FootNote เดินผิด ตาเดียว แพ้ทั้งกระดาน หมากเกม ประยุทธ์ จันทร์โอชา

อุปมาของเซียนหมากรุกที่ว่า “เดินผิดตาเดียว แพ้ทั้งกระดาน” สามารถอุปมัยได้กับสถานการณ์ทางการเมืองในห้วงแห่งญัตติขอเปิด อภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจได้เป็นอย่างดี

ทุกอย่างเกิดขึ้นจากปลายเดือนสิงหาคมต่อเนื่องมาเกือบตลอดทั้งเดือนกันยายน และต่อเนื่องไปยังเดือนตุลาคม

ทุกสายตาอาจถือว่าประกาศ”ปลด” ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 8 กันยายน คือการตัดสินใจ”เดินหมาก”

อันเท่ากับชี้ให้เห็นว่าคู่กรณีเป็นการเริ่มระหว่าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยมี นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ เป็นผู้ร่วมชะตากรรมสำคัญ

คำถามก็คือเหตุใดปัญหานี้จึงบานปลายกลายเป็นการปะทะระ หว่าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ

คำตอบอยู่ที่บทบาทของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ

คำตอบอยู่ที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ประเมินว่าปัญหาจบตั้งแต่ก่อนการลงมติเมื่อวันที่ 4 กันยายนแล้ว แต่ปรากฏว่ายังไม่จบ

การไม่จบของปัญหานั้นเองที่ทำให้เรื่องบานปลายและมีส่วนอย่างสำคัญทำให้คู่ของความขัดแย้งขยายจาก ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ไปเป็นของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ

เป็นการต่อสู้ระหว่าง “รัฐบาล”กับ”พรรคพลังประชารัฐ”

ในเมื่อ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ในฐานะ”พี่ใหญ่”คิดว่าปัญหาน่าจะจบลงแล้วจากการที่ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า กล่าวคำขอโทษต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

แต่เมื่อสถานการณ์ในวันที่ 8 กันยายนสะท้อนให้เห็นว่า พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ยอมจบจึงมีความจำเป็นต้องแบ่งพื้นที่ทางการเมืองให้มีความเด่นชัด

ระหว่าง”รัฐบาล” กับ”พรรคพลังประชารัฐ”

สภาวะบานปลายของปัญหาอยู่ที่ว่าจะรักษากรอบแห่งความขัดแย้งให้อยู่ในจุดที่แน่นอนได้อย่างไร เพราะระยะหลังเริ่มขยายจากที่เพียง แค่การต่อรองไปสู่การยื่นคำขาดในลักษณะแตกหัก

คำถามนี้จึงมิได้จำกัดเพียงในเรื่อง”ปรับครม.” หากแต่อยู่ที่ว่าหลังยุบสภาใครจะเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรค

ตรงนี้สัมพันธ์กับอนาคต พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยตรง

 

 

 

 

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน