ศ.ดร.สุชาติ เซี่ยงฉิน อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) พร้อมด้วย ศ.ดร. สมฤกษ์ จันทรอัมพร รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี รศ.ดร. อุดมเกียรติ นนทแก้ว คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ศ.ดร.สุวัฒน์ กุลธนปรีดา หัวหน้าโครงการดาวเทียมแนคแซท (KNACKSAT) ดร.พงศธร สายสุจริต ที่ปรึกษาสำนักงานอธิการบดี ด้านการจัดตั้งโครงการเทคโนปาร์ค ด้านดาวเทียมและอวกาศ ผศ.ดร.อมรพันธุ์ พันธุ์โอภาส ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายเทคโนโลยีหุ่นยนต์ และ ผศ.ดร.ธนพร โรจน์หิรัญสกุล หัวหน้าส่วนงานด้านหลักสูตรนานาชาติคณะวิศวกรรมศาสตร์ เข้าเยี่ยมชมศึกษาดูงาน ร่วมฉลอง 10 ปี ความสัมพันธ์ระหว่าง มจพ. และ Kyushu Institute of Technology (Kyutech) โดยมีกิจกรรมระหว่างมหาวิทยาลัยในหลายๆ ด้าน อาทิ หุ่นยนต์ระบบอัตโนมัติ ดาวเทียมและอวกาศ รวมทั้งได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนนักศึกษาฝึกงานระยะสั้น (workshop) เรียนต่อ ปริญญาโท-ปริญญาเอก และ double degree program โดยมีนักศึกษาของ มจพ. เข้าร่วมในโครงการนี้จากหลากหลายสาขา จากนั้นคณะผู้บริหารที่ร่วมเดินทางเข้าพบปะพูดคุย ร่วมศึกษาดูงาน ทั้งนี้ มจพ. ผนึกกำลัง 2 บริษัทญี่ปุ่น เพื่อต่อยอดดาวเทียมโครงการ 2 พร้อมทั้งเข้าเยี่ยมชมการทำงาน ห้องปฏิบัติการต่างๆ ของบริษัท

  1. Axelspace Space witin your reach
    บริษัท Start up ที่เกิดจากนักศึกษาปริญญาเอก Dr.Yuya Nakamura (President and CEO of Axelspace) พร้อมเพื่อนอีก 3 คนจากการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากมหาวิทยาลัยโตเกียว จัดตั้งบริษัทเพื่อการประกอบดาวเทียมขนาดเล็ก ตั้งแต่ ปี 2008 และเป็นองค์กรแรกในประเทศญี่ปุ่นที่เป็นบริษัทเอกชนที่ทำการส่งดาวเทียมไปในอวกาศ โดยส่งมาแล้ว 5 ตัว เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากภาพถ่าย สัญญาณเรดาร์ และ อื่นๆ ดาวเทียมขนาดเล็ก หรือ cubesat ใช้เพื่องานถ่ายภาพพื้นโลก และได้รับการพัฒนาให้มีขนาดใหญ่เป็น Nanosat/microsat
  2. Space BD Bring dreams and commerce into Space
    บริษัทดำเนินการ เพื่อการปล่อยดาวเทียมสู่อวกาศ ได้รับการรับรองจาก Jaxa เพื่อการปล่อยดาวเทียมขนาดเล็กสู่สถานีอวกาศ ISS (International Space station) ขนาดไม่เกิน 50 kg และให้บริการสาธิตและทดสอบชิ้นส่วนดาวเทียมในบรรยากาศอวกาศ ทั้งการส่งสัญญาณ ขนาดดาวเทียม ทดสอบด้านความร้อน โดยทีมคณะผู้บริหาร มจพ. เข้าเยี่ยมชมศึกษาดูงาน ตามคำเชิญของสถาบันการศึกษาและบริษัทเอกชนต่างๆ ซึ่งเป็นสถาบันชั้นนำและมีชื่อเสียงในระดับโลก วัตถุประสงค์เพื่อความร่วมมือด้านวิชาการทางด้านดาวเทียมและด้านการวิจัยอวกาศและด้านนวัตกรรมหุ่นยนต์ พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น แนวทางการดำเนินงานที่จะผลักดันให้เกิดโครงการความร่วมมือขึ้นในอนาคต ณ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 2-4 ตุลาคม 2562

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน