ซันกรุ๊ป-เซ็นทรัลแล็บ ประเดิมร่วมมือภายใต้บ้านใหม่ ชูเพิ่มมูลค่าพัฒนามาตรฐานส่งออก
ตามที่มีมติจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2561 เห็นชอบในส่วนของการจัดตั้งและดำเนินการเมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis) จากการบริหารและดำเนินการของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ไปเป็นการบริหารและดำเนินงานโดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สวทน.จึงได้ร่วมกับ สวทช. จัดงานแถลงข่าว “สวทช. รับมอบส่งโครงการ Food Innopolis ที่ประสบความสำเร็จจาก สวทน.” ขึ้น ในวันจันทร์ที่ 18 มีนาคม 2562 ณ บริเวณโถงชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมี ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นประธานและแสดงวิสัยทัศน์ “อนาคตอุตสาหกรรมอาหารของไทยก้าวต่อไปของ Food Innopolis”พร้อมด้วยดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ เลขาธิการ สวทน. และ ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สวทช. แถลงรายละเอียดความสำเร็จของโครงการที่พร้อมส่งต่อเพื่อขับเคลื่อนต่อไปสู่เป้าหมายที่ใหญ่กว่า

ดร.พิเชฐ กล่าวว่า โครงการเมืองนวัตกรรมอาหาร หรือ ฟู้ดอินโนโพลิส ถือว่าเป็นโครงการแฟลกชิป ที่รัฐบาลตั้งใจพัฒนาในประเทศไทยเป็นอีกหนึ่งศูนย์กลางนวัตกรรมอาหารของโลก โดยดึงเอาศักยภาพและความพร้อมด้านเกษตรและอาหารมาผนวกกับข้อได้เปรียบประเทศทั้งในด้านบุคลากรวิจัยในสาขาวิชาเทคโนโลยีอาหารและการเป็นศูนย์กลางคมนาคมของกลุ่มประเทศอาเซียน นอกจากนี้รัฐบาลยังมุ่งหวังให้ฟู้ดอินโนโพลิสเร่งสร้างสภาพแวดล้อมด้านนวัตกรรมที่เอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารให้เติบโตอย่างยั่งยืนและแข่งขันได้ในเวทีโลก โดยเฉพาะการเชื่อมโยงผู้ประกอบการอาหารของไทยในทุกระดับกับห่วงโซ่มูลค่าอาหารโลก รวมทั้งดึงดูดให้มีการลงทุนวิจัยพัฒนาของบริษัทอาหารชั้นนำทั้งในประเทศและต่างประเทศ และจะเป็นแรงผลักดันที่สำคัญตอบโจทย์ให้กับภาคเอกชนด้านนวัตกรรมอาหาร และการเร่งให้เกิดผู้ประกอบการนวัตกรรมด้านอาหารให้มากขึ้น เป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนและเพิ่มมูลค้าสินค้าของไทยให้มีคุณภาพสูง สามารถแข่งขันในตลาดโลก นวัตกรรมอาหารจะช่วยเปิดโอกาสทางการตลาดและช่องทางใหม่ๆให้กับธุรกิจ และยังตอบโจทย์นโยบายของประเทศเรื่อง Thailand 4.0 เพราะเป็นการสร้างระดับการพัฒนาที่พี่งพานวัตกรรม และเศรษฐกิจหมุนเวียนไปพร้อมๆ กัน ซึ่งจะนำพาให้ประเทศไทยเป็นฮับนวัตกรรมอาหารโลกได้อย่างแท้จริง

ดร.กิติพงค์ กล่าวว่า ฟู้ดอินโนโพลิส ภายใต้การบริหารจัดการของ สวทน. มีบริษัทเอกชนทั้งไทยและต่างประเทศมาลงทุนวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมในพื้นที่แล้ว36 บริษัท มี เอสเอ็มอี เข้ามาทำวิจัยและนวัตกรรมในพื้นที่ศูนย์วิจัยอาหารแห่งอนาคต “Future Food Lab” 17 บริษัท และมีผู้ประกอบการกว่า 200บริษัทเข้ามาใช้บริการศูนย์ RDI One -Stop Service ซึ่งสนับสนุนการทำวิจัยและนวัตกรรมให้มีความคล่องตัว สะดวกและรวดเร็ว รวมทั้งอยู่ระหว่างขยายการดำเนินงานไปยังส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ โดยใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานของมหาวิทยาลัยและอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคซึ่งสวทน. ได้วางรากฐานสำคัญ 5 ด้านของฟู้ดอินโนโพลิส เพื่อบรรลุเป้าหมายการเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมอาหารที่สำคัญของโลก ได้แก่ 1. มุ่งส่งเสริมบริษัทอาหารในการพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มสูงด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูง 2. จัดให้มีบริการครบวงจรด้านวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมในรูปแบบ “One-stop service”และบริการครบวงจรด้วย Service Platformsต่างๆ ที่ได้พัฒนาขึ้นร่วมกับพันธมิตร 3. ส่งเสริมและเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานด้านมาตรฐาน วิเคราะห์ทดสอบ และความปลอดภัยด้านอาหาร4. เชื่อมโยงหน่วยงานวิจัยและผู้ประกอบการเพื่อสร้างนวัตกรรมอาหาร ทั้งการกระตุ้นให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยี และบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี รวมทั้งเร่งการเติบโตของสตาร์ทอัพ และ 5. ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรวิจัยจากทั่วโลกมาร่วมวิจัยและพัฒนากับบริษัทและหน่วยงานในเมืองนวัตกรรมอาหาร และพัฒนาบุคลากรด้านอาหารร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ดร.ณรงค์ กล่าวว่าเมืองนวัตกรรมอาหารแห่งแรก ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย นี้ที่ สวทน. ดำเนินงานมาแล้วสองปีสามารถสร้างการรับรู้ถึงหน้าที่ของเมืองนวัตกรรมอาหารต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในวงกว้างและเริ่มเป็นที่รู้จักในเวทีโลก ที่สามารถสร้างระบบนิเวศน์นวัตกรรม (innovation ecosystem) เอื้อต่อการทำวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องโดย สวทช. พร้อมจะต่อยอดและขยายผลการดำเนินงานของเมืองนวัตกรรมอาหาร ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนา Service Platforms ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการ การให้บริการ One-Stop Service เชื่อมโยงบริการสนับสนุนการวิจัยพัฒนาของหน่วยงานต่างๆ และการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการทำวิจัยและพัฒนาของภาคเอกชน อีกทั้งจะพัฒนากลไกสนับสนุนและส่งเสริมผู้ประกอบการในรูปแบบอื่นเพิ่มเติมให้เกิดผลกระทบมากขึ้น เพื่อเร่งให้อุตสาหกรรมอาหารของไทยตลอดทั้งห่วงโซ่เกษตรและอาหาร สามารถพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มมากขึ้นและเติบโตได้อย่างยั่งยืน

สำหรับการขยายเครือข่ายเมืองนวัตกรรมอาหารไปยังหน่วยงานที่มีศักยภาพและความพร้อมทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ในพื้นที่ของ 13 มหาวิทยาลัย และ 2 หน่วยงาน(มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย และ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ)เพื่อขยายความร่วมมือและการดำเนินงานของ สวทช. จากส่วนกลางไปสู่ภูมิภาค

นอกจากนี้ สวทช. จะสนับสนุนให้เมืองนวัตกรรมอาหารทำงานร่วมกับ 4 ศูนย์เทคโนโลยีแห่งชาติของ สวทช.เพื่อให้เกิดการลงทุนวิจัยและนวัตกรรมอาหารมีความเข้มแข็งและเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมอาหารของโลก เช่น Internet of Food การพัฒนาคนสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร 4.0 โลจิสติกส์และซัพพลายเชนสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร ความปลอดภัยอาหารและมาตรฐานอาหาร การพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารตามแนวทางเศรษฐกิจแนวใหม่บน 5 ฐานแนวคิดคือ1.เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) 2.เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) 3.เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) 4.เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Intelligent Economy) และ 5.เศรษฐกิจร่วมใช้ประโยชน์ (Sharing Economy) เพื่อยกระดับศักยภาพของประเทศสร้างความมั่นคง ยั่งยืนต่อไป

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน