‘ศรีสุวรรณ’ บุกร่วมม็อบ พลเมืองนครนายก
ต้านเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ มูลค่า 1.6 หมื่นล้าน

เมื่อวันที่ 6 ก.ย.ที่สวนเฉลิมพระเกียรติ ร. 9 จ.นครนายก นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เดินทางมาร่วมชุมนุมคัดค้านโครงการก่อสร้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ขยาด 20 เมกกะวัตต์ มูลค่า 16,000 ล้านบาท ร่วมกับกลุ่มพลเมืองชาวนครนายก ซึ่งมาร่วมแสดงพลังชุมนุมคัดค้าน พร้อมกับเดินทางไปยื่นหนังสือค้านค้านผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก

เหตุผลของการคัดค้านในครั้งนี้สืบเนื่องมาจากการที่สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์กรมหาชน) หรือ สทน. ได้ทำโครงการก่อสร้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ขนาด 20 เมกะวัตต์ ที่ อ.องครักษ์ จ.นครนายก โดยได้จัดเวทีประชาพิจารณ์รับฟังความเห็นไปครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2561 และครั้งที่ 2 เมื่อเดือนพฤษภาคม 2562 และรอการจัดครั้งที่ 3 เป็นเวทีครั้งสุดท้าย แต่กระบวนการประชาพิจารณ์ที่ผ่านมาไม่ได้เกิดจากการมีส่วนร่วมของชาวนครนายกอย่างแท้จริง รวมทั้งไม่เป็นที่รับรู้ของสังคมไทยในเรื่องการสร้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์และการเก็บกากนิวเคลียร์

ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อนกับ ไลน์@ข่าวสด ที่นี่เพิ่มเพื่อนนอกจากนี้ ทางชาวบ้านและกลุ่มสมาคมพลเมืองนครนายกยังได้คัดค้านการจัดเวทีประชาพิจารณ์ที่ผ่านมาอย่างต่อเนื่อง เพราะการจัดประชาพิจารณ์ไม่เป็นไปตามกฎหมาย มีการแจกเงินและผ้าห่มให้กับผู้ร่วมเวที ซึ่งขัดกับระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ.2548 ที่ต้องให้ข้อมูลอย่างถูกต้อง ปราศจากอามิสสินจ้าง เพื่อให้ประชาชนได้พิจารณาและแสดงความคิดเห็นอย่างเป็นอิสระ อีกทั้งทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ หรือ IAEA ยังได้กำหนดหลักเกณฑ์พื้นที่ตั้งโครงการนิวเคลียร์ว่าจะต้องไม่เป็นที่ลุ่มน้ำท่วมถึง ไม่อยู่ในแหล่งชุมชน ไม่เป็นดินอ่อน น้ำใต้ดินต้องอยู่ลึก ไม่อยู่ในแนวรอยเลื่อนของเปลือกโลก ไม่อยู่ในแนวภูเขาไฟ ขณะที่อำเภอองครักษ์เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ถูกประกาศให้เป็นพื้นที่แก้มลิงใน พ.ศ.2554ทั้งนี้ ในรัศมี 5 กิโลเมตรจากตัวโครงการฯ มีแหล่งชุมชนหนาแน่น เทศบาลและตลาดสดของอำเภอ มหาวิทยาลัยศรีครินทรวิโรฒ โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โรงพยาบาลองครักษ์ โรงเรียนกีฬาจังหวัดนครนายก วิทยาลัยการอาชีพนครนายก บ้านสุทธาวาสเฉลิมพระเกียรติ (บ้านพักผู้สูงอายุ) และแหล่งท่องเที่ยวศาลเจ้าพ่อองครักษ์ จะเห็นได้ชัดเจนว่าพื้นที่ตั้งของโครงการใน อ.องครักษ์ ขัดกับหลักเกณฑ์หลายประการ

นอกจากนี้ความจำเป็นของการทำโครงการขนาดใหญ่ด้วยเงินงบประมาณ 16,000 ล้านบาทนั้น ทาง สทน.ไม่เคยชี้แจ้งถึงความคุ้มค่าในมูลค่าทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นเพื่อที่จะแลกกับการมีกากนิวเคลียร์เก็บไว้ในประเทศไทยในแบบที่ไม่สามารถย้ายออกได้ เสมือนระเบิดเวลาที่นั่งทับไว้ เพราะปัจจุบันประโยชน์ใช้สอยที่ทาง สทน.กล่าวอ้างในโครงการฯ นั้นก็มีการดำเนินการอยู่แล้ว โดยไม่ต้องลงทุนโดยเงินภาษีมากขนาดนี้ และปัจจุบันมีเทคโนโลยีทางเลือกอื่นที่ไม่ทำให้เกิดกากนิวเคลียร์อยู่แล้ว ซึ่งควรได้พิจารณาเป็นทางเลือกก่อน แล้วสารนิวเคลียร์ที่ผลิตเองไม่ได้จึงเลือกซื้อจากต่างประเทศเพื่อลดการต้องมีกากนิวเคลียร์ ซึ่งหลายๆ ประเทศได้ลดการใช้เตานิวเคลียร์ลงแล้วสิ่งที่ชาวนครนายกยังสงสัยและไม่มั่นใจในโครงการนิวเคลียร์เป็นอย่างยิ่งคือ โครงการสร้างเตาขนาด 10 เมกะวัตต์ที่่ผ่านมาเมื่อ 20 ปีที่แล้ว รัฐบาลได้จ่ายเงิน 1,800 ล้านบาทให้กับบริษัทเอกชนและอีกกว่า 200 ล้านบาทให้กับบริษัทที่ปรึกษา แต่เกิดปัญหาการทุจริต ทำให้ต้องยุติโครงการไป แต่ปัจจุบันยังหาผู้รับผิดชอบไม่ได้ และยังไม่ทราบว่ารัฐบาลจะถูกฟ้องค่าโง่จากบริษัทเอกชนในสัญญาอีกหรือไม่ การทุจริตในโครงการใหม่จะเกิดขึ้นอีกหรือไม่เพราะยังมีการปกปิดความผิดเดิมอยู่

ด้วยเหตุผลที่กล่าวมา ชาวนครนายกจึงไม่ยอมรับ“โครงการจัดตั้งเครื่องนิวเคลียร์วิจัยเครื่องใหม่เพื่อการแพทย์ เกษตรกรรม และอุตสาหกรรม” ของสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติเหตผลของการคัดค้าน
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์กรมหาชน) หรือ สทน. ได้ทำโครงการก่อสร้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ขนาด 20 เมกะวัตต์ ที่ อ.องครักษ์ จ.นครนายก

โดยได้จัดเวทีประชาพิจารณ์รับฟังความเห็นไปครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2561 และครั้งที่ 2 เมื่อเดือนพฤษภาคม 2562 และรอการจัดครั้งที่ 3 เป็นเวทีครั้งสุดท้าย แต่กระบวนการประชาพิจารณ์ที่ผ่านมาไม่ได้เกิดจากการมีส่วนร่วมของชาวนครนายกอย่างแท้จริง รวมทั้งไม่เป็นที่รับรู้ของสังคมไทยในเรื่องการสร้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์และการเก็บกากนิวเคลียร์

นอกจากนี้ทางสมาคมพลเมืองนครนายกยังได้คัดค้านการจัดเวทีประชาพิจารณ์ที่ผ่านมาเพราะมีการแจกเงินและผ้าห่มให้กับผู้ร่วมเวที ซึ่งขัดกับระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ.2548 ที่ต้องให้ข้อมูลอย่างถูกต้อง เพื่อให้ประชาชนได้พิจารณาและแสดงความคิดเห็นอย่างเป็นอิสระปราศจากอามิสสินจ้าง

อีกทั้งทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ หรือ IAEA ยังได้กำหนดหลักเกณฑ์พื้นที่ตั้งโครงการนิวเคลียร์ว่าจะต้องไม่เป็นที่ลุ่มน้ำท่วมถึง ไม่อยู่ในแหล่งชุมชน ไม่เป็นดินอ่อน น้ำใต้ดินต้องอยู่ลึก ไม่อยู่ในแนวรอยเลื่อนของเปลือกโลก ไม่อยู่ในแนวภูเขาไฟ ขณะที่อำเภอองครักษ์เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ถูกประกาศให้เป็นพื้นที่แก้มลิงใน พ.ศ.2554

นอกจากนี้ในรัศมี 5 กิโลเมตรจากตัวโครงการฯ มีแหล่งชุมชนหนาแน่น เทศบาลและตลาดสดของอำเภอ มหาวิทยาลัยศรีครินทรวิโรฒ โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โรงพยาบาลองครักษ์ โรงเรียนกีฬาจังหวัดนครนายก วิทยาลัยการอาชีพนครนายก บ้านสุทธาวาสเฉลิมพระเกียรติ (บ้านพักผู้สูงอายุ) และแหล่งท่องเที่ยวศาลเจ้าพ่อองครักษ์ จะเห็นได้ชัดเจนว่าพื้นที่ตั้งของโครงการใน อ.องครักษ์ ขัดกับหลักเกณฑ์หลายประการ

ความจำเป็นของการทำโครงการขนาดใหญ่ด้วยเงินงบประมาณ 16,000 ล้านบาทนั้น ทาง สทน.ไม่เคยชี้แจ้งถึงความคุ้มค่าในมูลค่าทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นเพื่อที่จะแลกกับการมีกากนิวเคลียร์เก็บไว้ในประเทศไทยในแบบที่ไม่สามารถย้ายออกได้ เสมือนระเบิดเวลาที่นั่งทับไว้ เพราะปัจจุบันประโยชน์ใช้สอยที่ทาง สทน.กล่าวอ้างในโครงการฯ นั้นก็มีการดำเนินการอยู่แล้วโดยไม่ต้องลงทุนโดยเงินภาษีมากขนาดนี้ และปัจจุบันมีเทคโนโลยีทางเลือกอื่นที่ไม่ทำให้เกิดกากนิวเคลียร์อยู่แล้ว ซึ่งควรได้พิจารณาเป็นทางเลือกก่อน แล้วสารนิวเคลียร์ที่ผลิตเองไม่ได้จึงเลือกซื้อจากต่างประเทศเพื่อลดการต้องมีกากนิวเคลียร์ ซึ่งหลายๆ ประเทศได้ลดการใช้เตานิวเคลียร์ลงแล้ว

สิ่งที่ชาวนครนายกยังสงสัยและไม่มั่นใจในโครงการนิวเคลียร์เป็นอย่างยิ่งคือ โครงการสร้างเตาขนาด 10 เมกะวัตต์ที่ผ่านมาเมื่อ 20 ปีที่แล้ว รัฐบาลได้จ่ายเงิน 1,800 ล้านบาทให้กับบริษัทเอกชนและอีกกว่า 200 ล้านบาทให้กับบริษัทที่ปรึกษา แต่เกิดปัญหาการทุจริต ทำให้ต้องยุติโครงการไป แต่ปัจจุบันยังหาผู้รับผิดชอบไม่ได้ และยังไม่ทราบว่ารัฐบาลจะถูกฟ้องค่าโง่จากบริษัทเอกชนในสัญญาอีกหรือไม่ การทุจริตในโครงการใหม่จะเกิดขึ้นอีกหรือไม่เพราะยังมีการปกปิดความผิดเดิมอยู่

ด้วยเหตุผลที่กล่าวมา สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย และชาวนครนายกจึงไม่ยอมรับ“โครงการจัดตั้งเครื่องนิวเคลียร์วิจัยเครื่องใหม่” ของสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติในพื้นที่นครนายกได้

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน