เมื่อวันที่ 31 ม.ค.ที่โรงแรมพลาซ่า แอทธินี กรุงเทพฯ สภาธุรกิจฝรั่งเศส-ไทย (France – Thailand Business Forum) หรือ FTBF โดยการสนับสนุนจากคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย กับสมาพันธ์นายจ้างของฝรั่งเศส (MEDEF International) ได้จัดงานประชุม France – Thailand Business Forum ครั้งที่ เพื่อผลักดันและดึงดูดการลงทุนจากประเทศฝรั่งเศส เพิ่มโอกาสทางธุรกิจระหว่างทั้งสองประเทศ โดยมีนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน และมีผู้นำภาครัฐ และนักธุรกิจชั้นนำที่เกี่ยวข้องของประเทศไทยและประเทศฝรั่งเศสเข้าร่วมด้วย

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า การประชุมครั้งนี้ ถือเป็นภารกิจต่อเนื่องจากการพบกันระหว่างพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง ในปี 2561 ซึ่งยังมีประเด็นต้องติดตามความคืบหน้าในความร่วมมือต่างๆ โดยเฉพาะการลงทุน
ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ซึ่ง France-Thailand Business Forum ครั้งที่ 2 นี้
เป็นโอกาสในการพบปะระหว่างผู้บริหารระดับสูงของเอกชน และภาครัฐของทั้งสองประเทศ ซึ่งเชื่อว่า
จะช่วยยกระดับความเชื่อมั่นของนักลงทุนฝรั่งเศสได้

“จริงๆ แล้วฝรั่งเศสได้ลงทุนในประเทศไทยมา นานกว่า 40 ปีแล้ว นี่เป็นการเปิดโอกาสใหม่สำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ 10 อุตสาหกรรม ซึ่งฝรั่งเศสมีศักยภาพหลายด้านที่ช่วยส่งเสริมได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการคมนาคม วิทยาศาสตร์ และการป้องกันประเทศ ซึ่งความร่วมมือระหว่างสองประเทศก้าวหน้ามากในพื้นที่อีอีซี โดยเฉพาะด้านการบิน สมาร์ทซิตี้ ซึ่งฝรั่งเศสมีความเชี่ยวชาญระดับโลก
ซึ่งมีหลายเรื่องที่ได้ดำเนินการไปแล้วเช่น ความร่วมมือของการบินไทยและแอร์บัส ในการร่วมลงทุน
ในเรื่องของศูนย์ซ่อมอากาศยานขนาดใหญ่ ในส่วนภาครัฐก็มีการลงนามความร่วมมือกับแอร์บัสเช่นกัน
ในสถาบันการบินพลเรือน เรื่องของการผลิตบุคลากรด้านการบิน ซึ่งนำประโยชน์มาสู่ทั้งสองประเทศ” รมว.คมนาคม กล่าว

ด้าน ดร. คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานร่วมสภาธุรกิจฝรั่งเศส-ไทย ฝ่ายไทย และประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีขั้นต้น บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC กล่าวว่า สภาธุรกิจฝรั่งเศส-ไทย ได้ติดตามผลและต่อยอดภารกิจของรัฐบาลโดยทำหน้าที่ประสานทั้ง
ภาครัฐและเอกชนของทั้งสองประเทศ ตั้งคณะทำงานสร้างความร่วมมือด้านการลงทุนในด้านต่างๆ
อย่างชัดเจน โดยครอบคลุม 5 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ การเกษตรและอาหาร โครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งคมนาคม พลังงานรูปแบบใหม่ เช่น พลังงานทดแทน ในกลุ่ม ลม แสงอาทิตย์ หรือ
ไบโอดีเซล สุขภาพและการโรงแรม และสมาร์ทซิตี้

“ในครั้งนี้คณะผู้แทนธุรกิจในแต่ละกลุ่มทั้งไทยและฝรั่งเศสมาร่วมพูดคุยกัน เพิ่มโอกาสการลงทุน
ในแต่ละกิจการ โดย 2 ปีที่ผ่านมามีการจับคู่ไปทั้งหมด 50 คู่ ในครั้งนี้คาดว่าจะมีการจับคู่ธุรกิจเพิ่มขึ้น
ไม่น้อยกว่า 5-10 คู่ธุรกิจ ฝรั่งเศสมีบริษัทหลากหลายที่ให้ความสนใจและมองว่าไทยเป็นพาร์ทเนอร์
ที่สำคัญทั้งฝั่งเอกชนรวมถึงภาครัฐ ได้แก่ สถานทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย กระทรวงต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และ BOI เป็นต้น ขณะเดียวกันองค์กรเอกชนของไทยเจ้าใหญ่ๆ ก็ไปลงทุนในฝรั่งเศสจำนวนไม่น้อย เช่น Thai Union, Sea Value, Double A, Mitr Phol Group, Thai Airways, ThaiBev, CP/True, BDMS

และ GC เองก็เช่นกันที่มีบทบาทในกิจกรรมต่างๆ ทั้งการลงนามความร่วมมือด้านเทคโนโลยีกับเอกชนฝรั่งเศส และยังเป็นบริษัทเอกชนไทยที่มีการลงทุนในฝรั่งเศสสูงเป็นอันดับต้นจากการลงทุนในบริษัท Vencorex ด้วย ซึ่งเรานำเทคโนโลยีนี้มาใช้กับประเทศไทยแล้วในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของอีอีซี และแม้ GC จะมีการลงทุนในฝรั่งเศสแล้ว แต่การร่วมแลกเปลี่ยนความร่วมมือกันในครั้งนี้จะเป็นโอกาสของ GC ในอนาคตต่อไป” ดร. คงกระพัน กล่าว

ขณะที่ นายฟรองซัวส์ กอร์แบง ประธานสภาธุรกิจฝรั่งเศส-ไทย ฝ่ายฝรั่งเศส ประธานสภานายจ้างแห่งฝรั่งเศสสากล (MEDEF International) กล่าวว่า บริษัทฝรั่งเศสนั้นมีจุดแข็งที่โดดเด่นด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี ประกอบกับการพัฒนาในองค์รวมและการฝึกอบรมที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งการได้ร่วมมือกับประเทศไทยถือเป็นอีกหนึ่งโอกาส โดยในครั้งนีมีนักธุรกิจฝรั่งเศส เข้าร่วมกว่า 24 บริษัท
ในกลุ่มจากสาขาอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ ระบบราง พลังงาน สิ่งแวดล้อม ระบบราง เกษตรอาหารท่องเที่ยว การธนาคาร การก่อสร้าง เช่น Airbus, Thales, EDF, Engie, Schneider Electric, Total, Suez, SNCF, Transdev, Accor, BNP Paribas เป็นต้น

 

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน