มากกว่างานที่ทรงคุณค่า แต่ต้องสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ ทำงานหัตถศิลป์อย่างไรให้ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ และยังคงไว้ซึ่งความประณีต มนต์เสน่ห์ของงานศิลปหัตถกรรมที่เป็นมรดกสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น นี่คือ สิ่งที่วิชัยกุล ต่างต้องคำนึงถึงในการสร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรม…”

พัชรา ศิริจันทร์ชื่น ครูช่างศิลปหัตถกรรม ปี 2557 กล่าวว่า เครื่องเขินหัตถกรรมล้านนาที่เป็นเครื่องใช้สอยภายในครัวเรือนตั้งแต่สมัยโบราณที่ใช้ในชีวิตประจำวัน โครงสร้างทำมาจากไม้โดยส่วนใหญ่จะใช้ไม้ไผ่มาสาน ทาด้วยยางรักฉาบด้วยชาด หรือวิธีใดวิธีหนึ่ง ตกแต่งด้วยสี มุก ทองคำเปลว หรือเงินเปลว เป็นงานศิลปหัตถกรรมที่เป็นมรดกทางภูมิปัญญาสืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งวิชัยกุลเครื่องเขิน เป็นหัตถกรรมพื้นบ้านที่เลื่องชื่อของชุมชนบ้านนันทาราม จังหวัดเชียงใหม่ ที่ยังคงอนุรักษ์การทำเครื่องเขินแบบโบราณ และมีการถ่ายทอดให้กับลูกหลานภายในชุมชนหรือผู้ที่สนใจ โดยได้รับการยกย่องจากศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ SACICT ให้เป็นครูช่างศิลปหัตถกรรมปี 2557

แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไป การทำศิลปหัตถกรรมเครื่องเขินในรูปแบบดั้งเดิมแต่เพียงอย่างเดียว จะไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มคนได้อย่างครอบคลุม ทางครอบครัวจึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาการออกแบบ ของงานเขินให้สามารถตอบโจทย์วิถีชีวิตปัจจุบันได้ จึงมีการออกแบบให้งานเขินพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ร่วมสมัยรูปแบบต่าง ๆ เช่น เคสโทรศัพท์ พวงกุญแจ กำไล ตลอดจนเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ตอบโจทย์คนยุคใหม่ ลวดลายที่ได้รับความนิยมส่วนใหญ่จะเชื่อมโยงกับความเชื่อของคน เช่น ลายช่องรับทรัพย์ ลายพญานาค เป็นต้น การนำงานหัตถศิลป์มาสร้างสรรค์หลายรูปแบบจะส่งผลให้งานที่ทรงคุณค่า เข้ามากลืนอยู่ในวิถีชีวิตของผู้คนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ การได้มีโอกาสร่วมเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว SACICT ยังเป็นโอกาสสำคัญ ให้งานเครื่องเขินวิชัยกุล เป็นที่รู้จัก ได้รับโอกาสทางการตลาด อาทิ การได้เข้าร่วมจัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในงาน ชีวิตใหม่ใต้ร่มพระบารมี ครั้งที่ 2 ตลอดจนงานต่างๆ ของ SACICT ส่งผลให้ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ความต้องการกับกลุ่มผู้ซื้อ เป็นการเปิดโลกทัศน์ในการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ และที่สำคัญคือ ช่วยให้งานศิลปหัตถกรรมเครื่องเขิน คงอยู่ต่อไป

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน