เมื่อเวลา 13.30 น.วันที่ 19 ต.ค. ที่ศาลปกครองกลาง ถนนเเจ้งวัฒนะ น.ส.วิไลวรรณ เเซ่เตีย กับพวกรวม51คน ซึ่งเป็นผู้รับบำนาญชราภาพประกันสังคมไปเเล้ว 6 คน เเละผู้ที่จะได้รับบำนาญชราภาพในเร็วนี้จำนวน 45 คน ยื่นฟ้อง รมว.เเรงงาน ออกกฎกระทรวงที่เกี่ยวกับเรื่องบำนาญชราภาพโดยไม่ชอบธรรม

คำฟ้องสรุปว่า โดยเมื่อวันที่ 27 ก.พ.2556 ผู้ถูกฟ้องคดีออกกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ.2556 กำหนดตั้งเเต่ 1 ม.ค.2556-31 ธ.ค.2556 ให้รัฐบาลจ่าย 2% เเละตั้งเเต่ 1 ม.ค.2557 เป็นต้นไป รัฐบาลจ่ายเงินสมทบ 1% ขณะที่ฝ่ายนายจ้างเเละลูกจ้างต้องจ่ายในอัตราที่สูงกว่ารัฐบาล 2 เท่าคือ 3%

เหตุผลท้ายกฎกระทรวงระบุว่าเพื่อบรรเทาภาระของนายจ้างเเละผู้ประกันตนให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจเเละสังคมในปัจจุบันที่ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตตราจ้างขั้นต่ำในปี 2556
การกระทำดังกล่าวจึงขัดต่อหลักการการร่วมจ่ายของรัฐบาล เเละผู้ประกันตน โดยรัฐมีหน้าที่สมทบเงินในกองทุนประกันสังคม อย่างน้อยสุดคืออัตราเท่ากันกับนายจ้างเเละผู้ประกันตน หรืออัตราที่มีหลักประกันได้ว่าผู้ประกันตนจะได้สิทธิประโยชน์ประกันสังคมเพียงพอเเละเป็นธรรม

กฎกระทรวงดังกล่าวจึงไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์กฎหมายประกันสังคม ทำให้รัฐไม่ร่วมจ่ายกรณีชราภาพ การกำหนดเป็นเงินบำนาญเป็นเเบบอัตราตายตัว ไม่อิงดัชนีค่าครองชีพ ไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของคนทำงานที่เกษียณอายุ ขาดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนในการนำผลประโยชน์จากการลงทุนมาจัดสรรจ่ายสิทธิประโยชน์ เเละกฎกระทรวงบางฉบับ เช่น ปี 2538 กลับไม่เคยมีการเเก้ไขเลยทั้งที่สภาพเศรษฐกิจสังคมเปลี่ยนไปมาก

โดยคำร้องขอให้มีการเพิกถอนกฎกระทรวง 3 ฉบับ เเละออกกฎกระทรวงใหม่ โดยให้ รมว.เเรงงาน ดำเนินการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับประกันตนผู้สูงอายุในด้านสถิติเเละความจำเป็นความต้องการพื้นฐานในการดำรงชีพ, การจ่ายประโยชน์ทดเเทนกรณีชราภาพ ควรคำนึงอัตตราเงินเฟ้อ ดัชนีค่าครองชีพ เเละออกกฎกระทรวง มีการสำรวจประกันสังคมกรณีชราภาพ โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประกันสังคม ตั้งเเต่ต้นให้เสร็จ 1 ปีนับเเต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา

น.ส.วิไลวรรณ กล่าวว่า สังคมไทยกำลังก้าวเข้าสู่สุงคมผู้สูงอายุ เเต่การตะหนักถึงผลกระทบทางสังคมยังมีไม่มากนัก ปี 2561 จะมีผู้สูงอายุเพิ่มปีละ 1 ล้านคน ครึ่งหนึ่งของผู้สูงอายุไม่มีเงินออมเลย ผู้สูงอายุเหล่านี้ต้องใช้เงินจำนวนไม่น้อยจ่ายค่ายารักษาโรคยามเจ็บป่วย การออกกฎกระทรวงมิได้ตอบสนองรองรับปัญหาเเละสอดรับกับเเผนผู้สูงอายุเเห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545-2564) ทั้งที่สำนักงานประกันสังคมได้นำเงินในส่วนชราภาพไปลงทุนจำนวนมาก เเละได้รับผลประโยชน์จากการลงทุนมาก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่ากฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง 3 ฉบับดังกล่าวที่ขอให้เพิกถอนคือ กฎกระทรวงฉบับที่ 7 (2538) ออกตามความ พ.ร.บ.ประกันสังคม 2533 เรื่องการกำหนดจำนวนเงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบของผู้ประกันตน มาตรา 33 ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาท เเละไม่เกิน 15,000 บาท

2.กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา เเละอัตตราการจ่ายประโยชน์ทดเเทนกรณีชราภาพ พ.ศ.2550 ออกตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม 2533 มาตรา 77 และ 3.กฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบประกันสังคม พ.ศ.2556 ออกตามความใน พ.ร.บ.ประกันสังคม 2533 มาตรา 46 วรรคหนึ่งเเละวรรคสอง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน