เอ็มเทค-สวทช. พัฒนาน้ำยางข้น ‘ParaFIT’ ทดสอบและถ่ายทอดให้กับสหกรณ์การเกษตรบ้านแพรกหาฯช่วยผู้ประกอบการ ‘ตะลุงลาเท็กซ์’ ผลิตหมอนยางพาราคุณภาพสูง รุ่น ‘เปี่ยมสุข’ สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง

เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2562 อ.ควนขนุน จ.พัทลุง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) นำโดย ดร.จุลเทพ ขจรไชยกูล ผู้อำนวยการ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
(เอ็มเทค) สวทช. นางกุลประภา นาวานุเคราะห์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. พร้อมทีมนักวิจัยเอ็มเทค สวทช.นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่เยี่ยมชมสหกรณ์การเกษตรบ้านแพรกหา จำกัด อ.ควนขนุน จ.พัทลุง โดยมีนายขจรศักดิ์ เจริญโสภา รองผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง นายสมศักดิ์ บุญโยม รักษาราชการแทนสหกรณ์จังหวัดพัทลุง ผู้แทนกรมส่งเสริมสหกรณ์ เข้าร่วมเยี่ยมชมกระบวนการผลิตน้ำยางข้นพาราฟิต ParaFIT เพื่อใช้แปรรูปเป็นหมอนและที่นอนยางพาราที่ได้คุณภาพจากฝีมือเกษตรกรชาวสวนยาง จ.พัทลุง ทั้งนี้มีคณะกรรมการ เจ้าหน้าที่ พร้อมสมาชิกสหกรณ์การเกษตรบ้านแพรกหา จำกัด ให้การต้อนรับ

ดร.จุลเทพ ขจรไชยกูล ผู้อำนวยการ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช.
กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตยางพาราหรือยางธรรมชาติรายใหญ่ที่สุดของโลก โดยผลิตได้มากกว่า 4 ล้านตันต่อปี จึงมีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้คนจำนวนมากในหลายภาคส่วน เช่น เกษตรกรชาวสวนยาง ผู้ผลิตยางดิบและ อุตสาหกรรมผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น อย่างไรก็ตามสัดส่วนการใช้ยางพาราในประเทศยังมีไม่มากนักเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการผลิตและการส่งออก ดังนั้นการดำเนินการเรื่องมาตรฐานผลิตภัณฑ์ การพัฒนาด้านบุคลากรและเทคโนโลยี จึงเป็นปัจจัยสำคัญต่อการสร้างความสามารถในการแข่งขันเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่อุตสาหกรรมยางของประเทศ แต่หลายภาคส่วนยังขาดองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ดังนั้นนักวิจัยของเอ็มเทค สวทช. จึงได้เข้ามาเติมเต็มในส่วนนี้ เช่นกรณีสหกรณ์การเกษตรบ้านแพรกหา จำกัด ซึ่งทีมวิจัยได้ลงพื้นที่และทำงานร่วมกับ สหกรณ์การเกษตรบ้านแพรกหาจำกัด ตลอดระยะเวลากว่า 2 ปี จนกระทั่งเกิดเป็นผลงานน้ำยางพาราข้นชนิดใหม่ คือ ParaFIT สำหรับการผลิตหมอนและที่นอนยางพาราโดยเฉพาะ ทำให้สามารถผลิตสินค้าจากยางพาราขายสู่ท้องตลาดแล้วกว่า 5 เดือน (ตั้งแต่เดือน มีนาคม 2562) มีการผลิตน้ำยาง ParaFIT มากถึง 4.5 ตัน

“เอ็มเทค สวทช. มีภารกิจหลักด้านการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรม การบริหารจัดการและการผลิตยางพาราตั้งแต่ช่วงกลางน้ำจนถึงปลายน้ำ เช่น การเก็บรักษาน้ำยางพารา เทคโนโลยีการผลิตและการแปรรูปยางพาราขั้นต้น นวัตกรรมด้านการวิเคราะห์ทดสอบวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ยางพารา รวมถึงงานมาตรฐานต่างๆ โดยเฉพาะมาตรฐาน มอก. การวิจัยจึงมีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่ใช้ยางพาราเป็นวัตถุดิบ เป็นที่ยอมรับและใช้งานอย่างแพร่หลายมากขึ้น ดังเช่น นวัตกรรมผลิตภัณฑ์หมอนและที่นอนยางพาราที่ผลิตจากน้ำยางข้น ParaFIT ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการใช้งานได้อย่างเหมาะสม ทั้งในด้านคุณสมบัติการใช้งาน ราคา ตลอดจนความเชื่อมั่นในคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ยางพาราไทย” ดร.จุลเทพ กล่าว

@เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

นายอนันต์ จันทร์รัตน์ ผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรบ้านแพรกหา จำกัด กล่าวว่า สหกรณ์การเกษตรบ้านแพรกหา จำกัด เกิดขึ้นจากการที่จังหวัดพัทลุงต้องการแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ ทั้งนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณตามยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ ฝั่งอ่าวไทย ประจำปี 2558 ผ่านกรมส่งเสริมสหกรณ์ และตั้งโรงงานได้ในช่วงปลายปี 2559 จากการระดมเงินทุน (หุ้น) ร่วมมือกันเชิงประชารัฐ ผ่าน “โครงการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ยางพารา กิจกรรมการจัดตั้งโรงงานผลิตหมอนที่นอนยางพาราเพื่อสุขภาพ”

เมื่อต้นปี 2560 ได้เริ่มดำเนินการผลิตในส่วนการแปรรูปหมอนจากน้ำยางข้น 60% ที่ซื้อมาจากบริษัทเอกชน ต่อมาช่วงกลางปี 2560 ทีมวิจัยเอ็มเทค สวทช. เข้ามาสอนการผลิตน้ำยางข้น 60% จึงเริ่มรับน้ำยางสดจากสมาชิก นำมาผลิตน้ำยางข้น 60% ใช้เองได้จนถึงปัจจุบัน สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนได้

“ทีมวิจัย เอ็มเทค สวทช. ได้นำเทคโนโลยีในการผลิตน้ำยางข้นแอมโมเนียต่ำมากสำหรับการผลิตโฟมยาง หรือน้ำยางพาราข้น ParaFIT มาทดลองและทดสอบระดับภาคสนาม ที่สหกรณ์การเกษตรบ้านแพรกหา จำกัด ทำให้สามารถผลิตหมอนยางพาราได้และช่วยลดเวลาในการบ่มน้ำยางจากเดิม 21 วัน เหลือเพียง 3 วัน จึงชวยลดเงินทุนหมุนเวียนในการรับซื้อน้ำยางพาราสด (3-6 ล้านบาทในแต่ละรอบ) และช่วยลดความเสี่ยงที่น้ำยางจะเกิดการบูดเน่าอีกด้วย”

@น้ำยางข้น ParaFIT เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

น.ส.ปิยะดา สุวรรณดิษฐากุล ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส หนึ่งในทีมวิจัยเอ็มเทค สวทช. กล่าวว่า ทีมวิจัยได้พัฒนาน้ำยางพาราข้นชนิดใหม่ที่เป็นมิตรต่อคนและสิ่งแวดล้อม ลดการใช้สารเคมี และลดระยะเวลาการ
บ่มน้ำยางพาราข้น สำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตหมอนและที่นอนยางพาราที่มีคุณภาพดี ทดแทนการใช้น้ำยางพาราข้นทางการค้า เนื่องจากน้ำยางพาราขนเปนวัตถุดิบหลักสำคัญที่ใชในการทำผลิตภัณฑหมอนและที่นอนยางพารา อย่างไรก็ดีน้ำยางพาราขนที่ใชกันอยูในปจจุบันมีสวนผสมของแอมโมเนีย ซิงกออกไซด (ZnO) และเตตระเมทิลไทยูแรมไดซัลไฟด์ (TMTD) ชวยปองกันไมใหน้ำยางเกิดการบูดเนา แต่แอมโมเนียเปนสารเคมีที่ระเหยงาย มีกลิ่นฉุนรุนแรง ทำลายสุขภาพ สรางมลภาวะ ตอสิ่งแวดลอม และทำใหน้ำยางพาราขนมีสมบัติไมคงที่ ซิงกออกไซด์มีสวนประกอบที่เปนโลหะหนัก และเตตระเมทิลไทยูแรมไดซัลไฟด เปนสารที่กอใหเกิดสารไนโตรซามีน (สารกอมะเร็ง) อีกทั้งต้องมีขั้นตอนการบมน้ำยางพาราขนและขั้นตอนการกำจัดแอมโมเนียออกจากน้ำยางพาราขนใหอยูในระดับเหมาะสมก่อนจึงจะนำไปผลิตหมอนและที่นอนยางพาราได้

ทีมวิจัยเอ็มเทค ได้ทดลองผลิตน้ำยาง ParaFIT โดยใชเครื่องจักรอุตสาหกรรมของโรงงานผลิต
น้ำยางพาราขน และทดสอบสมบัติของน้ำยาง ParaFIT ที่ไดตามข้อกำหนดในมาตรฐานผลิตภัณฑอุตสาหกรรม (มอก. 980-2552 และ ISO 2004-2017) กระทั่งได้สูตรน้ำยาง ParaFIT ซึ่งมีปริมาณแอมโมเนียต่ำกวา 0.20% โดยน้ำหนักน้ำยาง (น้ำยางพาราขนทางการคามีปริมาณแอมโมเนีย 0.3-0.7% โดยน้ำหนักน้ำยาง) มีปริมาณ ซิงกออกไซด และเตตระเมทิลไทยูแรมไดซัลไฟด์ลดลง ช่วยให้ระยะเวลาการบมน้ำยางพาราขนลดลงกอนนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการทำผลิตภัณฑยาง ทำให้ไมตองมีขั้นตอนการกำจัดแอมโมเนียออกจากน้ำยางพาราขน
กอนนำไปผลิตหมอนและที่นอนยางพารา จึงช่วยลดปริมาณของเสียในกระบวนการผลิต ลดกลิ่นฉุนของแอมโมเนียในโรงงาน และเปนมิตรตอคนและสิ่งแวดลอม

@พร้อมคุณภาพมาตรฐาน บริการครบวงจร

ผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรบ้านแพรกหา จำกัด กล่าวว่า สหกรณ์การเกษตรบ้านแพรกหา จำกัด ได้พัฒนากระบวนการผลิตมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเมื่อปลายปี 2560 ได้ดำเนินกิจกรรมแบบครบวงจร ตามที่ทีมวิจัยจากเอ็มเทค สวทช. เข้ามาช่วยพัฒนาน้ำยางข้น ParaFIT การบริการแบบครบวงจรถือเป็นจุดเด่นที่สำคัญโดยสหกรณ์การเกษตรบ้านแพรกหา จำกัด รับซื้อน้ำยางสดจากสมาชิก แปรรูปเป็นน้ำยางข้น 60% และนำมาขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์หมอนและที่นอนยางพารา ภายใต้แบรนด์ ‘ตะลุงลาเท็กซ์’ โดยหมอนยางพารารุ่น ‘เปี่ยมสุข’ ประกอบด้วย หมอนหนุน หมอนรองคอ หมอนเด็ก ที่นอนเด็ก และหมอนข้าง มียอดจำหน่าย ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ช่วยแก้ไขปัญหาราคายางพาราที่ไม่คงที่ได้ ปัจจุบันสหกรณ์ฯ มีสมาชิก 299 ครอบครัว เกิดการจ้างงานไม่น้อยกว่า 20 ตำแหน่งเกิดกลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องในกระบวนการผลิตไม่น้อยกว่า 100 ครอบครัว ช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางที่อยู่ใกล้เคียงใน 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลแพรกหา ตำบลนาขยาด อ.ควนขนุน และตำบลชุมพล อ.ศรีนครินทร์ จ.พัทลุง ครอบคลุมพื้นที่สวนยางราว 3,000 ไร่ และเป็นแหล่งผลิตหมอนและที่นอนยางพาราที่ใหญ่ที่สุดใน จ.พัทลุง

“ปัญหาของผลิตภัณฑ์หมอนยางพาราในประเทศไทย คือ วางขายเหมือนกันหมด แตกต่างกันที่
ราคาเพียงอย่างเดียว แง่มุมอื่นที่แตกต่างไม่มีใครสามารถบอกได้เลย ดังนั้นนับจากนี้ไปสหกรณ์การเกษตรบ้านแพรกหาฯ จะใช้น้ำยางข้น ParaFIT ผลิตผลิตภัณฑ์หมอนและที่นอนยางพารา ทำให้เรามีจุดเด่นที่ไม่เหมือนใคร”

ทั้งนี้ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป สหกรณ์ฯ มีแผนจะใช้น้ำยางข้น ParaFIT ในการผลิตตามยอดสั่งจองสินค้าล่วงหน้า (ออเดอร์) เนื่องจากได้รับการตอบรับที่ดีจากกลุ่มลูกค้าหลัก 2 ราย ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายที่ทำสัญญาร่วมกัน และลูกค้าอีก 3-4 รายที่รอรับซื้อจากสหกรณ์ฯ ครั้งละ 2,000- 4,000 ใบต่อราย เพื่อส่งออกไปยังลูกค้าที่ประเทศจีน อย่างไรก็ตามสหกรณ์การเกษตรบ้านแพรกหาฯ ได้เตรียมปรับปรุงเครื่องจักรให้พร้อมสำหรับการรับผลิตตามออเดอร์สินค้าให้ได้เฉลี่ยเดือนละ 20,000 ใบ หรือประมาณ 800 ใบต่อวัน โดยขณะนี้มีออเดอร์หมอนยางพาราอยู่ที่ 50,000 ใบ ที่ต้องรอส่งมอบให้ลูกค้าซึ่งจะต้องผลิตให้ได้ภายในระยะเวลา 6 เดือนนับจากนี้ ซึ่งสหกรณ์การเกษตรบ้านแพรกหาฯ คาดว่าหลังจาก ParaFIT ได้รับการตอบรับจากลูกค้า สหกรณ์ฯสามารถรวบรวมน้ำยางสดจากสมาชิกสหกรณ์ฯ ในราคาน้ำยางสดนำราคาน้ำยางสดในท้องถิ่นได้

@ จังหวัดพัทลุง เล็งหนุนสหกรณ์ฯ ยกระดับราคารยาง

นายขจรศักดิ์ เจริญโสภา รองผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง กล่าวภายหลังลงพื้นที่เยี่ยมชมกระบวนการผลิตน้ำยางข้นพาราฟิต ParaFIT เพื่อใช้แปรรูปเป็นหมอนและที่นอนยางพารา ว่า จังหวัดพัทลุงมีพื้นที่การเกษตร 1.5 ล้านไร่ ในจำนวนนี้มีพื้นที่ปลูกยางพาราเกือบ 1 ล้านไร่ ดังนั้นอาชีพหลักของชาวพัทลุงคือปลูกยางพารา ซึ่งจากการลงพื้นที่ชมกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์หมอนและที่นอนยางพารา พบว่า สหกรณ์การเกษตรบ้านแพรกหา จำกัด มีความเข้มแข็งอย่างมากที่จะแปรรูปน้ำยางพารา เป็นผลิตภัณฑ์หมอนและที่นอนยางพารา ซึ่งได้นวัตกรรมการผลิตน้ำยางข้น ParaFIT จาก เอ็มเทค สวทช. ที่จะช่วยให้ผลิตภัณฑ์ยางพาราของสหกรณ์การเกษตรบ้านแพรกหาฯ มีคุณภาพมากขึ้น ทั้งการช่วยลดต้นทุน การรักษาสุขภาพของผู้ผลิตจากการใช้แอมโมเนียที่ต่ำกว่าทั่วไป คุณภาพหมอนแข็งแรง ยืดหยุ่นดีขึ้น และช่วยลดระยะเวลาการผลิตจาก 21 วันเหลือเพียง 3 วัน

“ยางพาราตกต่ำมาตลอด หลายรัฐบาลหาทางแก้ไข แต่สิ่งสำคัญที่สุดเราต้องเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ยางพาราด้วยโดยทำอย่างไรให้เกิดการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีหลายส่วนราชการรอให้การสนับสนุนการแปรรูป ทั้งสหกรณ์จังหวัด ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน เป็นต้น ดังนั้นนวัตกรรม Parafit คือโจทย์สำคัญ หากเราทำผลงานชิ้นนี้ประสบผลสำเสร็จและเป็นแห่งแรก จังหวัดพัทลุงพร้อมให้การสนับสนุน เพื่อเติมเต็มให้สหกรณ์แพรกหา ทีมวิจัยจาก สวทช. และเกษตรกรชาวสวนยางพัทลุง”

ทั้งนี้จังหวัดจะคิดร่วมกันกับ สหกรณ์การเกษตรบ้านแพรกหาฯ ในการหาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ซึ่งผลิตจากยางพาราและเป็นที่ต้องการของตลาด โดยจะเน้นเรื่องสุขภาพเพื่อเพิ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปยางจากยางราให้มีมากขึ้น เป็นการส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์ยางพารา ซึ่งปัจจุบันที่รับอยู่น้ำยางอยู่วันละ 2 ตันต่อวัน คาดว่าจะรับได้เพิ่มขึ้นเป็นวันละ 8 ตันต่อวัน ซึ่งจะทำให้ชาวสวนยางของพัทลุงสามารถขายยางได้มากขึ้นและได้ราคาดีขึ้น ทำให้ยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรให้ดีขึ้นด้วย

“ราคากลไกของตลาดก็ยังเป็นอยู่แต่ว่าในการรับซื้อน้ำยางจากพี่น้องเกษตกรที่เข้ามาเป็นสมาชิกสหกรณ์การเกษตรบ้านแพรกหาฯ อาจจะได้ราคาสูงกว่าท้องตลาด ซึ่งหากผลิตภัณฑ์ยางพาราขายได้ดีก็สามารถช่วยพี่น้องเกษตรกรในการยกระดับราคาของที่เรารับซื้อได้” รองผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง กล่าวทิ้งท้าย

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน