คอลัมน์ วิเคราะห์การเมือง

ปลด อาวุธคสช. กับ จุรินทร์ ประชาธิปัตย์ แนวทาง การเมือง

ควันความว่าด้วยร่างรัฐธรรมนูญยังไม่จางหาย ก็ตามมาด้วย#ปลดอาวุธคสช.

พลันที่สภาผู้แทนราษฎรบรรจุร่างพ.ร.บ.ยกเลิกประกาศและคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

ที่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย

นั่นหมายถึงความร้อนแรงที่จะมีการรื้อฟื้น “บรรยากาศ” ทางการเมืองในห้วงหลังรัฐประหาร เมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 ให้หวนกลับมา

เป็นการหวนกลับมาในที่ประชุมและเวทีแห่ง “สภา”

ความคิดในการยกเลิกประกาศและคำสั่งของ “คสช.” เป็นความมุ่งมั่นและตั้งใจ

ไม่เพียงแต่จะมีการยืนยันจาก “นักการเมือง” ในปีกของประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่อง หากแต่พรรคอนาคตใหม่ก็เคยพยายามมาแล้วแต่ถูกสกัดกั้นเต็มเรี่ยวแรง

แม้การเคลื่อนไหว “ภาคประชาชน” โดย “ไอ-ลอว์” ก็ใช่จะราบรื่น

ทั้งๆ ที่สามารถล่ารายชื่อได้ครบตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 และเสนอต่อประธานรัฐสภาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2563

แต่กว่าจะเข้าสู่ระเบียบวาระก็เดือนธันวาคม 2564

ปฏิบัติการครั้งนี้แม้เป้าหมายคือ #ปลดอาวุธคสช. แต่ผลสะเทือนนั้นลึกซึ้งกว้างขวาง

บทบาทของพรรคพลังประชารัฐ บทบาทของพรรคภูมิใจไทย บทบาทของพรรคชาติไทยพัฒนา อาจไม่อยู่ในความหวังในทางสังคมมากนัก

น้ำหนักจะอยู่ที่บทบาทของ “ประชาธิปัตย์” มากกว่า

ท่ามกลางการอภิปรายอันเข้มข้นไม่ว่าจะมาจากพรรคก้าวไกล ไม่ว่าจะมาจากพรรคเพื่อไทย ไม่ว่าจะมาจากพรรคประชาชาติ

สายตาย่อมทอดจับไปยัง “ประชาธิปัตย์” อย่างเป็นพิเศษ

ความพิเศษของพรรคประชาธิปัตย์อยู่ที่สถานะแห่ง “สถาบัน” ของพรรคประชาธิปัตย์เอง

พรรคประชาธิปัตย์ต้องการประชาธิปไตย “สุจริต” และต่อต้านประชาธิปไตย “ทุจริต” คำถามก็คือ ประกาศและคำสั่งหัวหน้าคสช.ถือว่าเป็น “ประชาธิปไตย” หรือไม่

ขัดต่อหลัก “สิทธิมนุษยชน” หรือไม่ และ อย่างไร

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน