปของ พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา กับ บทสรุปของ ..ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีความแตกต่างกันอย่างแน่นอน

เพราะคนหนึ่งเป็นผู้กระทำ อีกคนหนึ่งเป็นผู้ถูกกระทำ

รูปธรรมอันเด่นชัดอย่างยิ่งสำหรับ พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา คือการได้เป็นนายกรัฐมนตรีและได้เป็นตั้งแต่หลังรัฐประหารเมื่อปี 2557 กระทั่งในเดือนพฤษภาคม 2564

อย่าได้แปลกใจหาก น..ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะแต่งชุดดำไว้อาลัย

กระนั้น เมื่อดำเนินการตรวจสอบอุณหภูมิและความรู้สึกของสังคมก็น่าสนใจ

น่าสนใจเพราะสัมผัสได้ในความเงียบไม่ว่าจะมาจากภายในทำเนียบรัฐบาล ไม่ว่าจะมาจากภายในพรรคพลังประชารัฐ ไม่ว่าจะเป็นกองเชียร์

ไม่ปรากฏเสียงเพลงเราจะทำตามสัญญา ขอเวลาอีกไม่นาน

ตรงกันข้ามเสียงอันสะท้อนผ่านโซเชี่ยลมีเดียกลับกึกก้องไปด้วยเสียงด่าว่ากระทั่งนำเอาวลียอดฮิตของน้าค่อม มาต่อท้ายกับประโยค “7 ปีรัฐประหาร

เป็นการสื่อโดยตรงไปยังคสช.” ไปยังคนทำรัฐประหาร

น่าประหลาดเป็นอย่างยิ่งที่บทสรุป ..ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตรงกับของคนรุ่นใหม่

ที่ ..ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โพสต์ข้อความยาวเหยียด พร้อมกับภาพของตนเองในชุดดำเท่ากับเป็นการแสดงความไว้อาลัยให้กับรัฐประหารอย่างมากด้วยความรู้สึก

ประหนึ่งจะขอให้รัฐประหารเมื่อปี 2557 เป็นครั้งสุดท้าย

ขณะเดียวกันบทสรุปและความรู้สึกนี้กลับไปพ้องกับคนรุ่นใหม่ไม่ว่าจะเป็น นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ ไม่ว่าจะเป็น ..ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล อย่างมิได้นัดหมาย

ตรงนี้ต่างหากที่มากด้วยความแหลมคมอย่างเป็นพิเศษ

คำขวัญวันเด็กที่รับรู้อย่างกว้างขวางก็คือ เด็กหรือเยาวชนคืออนาคต ของชาติ

ขณะที่กระบวนการรัฐประหารสะท้อนกระบวนการของทหารรุ่นเก่า กระบวนการของการเมืองเก่า บทสรุปของเยาวชนจึงสะท้อนความรู้สึกของคนรุ่นใหม่

เป็นคนรุ่นใหม่ที่รังเกียจและไม่เอารัฐประหาร

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน