ดุลยภาค ปรีชารัชช วิเคราะห์เลือกตั้งปี62

ดุลยภาค ปรีชารัชชปี 2562 ประเทศไทยจะมีการเลือกตั้งทั่วไป นับแต่หลังการรัฐประหารเมื่อ ปี 2557

ดุลยภาค ปรีชารัชช อาจารย์ประจำโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จับกระแสการเมืองในระยะเปลี่ยนผ่านปี 2562 กับศึกเลือกตั้งครั้งสำคัญรอบ 8 ปี

มองการเลือกตั้งปี62 เพื่อ หวนกลับคืนสู่ประชาธิปไตยของไทยอย่างไร?

การเปลี่ยนผ่านประชาธิปไตยของไทยในการเลือก ตั้งปี 2562 มีลักษณะการเปลี่ยนผ่านโดยขุนพลเสนาธิปัตย์จากบนลงล่าง โดยชนชั้นนำทหารที่เป็นผู้ออกแบบสถาบันทางการเมืองที่จะเกิดขึ้น ทั้งโครงสร้างรัฐธรรมนูญ กลไกการเลือกตั้ง และคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ อันเป็นส่วนหนึ่งตามโรดแม็ป

ภาพใหญ่ของบันไดทางการเมืองที่คสช.หรือ พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้วางไว้ ทหาร ที่ครองอำนาจมาเกิน 4 ปีแล้ว ตามหลักถือเป็นผู้ปกครองโดยตรง ไม่ใช่ทหารผู้พิทักษ์ ที่ปกครองรัฐสั้นๆเป็นการชั่วคราว เพราะว่ากลไกในประเทศต่างๆ คสช.คุมมายาวนานพอสมควร

คำถามคือพลังคสช.ที่ปกครองรัฐ และธรรมชาติของเผด็จการทหารมีกลิ่นอายหลายอย่างคล้ายกับระบอบสฤษดิ์ (จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์) แต่กำลังแปลงร่างกลายเป็นประชาธิปไตยจะเป็นอย่างไร

นักวิเคราะห์ไม่น้อยมองว่า พล..ประยุทธ์ อยากจะเป็นนายกฯหลังเลือกตั้ง’62 จึงเป็นเรื่องของชนชั้นนำในกลิ่นอายระบอบสฤษดิ์ที่กำลังดีไซน์ ปรับนวัตกรรมทางการเมืองใหม่ โดยตั้งขุมพลังทางการเมืองขึ้นมา ซึ่งก็คือพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)

ทำให้คาดกันว่า การเลือกตั้งปี 2562 ไม่ได้เสรีและเป็นธรรม เพราะอยู่ภายใต้พลังอำนาจของ คสช. อย่างไรก็ยังเปลี่ยนผ่านจากชนชั้นนำอนุรักษนิยมที่กดปุ่มให้เปลี่ยน แล้วก็หวังที่จะมาครองรัฐต่ออีก

จึงมองกันว่า การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นจุดชี้วัดว่า จะเอารัฐประหาร อำนาจนิยม หรือจะเอาฝ่ายตรงข้าม ที่ไม่เอาพล..ประยุทธ์ ไม่เอารัฐประหาร ก็ต้องไปเลือกเพื่อไทย และพันธมิตรอื่นๆ

ศึกเลือกตั้งระหว่างฝ่ายสนับสนุน กับไม่สนับสนุน พล..ประยุทธ์ จะทำให้การเมืองไทยเดินไปในทิศทางไหน?

ระบอบการเมืองการปกครองที่กำลังจะเกิดขึ้น ถูกกำกับโดยรัฐธรรมนูญที่ถูกก่อร่างในสมัยคสช. เนื้อหาการเลือกตั้งเป็นแบบจัดสรรปันส่วนผสมนำไปสู่รัฐบาลผสม ซึ่งศัพท์ทางรัฐศาสตร์เรียกรูปแบบการปกครองลักษณะนี้ว่า ลูกผสมหรือไฮบริด

ไฮบริดในบางครั้งก็อาจนำไปสู่ความผันผวนได้ ของที่มัน ผสมกันในการก้าวเข้าสู่การเมืองระยะเปลี่ยนผ่าน ย่อมมีอะไรไม่แน่นอน เสถียรภาพอาจหาไม่ได้ในระยะเปลี่ยนผ่านนี้

ซึ่งไฮบริดที่ว่านั้นเอาเข้าจริงก็มาจากการ แปลงร่างของเสนา ธิปัตย์ที่คายอำนาจ คือทหารผู้ปกครองโดยตรง ปล่อยให้มีการเลือกตั้ง มีประชาธิปไตยมากขึ้น

แต่ไฮบริดที่ได้แม้มีประชาธิปไตยมากขึ้น มีการเลือกตั้ง แต่อำนาจนิยมไม่หายไปไหน มันแฝงตัวเข้าไปผสมกลายเป็นระบอบการปกครองไฮบริด ในเฉดสีเทา จะว่าดีก็ได้ เพราะมีการเลือกตั้ง อย่างน้อยเสรีภาพก็มากขึ้นกว่ายุคเผด็จการเต็มที่ แต่จะว่ามันดี ขาวสะอาดมากๆก็ไม่ใช่

ความเข้มแข็งของตระกูลชินวัตร กับความโดดเด่นของพรรคอนาคตใหม่ เพียงพอต่อการท้าทายอำนาจนิยม เพื่อสถาปนาประชาธิปไตยเต็มใบได้หรือไม่?

นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่พยายามจัดประเภทใน ลักษณะขั้วตรงข้ามแล้วมีความขัดแย้งเป็น กลุ่มรัฐประหารนิยมอนุรักษนิยม กับกลุ่มก้าวหน้านิยมไม่เอารัฐประหาร มาเผชิญหน้ากัน

หรือกลุ่มฐานอำนาจพล..ประยุทธ์และพวกพ้อง วงศ์วานกับ ฐานพลังของนายทักษิณ ชินวัตร รวมกับพันธมิตร ส่วนประชาชนที่มาลงคะแนนเสียง ก็อาจมองแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มสนับสนุนพล..ประยุทธ์กับฝ่ายตรงข้าม

แต่อาจมีความเห็นต่าง มองว่าอาจมีการผสมผสาน หากจะอธิบายพฤติกรรมการลงคะแนนของผู้มาใช้สิทธิในการเลือกตั้งปี 2562 ล่วงหน้า ต้องดูบนฐานของวัฒนธรรมการเมืองด้วยว่า ประชาชนมีความกระตือรือร้นให้มีการเปลี่ยนผ่านประชาธิปไตยจริงหรือไม่ มากน้อยแค่ไหน

พูดตรงๆคือไม่ได้มีคนทั้งหมดที่จะเลือกอยู่ ฝั่งตรงข้ามกับทหารของพล..ประยุทธ์ทั้งหมด คือ มีคนจำนวนไม่น้อยนิยมชมชอบสไตล์การปกครองแบบที่เป็นอยู่

ส่วนคนที่ชอบทางเลือกใหม่ เช่น พรรคอนาคตใหม่ ก็มีคนรุ่นใหม่ 7 ล้านคน เยาวชนหนุ่มสาวที่จะออกมาใช้สิทธิ์ ก็ไม่ได้หมายความว่าเขาจะเลือกพรรคอนาคตใหม่กันหมด

อาจจะกระจายไปในตัวเลือกที่หลากหลาย แล้วเยาวชนไม่ใช่น้อยก็อาจจะเป็นอนุรักษนิยม สนับสนุนพปชร.ก็ได้ ทุกอย่างเป็นไปได้ทั้งหมด

มองวัฒนธรรมการเมืองไทยเป็นอย่างไร พอคาดการณ์พฤติกรรมก่อนวันเลือกตั้งได้มากน้อยแค่ไหน?

วัฒนธรรมการเมืองไทย สามารถแบ่งได้หลายรูปแบบ เช่น วัฒนธรรมการเมืองที่ไม่กระตือรือร้นแบบเฉื่อยชา สังคมสมัยใหม่จะไม่ค่อยมีให้เห็นแล้ว สังคมไทยก็เป็นแบบนี้น้อยมาก

อีกตัวหนึ่งคือ วัฒนธรรมการเมืองแบบไพร่ฟ้า สนใจข่าวสารทางการเมือง รับรู้ข่าวสาร แต่ประชาชนเองก็ไม่ออกมามีส่วนร่วมอย่างกระฉับกระเฉงที่จะเปลี่ยนผ่าน ประชาธิปไตย ยังยอมศิโรราบกับวาทกรรมของการปกครองของรัฐกับสิ่งที่เป็นอำนาจนิยม กับสิ่งที่เป็นเผด็จการ ประวัติศาสตร์การเมืองไทย เรามีแบบนี้มาเยอะมาก

กับอีกอันหนึ่งคือ วัฒนธรรมการเมืองแบบมีส่วนร่วม คือทั้งติดตามข่าวสารแล้วอยากเปลี่ยนแปลงประชาธิปไตย ซึ่งเกิดมากขึ้นในสังคมไทยทุกวันนี้ แต่ถามว่า มันมีพลังพอเพียงที่จะล้มวัฒนธรรมการเมืองแบบไพร่ฟ้าหรือไม่ก็ตอบไม่ได้

แต่ก็สะท้อนให้เห็นว่า การล้มเผด็จการ ล้มกลิ่นอายอนุรักษ นิยม หรือประชาธิปไตยแบบไทยๆ ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะวัฒนธรรมการเมืองของเรายังมีอะไรที่ผสมกันอยู่ อย่างที่บอกว่าคนรุ่นใหม่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเลือกพรรคที่เป็นตัวแทนคน รุ่นใหม่เป็นส่วนใหญ่

มองกลยุทธ์การต่อสู้ในสนามเลือกตั้งครั้งนี้อย่างไร เพื่อไทยแตกแบงก์พันเป็นแบงก์ร้อยถือเป็นทีเด็ดได้หรือไม่?

โครงสร้างมหภาคตัวใหญ่ถูกล็อกด้วยโรดแม็ป และสารัตถะในรัฐธรรมนูญที่อย่างไรก็ต้องใช้หลังการเลือกตั้ง แต่ว่า ชนชั้นนำฝ่ายตรงข้ามคือกลุ่มนายทักษิณ จะคิดสูตรและยุทธศาสตร์ทางการเมืองเพื่อตีโต้ สร้างความหนักใจให้ค่ายประยุทธ์ได้หรือไม่

ปัจจุบันก็มีให้เห็นอยู่แล้ว บางยุทธศาสตร์ฝ่ายนั้นก็คาดไม่ถึงเหมือนกันว่า จะคิดออก อย่างการแยกกันเดินแล้วสุดท้ายก็มาบรรจบกัน

แต่ในประวัติศาสตร์การเมืองทั่วโลกก็มีให้ เห็นว่า เผด็จการที่คุมเกมเขาจะออกแบบสถาบันและภูมิทัศน์ทางการเมืองไว้หมดแล้ว ฝ่ายตรงข้ามก็อาจมีการผลิตยุทธศาสตร์หลายๆอย่างที่ฝ่ายผู้ปกครองคาดไม่ถึง ถ้าไม่ชนะก็ยังสามารถอยู่รอด หรือกุมความได้เปรียบในการต่อรอง

ซึ่งคิดว่าเพื่อไทยก็ทำได้ ตอนนี้มันเริ่มมีให้เห็นแล้ว แต่ตัวชี้วัดที่ตัดสินได้เด็ดขาดที่สุดคือประชาชน

ฟากของพล..ประยุทธ์ที่เป็นนักยุทธศาสตร์ การทหาร แล้วกำลังแปลงร่างเป็นนักการเมืองก็จะมีจุดอ่อนจุดแข็งอยู่ ช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ พล.. ประยุทธ์จะมีอะไรที่สับสนอยู่บ้าง ระหว่าง การเป็นนักการทหารที่ช่ำชองยุทธศาสตร์ การปกครองรัฐผ่านความมั่นคง โดยอ้างสิ่งที่เป็นผลประโยชน์แห่งชาติ

พอมาเป็นการเมืองสิ่งที่เคยด่านักการเมือง สุดท้ายก็ต้องมาสวมบทนักการเมืองนี้เอง หลายอย่างก็ไม่ถนัด หลายอย่างลำบากตัวเองเพราะเคยด่าเขาไว้ แต่ตอนนี้ต้องมาสวมบทบาทนั้นเอง ช่วงเปลี่ยนผ่านของผู้นำตรงนี้จึงมีความท้าทาย เป็นภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก

ทว่าการเป็นนักยุทธศาสตร์การทหารก็มีข้อได้ เปรียบในการคุมเกมการเลือกตั้ง หรือการตั้งศูนย์การเมืองการปกครองที่เจนจัดวางแผนอย่างเป็นระบบระเบียบแล้ว ก็ลับลวงพรางเข้ามาต่อกรกับฝ่ายตรงข้าม

ซึ่งฝ่ายตรงข้ามก็ไม่ได้ง่อยเปลี้ยไม่มีพิษสง เพราะยุทธศาสตร์การปรับกลยุทธ์ที่ผ่านมาก็สะท้อนความฉลาดและเจนจัดทางการเมือง

ตัวชี้วัดสำคัญนอกจากวัฒนธรรมทางการเมือง ของประชาชน ก็ยังอยู่ที่ฐานคะแนนประจำภาคแต่ละเขตเลือกตั้ง แน่นอนว่าพื้นที่ภาคเหนือกับภาคอีสานสำหรับเพื่อไทย(พท.) แล้วอย่างไรก็ล้มยาก

ประชาธิปัตย์ (ปชป.) เองก็ยังอยู่แค่ภาคใต้และกรุงเทพฯเหมือนเดิม ปัญหาภายในก็มีค่อนข้างเยอะอยู่เหมือนกัน ก็ไม่แน่ใจว่าหลังการเลือกตั้งที่ภูมิทัศน์การเมืองอาจมีการเปลี่ยนแปลง ปชป.ที่เห็นกันได้ชัดว่าอยู่ข้างประยุทธ์ก็ได้อยู่ข้างอื่นก็ได้ ไหลได้หมด ก็น่าจะเอาตัวรอดได้ ดีไม่ดีอาจขึ้นมามีตำแหน่งอะไรที่คาดไม่ถึงด้วยซ้ำไป

เมื่อพท.กับปชป.ยังดูเหมือนครองฐานเสียงส่วนใหญ่อยู่ แล้วพปชร. ที่อาศัยพลังดูดจะสอดแทรกขึ้นมาได้อย่างไร?

จุดอ่อนของพปชร.คือ ไม่มีฐานคะแนนในท้องถิ่นที่หยั่งรากลึก อย่างไรก็สู้พท. ปชป.ไม่ได้ การดูดอดีตส..เป็นเพียงยุทธศาสตร์แก้ ด้วยการดึงกลุ่มนักการเมืองที่เคยเป็นแชมป์ประสบความสำเร็จในพื้นที่ อย่างกลุ่มสามมิตรเดินสายก็ถือเป็นการเมืองเก่าที่ใช้กันในประชาธิปไตยของ ไทย เขาคงคิดว่าก็สู้ได้ในระดับหนึ่ง

แม้ว่าจะสู้พท.เต็มที่ไม่ได้ แต่ระบบเลือกตั้ง โครงสร้างรัฐธรรมนูญ การคุมเกมของคสช.ช่วงก่อนและหลังเลือกตั้งก็ยังพอมีจังหวะจะโคนพอทำอะไรได้ อยู่

ซึ่งก็ยังมีบางพรรคอย่าง อนค. ก็น่าสนใจ ไม่ได้ใช้การเมืองแบบ พท. ปชป.แต่ใช้โซเชี่ยลมีเดียและเตรียมจะเจาะพื้นที่ด้วย ก็น่าลุ้นว่าจะโกยแต้มได้ขนาดไหน เชื่อว่าจะตุนคะแนนเสียงได้ประมาณหนึ่ง

โฉมหน้าการเมืองไทยปี 2562 หลังการ เลือกตั้งจะออกมารูปไหน?

ทุกอย่างยังผสมผสานกัน จะไปฟันธงเด็ดขาด จับแยกขั้วไม่ได้ ประกอบกับระบบการเลือกตั้งที่เอื้อให้มีรัฐบาลผสม ระบบโครงสร้างส..ในสภาจะมาจากกลุ่มตัวแทนที่หลากหลาย ส่งเสริมให้มีการประนีประนอมกันมากขึ้น ในรัฐสภาจะมี ส.. รวมกับส.. จำนวน 750 คน มี 250 ..แต่งตั้งมีตุนอยู่แล้ว

หากพล..ประยุทธ์จะเป็นนายกฯ นี่เป็นตัวช่วยอยู่ ส่วนส.. 500 คน แบ่งเป็น 350 แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และ 150 บัญชีรายชื่อ ก็ต้องมาดูกันว่า พปชร. จะคว้าได้เท่าไร ซึ่งต้องใช้ 376 เสียงในการดันประยุทธ์เป็นนายกฯ แล้วจัดตั้งรัฐบาล

การเมืองไทยนับจากนี้ก็จะยังเป็นไฮบริด คือ จะมีการเลือกตั้งอย่างไรก็ตามพลังอำนาจนิยมมันจะเข้ามาผสมผสานคอยควบคุมอยู่ ไม่ใช่ประชาธิปไตยเต็มใบ

สุดท้ายแล้วเรายังไม่รู้ว่าจะมีปรากฏการณ์ นิการากัว หรือเมียนมา 1990 ที่ระบอบการปกครองของชนชั้นนำที่ครองรัฐ แล้วเปลี่ยนผ่านประชาธิปไตย หมายมั่นปั้นมือว่าพลังของตนเองจะชนะการเลือกตั้งเพราะควบคุมกลไกต่างๆ ได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาด ทว่าพลังประชาชนที่แสดงออกมาทำให้ผู้ปกครองรัฐตกใจ ไม่ได้เป็นไปตามที่เขาคาดหวัง ตัวแทนพรรคการเมืองที่เขาปั้นไว้พ่ายศึกการเลือกตั้ง

จากประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่เกิดขึ้น ปรากฏการณ์นิการากัว หรือเมียนมา 1990 ไม่เคยเกิดขึ้นในสังคมไทย แต่ครั้งนี้จะเกิดขึ้นหรือไม่ ก็ยังตอบไม่ได้

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน