แก้รัฐธรรมนูญ เท่ากับแก้วิกฤต

แก้รัฐธรรมนูญ เท่ากับแก้วิกฤตเป็นนิมิตหมายที่ดีส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2563

เมื่อการประชุมสภาผู้แทนราษฎรวันพุธ 18 ..ที่ผ่านมา มีมติเอกฉันท์ 445 เสียง

เห็นชอบให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ศึกษาหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยปี 2560 จำนวน 49 คน กรอบเวลาพิจารณา 120 วัน ตามโควตาสัดส่วนแต่ละพรรคการเมือง ดังนี้

โควตา ครม. 12 คน 1.นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี 2.นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส..บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ 3.นายวุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า 4.นายดำรงค์ พิเดช ส..บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย 5.นายอุดม รัฐอมฤต อดีตกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.)

6.นายกฤษ เอื้อวงศ์ รองเลขาธิการ กกต. 7.นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกพรรคพลังประชารัฐ 8.นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล ที่ปรึกษาพรรคชาติพัฒนา 9.นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ส..บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ 10.นายสัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ หัวหน้าพรรคพลเมืองไทย 11.นายโกวิทย์ ธาราณา สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ 12.นายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา

เพื่อไทย 10 คน 1.นายสุทิน คลังแสง 2.นายจตุพร เจริญเชื้อ 3...อนุดิษฐ์ นาครทรรพ 4.นายโภคิน พลกุล 5.นายชัยเกษม นิติสิริ 6.นายชูศักดิ์ ศิรินิล 7.นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา 8.นายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ 9.นายวัฒนา เมืองสุข 10.นายยงยุทธ ติยะไพรัช

พลังประชารัฐ 9 คน 1.นายวิเชียร ชวลิต 2.นายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ 3.นายสิระ เจนจาคะ 4...ธณิกานต์ พรพงษาโรจน์ 5.นายนิโรธ สุนทรเลขา 6.นายรงค์ บุญสวยขวัญ 7.นายทศพล เพ็งส้ม คณะทำงานด้านกฎหมายพรรคพลังประชารัฐ 8...วลัยพร รัตนเศรษฐ ผู้สมัครส..บัญชีรายชื่อ 9.นายสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม

อนาคตใหม่ 6 คน 1.นายปิยบุตร แสงกนกกุล 2.นายชำนาญ จันทร์เรือง 3.นายรังสิมันต์ โรม 4.นายเอกพันธุ์ ปิณฑวณิช อาจารย์ประจำสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล 5.นายบัณฑิต จันทร์โรจนกิจ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ 6.นายชัยธวัช ตุลาธน

ภูมิใจไทย 4 คน 1.นายศุภชัย ใจสมุทร 2.นายสฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง 3.นายภราดร ปริศนานันทกุล 4.นายบุญดำรง ประเสริฐโสภา

ประชาธิปัตย์ 4 คน 1.นายบัญญัติ บรรทัดฐาน 2.นายสุทัศน์ เงินหมื่น 3.นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ 4.นายเทพไท เสนพงศ์

ชาติไทยพัฒนา 1 คน คือ นายนิกร จำนง, เสรีรวมไทย 1 คน คือ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีต กกต., ประชาชาติ 1 คน ได้แก่ พ...ทวี สอดส่อง และเศรษฐกิจใหม่ 1 คน นายมนูญ สิวาภิรมย์รัตน์

รายชื่อดังกล่าวก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์พอสมควร

โดยเฉพาะรายชื่อโควตา ครม. บางคนเคยเป็นแนวร่วม กปปส. ถูกมองเป็นสายล่อฟ้าเจตนาเข้ามาทำให้การทำงานของกมธ.สะดุด มากกว่าราบรื่น

ขณะเดียวกันมีข่าวนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ได้รับวางตัวเป็นประธานกมธ.ชุดนี้ ซึ่งมีความเห็นแตกเป็น 2 ทางเช่นกัน

พรรคร่วมฝ่ายค้านบางคนเห็นว่า การที่นายพีระพันธุ์ ลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์มาเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เท่ากับประกาศตัวชัดเจนว่าอยู่ฝั่งใด การเข้ามาเป็นประธานกมธ. อาจตกอยู่ภายใต้อาณัติผู้มีอำนาจ ไม่เป็นกลาง

แต่พรรคเพื่อไทยกลับมองว่า ไม่มีปัญหา นายพีระพันธุ์มีประสบการณ์ทั้งการเมืองและการบังคับใช้กฎหมาย มีความเป็นกลาง ที่ทุกพรรคการเมืองรับได้

ซีกฝ่ายค้านยังมีเซอร์ไพรส์เล็กๆ เมื่อปรากฏชื่อ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีต กกต. ในโควตา พรรคเสรีรวมไทย

ก่อนหน้านี้ในการจัดเสวนาพรรคการเมืองร่วมใจแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หัวหน้า 7 พรรคร่วมฝ่ายค้านลงนามทำสัตยาบันร่วมกันในการผลักดันแก้ไขและร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่

ร่วมกับทุกภาคส่วนในสังคม อาทิ ภาควิชาการ นักเรียน นิสิตนักศึกษาและประชาชน กลุ่มองค์กรต่างๆ ดำเนินการตามครรลองระบอบประชาธิปไตยให้ได้รัฐธรรมนูญที่สะท้อนเจตนารมณ์และ ตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง

นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ไม่ได้มุ่งให้เกิดความเป็นธรรมแก่ประชาชน โดยเฉพาะฝ่ายที่เห็นตรงข้ามโดนหมด ทำให้เกิดปัญหาอยู่ร่วมกันไม่ได้

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา หัวหน้าพรรคประชาชาติ กล่าวว่า เหตุที่ต้องแก้เพราะรัฐธรรมนูญเป็นของคสช. เพื่อพล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา ทั้งที่ปกติรัฐธรรมนูญต้องเป็นของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน หากยังใช้รัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นประชาธิปไตยก็จะยังเกิดปัญหาทั้งในและนอกสภา

นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ กล่าวว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นปัญหา เป็นส่วนประกอบของระบอบการสืบทอดอำนาจจากการทำรัฐประหาร 2557 และ 2549 ถ้าไม่แก้รัฐธรรมนูญก็จะไปต่อไม่ได้

การแก้รัฐธรรมนูญเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสร้างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ไม่ใช่ทางเลือก แต่เป็นทางรอดทางเดียวของสังคมไทย

ไม่ใช่เวลามาเหนียมอาย ไม่ใช่เวลา ต้องมาเกรงอกเกรงใจ แต่เป็นเวลาที่ต้องแสดงจุดยืนให้ชัดว่า ที่เป็นประโยชน์กับประชาชนที่สุดตอนนี้คือการหยุดยั้ง การสืบทอดอำนาจ คสช. ร่วมกันเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยประชาชน เพื่อประชาชน

นี่คือทางรอดทางเดียวที่เหลืออยู่นายธนาธร ระบุ

รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 หรือที่เรียกกันว่าฉบับ คสช. ถูกระบุว่าเป็นต้นตอใหญ่ของปัญหาขัดแย้งทางการเมืองรอบใหม่ทั้งในสภาและที่ กำลังปะทุออกนอกสภา ทะลักลงไปยังท้องถนน

เมื่อเป็นดังนี้ ทุกฝ่ายไม่ว่าภาคการเมือง นักวิชาการ ภาคประชาสังคม นิสิตนักศึกษา ประชาชนทั่วไป ตลอดจนกลุ่มองค์กรต่างๆ จำเป็นต้องร่วมกันถอดสลักความขัดแย้ง ก่อนทุกอย่างจะถึงจุดวิกฤต ขัดแย้งรุนแรงจนยากเยียวยาแก้ไข

มีการวิเคราะห์ว่าความขัดแย้งรอบใหม่ซึ่งกำลังก่อตัว เกิดจากปัจจัย 2 ประการคือ

จากที่มาในการจัดทำรัฐธรรมนูญปี 2560 เอื้อต่อการสืบทอดเข้าสู่อำนาจของรัฐบาลชุดนี้ อีกประการคือ เกิดจากตัวพล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่เปลี่ยนสถานะจากคนกลางระหว่างขั้วขัดแย้ง มาเป็นคู่ขัดแย้งเสียเอง

การถอดสลักวิกฤตบ้านเมืองทำได้ ด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชา ธิปไตย อย่างแท้จริง เป็นที่ยอมรับของ ทุกฝ่ายในสังคม

เบื้องต้นพรรคร่วมฝ่ายค้านประกาศยึดแนวทาง แก้ไขรัฐธรรมนูญ ด้วยการแก้ไขมาตรา 256 ตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (...) เปิดทางประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการยกร่างแก้ไข

พร้อมกันนั้นก็จะเปิดรับฟังความเห็นต่าง และยอมรับได้หากมีวิธีการอื่นที่ดี นำไปสู่เป้าหมายการมีรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชนอย่างแท้จริง

ถึงแม้ในซีกรัฐบาลและพรรคร่วมรัฐบาล หากดูจากรายชื่อ กมธ.วิสามัญศึกษาวิธีการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ตั้งขึ้น ยังมองไม่เห็นถึงจุดยืนแนวทางได้ชัดเจนว่า ต้องการเข้ามาทำให้เกิดการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้จริง หรือเข้ามาเพื่อวางยาตัดตอนกระบวนการตั้งแต่เริ่มต้น

จะอย่างไรสังคมต้องเฝ้าจับตากันต่อไป

เชื่อว่าหากฝ่ายผู้มีอำนาจมีความพยายามหา วิธีบิดพลิ้ว หรือสกัดขัดขวางไม่ให้กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญเดินหน้าไปจนสุดซอย จังหวะนั้นก็อาจจะต้องหาวิธีรับมือม็อบการเมืองไปพร้อมกันด้วย

กรณีม็อบธนาธรอาจเป็นแค่การปลุกประชาชนให้ตื่น แต่จุดแตกหักจริงๆ ย่อมอยู่ที่ผลสุดท้ายของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

เป็นไปตามที่ประชาชนคาดหวังหรือไม่

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน