ป.เอกนิเทศฯ หอการค้าไทย บินลัดฟ้าสู่ยุโรป

โชว์ผลวิจัย-พร้อมผลิตดุษฎีบัณฑิตรับใช้สังคม

 

พร้อมการศึกษาดูงานสถาบันและหน่วยงานสำคัญต่าง ๆ ในสถานที่ศึกษา ที่สำคัญยังมีการแลกเปลี่ยนจากนักวิชาการสถาบันการศึกษาจากประเทศในทวีปยุโรป อเมริกา เอเชีย ตะวันออกกลางทั่วทุกมุมโลก ร่วมสร้างสรรค์ผลงานวิจัยระดับโลกใช้สำหรับพัฒนาประชากรของโลกต่อไปในอนาคต

ป.เอกนิเทศฯ หอการค้าไทย

นางสาวประวีณมัย บ่ายคล้อย นักศึกษานิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์การตลาด มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย รุ่น 1 และผู้ประกาศข่าวไทยทีวีสีช่อง3 เล่าว่า “หัวข้อที่ไปนำเสนอ ที่เมือง อัมส์เตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ จะเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยดุษฎีนิพนธ์หัวข้อ “7 ทศวรรษอัตลักษณ์รายการข่าวโทรทัศน์ของประเทศไทย” ซึ่งหัวข้อที่ไปนำเสนอก็จะเป็นในส่วนของการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเพื่อศึกษาถึงตราสินค้ารายการข่าวโทรทัศน์

งานวิจัยชิ้นนี้ทุกคนจะได้มองเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของแบรนด์รายการข่าวที่เปลี่ยนแปลงไป เราจะได้เห็นในหลายๆมิติ ทั้งในเรื่องคอนเทนต์ว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร การนำเสนอจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ผู้ประกาศหรือนักข่าวต้องปรับตัวภายหลังจากนี้อย่างไร อีกทั้งมีการสร้างหรือการมีส่วนร่วมกับผู้บริโภคหรือคนดูอย่างไร

เพราะฉะนั้นเราเชื่อว่างานวิจัยชิ้นนี้สุดท้ายพอมันออกมาแล้วมันจะเป็นองค์ความรู้ใหม่สำหรับคนในวงการข่าว นักข่าว ผู้ประกาศข่าวและผู้ผลิตรายการข่าว ก็สามารถใช้องค์ความรู้จากงานวิจัยชิ้นนี้ไปสร้างหรือไปพัฒนาแบรนด์รายการของตัวเองได้ อีกทั้งประชาชนทั่วไปที่อยากจะศึกษาต่อเกี่ยวกับทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับวงการนี้ สามารถนำงานวิจัยชิ้นนี้ไปเป็นข้อมูลเพื่อศึกษาต่อและต่อยอดให้กับตัวผู้ที่สนใจได้

และในส่วนของผู้บริโภคเมื่อมีช่องทางการสื่อสารที่หลากหลายมากขึ้นผู้บริโภคก็สามารถที่จะเลือกชมได้ตามที่ตัวเองต้องการ การมานำเสนอเวทีนานาชาติที่ยุโรปครั้งนี้ความตื่นเต้นมากเพราะว่ามันเป็นระดับนานาชาติ

อีกทั้งเรายังต้องทำให้สมศักดิ์ศรีของการทีเราเป็นนักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย นอกจานี้ทำให้เราเห็นว่านักวิจัยจากหลายๆ ประเทศมีมุมมองการนำเสนองานวิจัยในเทรนด์ปีนี้อย่างไรบ้าง แล้ววิธีการวิจัยของแต่ละประเทศมีหลากหลายรูปแบบ ท่านที่เป็นทั้งอาจารย์หรือนักศึกษาจากหลายๆ ที่เมื่อทำการนำเสนอแล้วเราก็รู้สึกว่าหัวข้อเขาหรือวิธีการศึกษาของเขามันมีความน่าสนใจ

แต่ที่เห็นเด่นชัดคือวิธีการนำเสนอของหลายๆ คนนั้นมีความสามารถในการดึงดูดผู้ฟังสนใจตัวเองได้เป็นอย่างดี สิ่งที่เราได้แน่ๆ คือความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากอาจารย์ในหลายๆ ประเทศที่เข้าร่วมงานวิชาการในครั้งนี้ อาจารย์จากประเทศแอฟริกาใต้ท่านได้ให้มุมมองกับงานวิจัยที่เราทำว่างานมันค่อนข้างจะใหญ่ เพราะฉะนั้นถ้ามันเป็นเรื่องที่ประเด็นใหญ่มากๆ เราต้องจำกัดความและทำให้มันแคบลง

อีกทั้งอาจารย์ก็ยังทิ้งท้ายไว้ว่าจริงๆ เวลามันผ่านไปรวดเร็วถ้าเราทำหัวข้อวิจัยที่มันใหญ่เกินไป ขอบเขตมันจะเยอะมากและอาจจะทำได้ไม่ทันกับเวลาที่เราเรียน มันก็เลยทำให้เราพยายามมองและโฟกัสในเรื่องที่มันคมชัดขึ้นเราก็เลยมองว่าที่เราได้ทั้งหมดตรงนี้มันมีประโยชน์กับการที่เราจะทำงานวิจัยของเราต่อไป”

นางสาวสุพิชฌาย์ พรสุขสวัสดิ์ นักศึกษานิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์การตลาด มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย รุ่น2 อดีตแอร์โฮสเตส เล่าว่า “การเดินทางไปนำเสนองานวิจัยที่ยุโรปครั้งนี้นำเสนอหัวข้อที่ “การสื่อสารการตลาดของนักท่องเที่ยงกลุ่มความหลากหลายทางเพศ (LGBT) ในประเทศไทย” สาเหตุที่เลือกหัวข้อนี้เพราะว่าเเรียนสื่อสารการตลาดและสนใจนักท่องเที่ยวในกลุ่มความหลากหลายทางเพศ

เพราะนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้เหมือนเป็นที่สนใจในสังคมไทยและต่างชาติมากขึ้นเรื่อยๆ และเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่ใช้จ่ายมาจากคนกลุ่มนี้เยอะมาก อีกทั้งการศึกษาเรื่องนี้ ยังเป็นการเปิดโลกกว้างเชิญชวนให้คนในกลุ่มความหลากหลายทางเพศมาเข้าท่องเที่ยวในประเทศไทย ซึ่งการท่องเที่ยวถือว่าเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศไทย และนำรายได้เข้าประเทศได้อย่างเพิ่มขึ้น

การนำเสนอผลงานวิจัยในยุโรป เป็นงานทีเป็นนานาชาติหัวข้องานวิจัยและความสนใจมันเป็นคนละซีกโลกอย่างเห็นได้ชัดเพราะฉะนั้นบรรยากาศในการฟังหรือเข้าร่วมงานมันแตกต่างกับประเทศไทย เวลาในการนำเสนอเสร็จสมบูรณ์จะมีการถามคำถามมากมายเพราะมันเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจ

โดยงานวิจัยได้ประยุกต์แนวคิดและทฤษฏีกระบวนการสื่อสาร เพราะว่าการสื่อสารเป็นพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน เพราะฉะนั้นถ้าเราจะทำสิ่งใดให้มันประสบความสำเร็จต้องมีกระบวนการสื่อสารที่ดีมีประสิทธิภาพอยู่ในนั้น”

รองศาสตราจารย์ ดร.จันทิมา เขียวเเก้ว ผู้อำนวยการหลักสูตรนิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์การตลาด มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า “การมานำเสนองานวิจัยในเวทีระดับนานาชาติเป็นวัตถุประสงค์หลักที่หลักสูตรกำหนดไว้ ดุษฎีบัณฑิตที่มหาวิทยาลัยผลิตออกมารับใช้สังคม ต้องมีศักยภาพในระดับนานาชาติ

จากที่เรามีกิจกรรมเตรียมความพร้อมที่เข้มข้นพยายามให้นักศึกษาสามารถเชื่อมโยงประเด็นการวิจัยและประยุกต์แนวคิดด้านการสื่อสารการตลาดระหว่างวัฒนธรรมกับการกำหนดหัวข้อการวิจัย และเทคนิคการนำเสนองาน และมีประสบการณ์ในการนำเสนองานวิจัยในต่างประเทศ มีโอกาสได้รับฟังข้อเสนอแนะจากคณาจารย์ที่ปรึกษาจากทั่วทุกมุมโลก

ส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนางานวิจัยของตนจน และสามารถดำเนินงานวิจัยเผยแพร่งานวิจัยของตนให้สำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสำเร็จการศึกษาได้ตามแผนที่กำหนดไว้ในหลักสูตร

และที่สำคัญการมาอยู่ร่วมกันในระยะสั้นในต่างประเทศเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างเพื่อนร่วมรุ่นและรุ่นพี่-รุ่นน้องอย่างใกล้ชิด”


ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน