สุราษฎร์ธานี กสศ. เปิด 3 โมเดลความสำเร็จเสริมหลักสูตรพัฒนาอาชีพเด็ก หลุดระบบการศึกษาภาคบังคับ เน้นการมีส่วนร่วม ชุมชน สถานศึกษา และครอบครัว สร้างรายได้ก้าวข้ามความยากจน

สำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หรือ กสศ. ลงพื้นที่ ร่วมกิจกรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาเยาวชนและแรงงานนอกระบบ ที่กลุ่มเลี้ยงผึ้งบ้านปากลาง ม.3 ต.วิภาวดี อ.วิภาวดี จ.สุราษฎร์ธานี เมื่อเวลา 09:00 น. วันที่ 30 ก.ย.65 เพื่อติดตาโครงการหนุนเสริมวิชาการและการจัดการความรู้สำหรับการพัฒนาทักษะเยาวชนและแรงงานนอกระบบ หลังมีการพัฒนาหลักสูตรเสริมทักษะเยาวชนจนสามารถสร้างอาชีพสร้างรายได้ช่วยครอบครัว โดยใช้ผึ้งเป็นจุดการเรียนรู้ร่วม

ดร.สมคิด แก้วทิพย์ ผู้จัดการโครงการหนุนเสริมวิชาการและการจัดการความรู้สำหรับการพัฒนาทักษะเยาวชนและแรงงานนอกระบบ กล่าวว่า เสน่ห์ของโครงการนี้ คือการใช้ผึ้งเป็นตัวมาเชื่อมโยงการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างชุมชน ครอบครัว และองค์กรต่างๆ ได้ช่วยกันทำ และได้รับความรู้จากการทำก่อให้เกิดงาน เกิดอาชีพเลี้ยงครอบครัวและชุมชน เกิดความเข้าใจธรรมชาติของป่า ซึ่งเป็นพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน

โดยโครงการในครั้งนี้สืบเนื่องจากที่สถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้จำนวนนักเรียนยากจนสูงขึ้น ที่หลุดออกนอกระบบการศึกษาเพิ่มมากขึ้น หรือไม่เรียนต่อหลังสำเร็จการศึกษาภาคบังคับ เพื่อประกอบอาชีพและหาเลี้ยงครอบครัว ทั้งนี้พบว่าเยาวชนฐานะยากจนยังขาดโอกาสศึกษาต่อในระดับสูงกว่าภาคบังคับ (ม.ปลาย สายอาชีพ ) นักเรียนครัวเรือนยากจนมีโอกาสศึกษาในระดับ ม.ปลายเพียงร้อยละ 53 ขณะเดียวกันนักเรียนยากจนพิเศษสามารถเข้าถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษาได้เพียงร้อยละ 10 เท่านั้น

เช่นเดียวกับสถานการณ์แรงงานพบว่ามีประชากรวัยแรงงานวุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และต่ำกว่าจำนวนมากกว่า 16.1 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นแรงงานนอกระบบ ที่ทำงานลักษณะกึ่งฝีมือหรือไร้ฝีมือ ต้องเผชิญกับความไม่มั่นคงทางรายได้และขาดการ
คุ้มครองทางสังคม รวมไปถึงความท้าทายกับการเปลี่ยนผ่านการผลิตจากเทคโนโลยียุค 3.0 ไปสู่ยุค 4.0 ที่ต้องการแรงงานมีฝีมือมากขึ้น

นายพัฒนพงษ์ สุขมะดัน ผู้ช่วยผู้จัดการ กสศ. กล่าวว่า บทบาทของ กสศ.หลักๆคือการคุณภาพการศึกษา และให้กลุ่มที่มีข้อจำกัดได้เข้าถึงการศึกษา ได้ใช้เรื่องของการเรียนรู้มาพัฒนาศักยภาพของตัวเอง นอกจากยังพบเด็กในกลุ่มที่จบการศึกษามาแล้ว แต่ยังมีทักษะไม่เพียงพอในการประกอบอาชีพสร้างรายได้ให้กับตัวเอง ทาง กสศ.จึงหาเครื่องมือในการมาช่วยเด็กกลุ่มนี้

จึงได้ไอเดียในการใช้ชุมชนเป็นฐานในการดูแล เพราะเด็กที่หลุดออกจากระบบ หรือที่จบแล้วแต่ยังไม่มีงานทำก็ต้องอยู่บ้าน ซึ่งในแต่ละชุมชนก็มีพื้นฐานในการประกอบอาชีพต่างๆอยู่แล้ว และใช้การประกอบอาชีพในชุมชนมาพัฒนาทักษะการประกอบอาชีพ การใช้ชีวิตให้กับเด็กๆกลุ่มนี้ โดยเข้ามาช่วยสนับสนุนการให้ความรู้ การทำบรรจุภัณฑ์​ และการตลาด ให้ผลิตภัณฑ์ชุมชนของกลุ่มเป้าหมายประสบผลสำเร็จ และเจริญเติบโต

อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา กสศ. มีโครงการดึงเยาวชนและประชากรวัยแรงงานนอกระบบการศึกษาได้รับโอกาสกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาหรือได้รับการพัฒนาความรู้หรือทักษะฝีมือ จนมีสมรรถนะที่สามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพตามศักยภาพ หรือพัฒนาการศึกษาทางเลือก เพื่อเยาวชนและแรงงานขาดโอกาสได้รับการพัฒนาศักยภาพที่สูงขึ้นผลดำเนินการพบว่า เด็กที่หลุดออกนอกระบบการศึกษาหลังเรียนภาคบังคับและได้รับการพัฒนาทักษะวิชาชีพประสบความสำเร็จสามารถสร้างอาชีพ และรายได้ให้กับตัวเองและครอบครัวฝึกทักษะคนพิการยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ความสำเร็จ

กรณีแรก กสศ.ได้ร่วมกับ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้สร้างกิจกรรมการเรียนรู้ให้คนพิการในศูนย์ฯ ‘ได้พัฒนาทักษะอาชีพโดยการทำอาหารแปรรูป’ นางวิสาขะ อนันธวัช อายุ 54 ปี สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ผู้รับผิดชอบโครงการ เล่าว่าที่ผ่านมา กลุ่มผู้พิการของศูนย์พัฒนาศักยภาพ และอาชีพคนพิการจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้รับการฝึกฝนทักษะด้านต่าง ๆ เช่น การแปรรูปอาหาร การตัดเย็บ การนวด การเสริมสวย แต่ ผลิตภัณฑ์ยังไม่ได้เครื่องหมาย รับรองคุณภาพ สถานที่ผลิตไม่เป็นสัดส่วนและไม่ถูกต้องตาม GMP ทำให้กลุ่มผู้พิการไม่สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ออกจำหน่ายได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว จึงจัดทำโครงการพัฒนาทักษะการแปรรูปอาหารของผู้พิการ ยกระดับทักษะด้านการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร และยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปของกลุ่มผู้พิการให้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคจนสามารถจำหน่ายได้

หลังผ่านการฝึกทักษะ 6เดือน กลุ่มผู้พิการสามารถสร้างผลิตภัณฑ์แปรรูป สามารถยืดอายุผลิตภัณฑ์ไตปลาแห้งได้นานขึ้นจาก 3 วันเป็น 90 วัน โดยระหว่างนี้กำลังดำเนินการขอมาตรการสินค้าจาก อย. และรับรองสถานที่ผลิตสินค้า เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานยิ่งขึ้น

นอกจากนี้การพัฒนาทักษะทำผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานแล้ว ยังฝึกการเรียนรู้วิธีการขายของออนไลน์ โดย นางสาวฐิตา สำเภารอด อายุ 20 ปี เล่าว่า ได้เรียนรู้การทำอาหารหลายอย่าง เรียนรู้วิธีการไลฟ์สด การขายของออนไลน์ วิธีการโน้มน้าวใจลูกค้าให้ซื้อผลิตภัณฑ์ ช่วยแม่ (พี่เลี้ยง) ขายของ และมีการสอนถ่ายรูปสินค้าให้น่าสนใจเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า

อย่างไรก็ตาม นางสาวรสฤทธ์ แสงมณี อายุ 36 ปี ครูพี่เลี้ยง เสริมว่า จริง ๆ แล้วเขาจะมาช่วยในเบื้องหลังไลพีสด ช่วยหยิบของ ช่วยเปีดเพลง ช่วยสนับสนุนครูพี่เลี้ยงที่ทำการไลฟิสดที่เขาช่วยขายไม่ได้เพราะมีกฎหมายคุ้มครองผู้พิการบนโลกโซเชียล ดังนั้นสิ่งที่น้อง ๆ ทำได้แค่อยู่เบื้องหลังเท่านั้นฝึก’ทักษะวิชาชีพ – ‘ทักษะชีวิต’ ไม่ทำผิดซ้ำอีก

นอกจากนั้น กสศ .ร่วมกับ มูลนิธิ ไรท์ ทู เพลย์ และ สถานพินิจและคุ้มครองเด็กจังหวัดสุราษฎธานี จัดทำโครงการการสร้างงานสร้างอาชีพให้กับเด็กและเยาวชน ภายใต้โครงการส่งเสริมโอกาสทางการเรียนรู้และพัฒนาทักษะเยาวชนและแรงงานนอกระบบ ด้วยการเปิดโอกาสให้น้อง ๆ ในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 8 จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้วางแผนและกำหนดกติกา ตลอดจนเลือก ‘อาชีพที่ชอบ’ ด้วยตัวเอง ผลก็คือทำให้เด็กเยาวชนเกินครึ่งเห็นโอกาสทางอาชีพ บางคนจะไปต่อยอดกิจการของครอบครัว เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กทำผิดซ้ำอีก

เทพธีระ ชัยอิ่นคำ ผู้รับผิดชอบโครงการ บอกว่า จากการเก็บข้อมูลพบว่า กว่า 45 เปอร์เซ็นต์ ของเด็กที่ได้รับการปล่อยตัว ยังคงกระทำความผิดซ้ำ สาเหตุหลัก ๆ มาจากการความรู้สึกไม่เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนที่ตัวเองสังกัด บอกว่า สำหรับกลุ่มที่ได้รับโอกาส ก็จะมีทางเลือกใหม่ในชีวิตและไม่หวนคืนกลับสู่สถานพินิจ โครงการการสร้างงานสร้างอาชีพให้กับเด็กและเยาวชน เข้ามาช่วยฝึกอาชีพ ฝึกทักษะชีวิตจากกระบวนการงานร่วมกันจนทำให้ เยาวชนค้นพบตัวเองว่าชื่นชอบอาชีพอะไร หรือมีความฝันอะไร และพบว่า ชีวิตเริ่มต้นใหม่ได้เสมอ “เราพบว่าแนวทางดังกล่าวช่วยในเรื่องพัฒนาวิธีคิด และช่วยปรับมายเซตของน้อง ๆเยาวชน เพราะในกระบวนการทำงาน โดยเฉพาะเรื่องการฝึกอาชีพ เป็นการเปิดโอกาสให้น้องๆ ได้ร่วมกันคิด วางแผน และกำหนดกติกา รวมถึงเลือกอาชีพที่ตัวเองชอบ และถนัด ที่นอกเหนือจากอาชีพที่ทางศูนย์เปิดอบรม ขณะเดียวกันครูพี่เลี้ยงก็ได้รับการพัฒนาทักษะไป พร้อม ๆ กับเด็ก ๆ ด้วย ” ซึ่งผลของการทำโครงการพบว่า กลุ่มเป้าหมายจำนวน 20 คนที่จะได้รับการปล่อยตัวในช่วงเดือนมกราคม และกุมภาพันธ์ 2565 สามารถเริ่มต้นประกอบอาชีพและสร้างรายได้ให้แก่ตนเองและครอบครัว

นอกจากนั้น ห้างหุ้นส่วนสามัญการจัดการภัยพิบัติจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ดำเนินการ โครงการสามารถสร้างพลังแห่งการเรียนรู้เรื่องการเลี้ยงผึ้งโพรงให้กับสมาชิกได้เป็นอย่างดี สมาชิกมีทักษะเรื่องการวิเคราะห์รายรับรายจ่ายในครัวเรือน จนสามารถไปกำหนดแผนชีวิตของตนเองมีรายได้จากการเลี้ยงผึ้งโพรงเฉลี่ยครัวเรือนละ 35,000-45,000บาท/ปี เกิดการขยายผลเครือข่ายภายใน คือ เกิดกลุ่มแม่บ้านสมาชิกที่รวมตัวกันแปรรูปผลผลิตจากน้ำผึ้งเป็นผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่า เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายจากภายในและภายนอก

จ่าโทโกเมศร์ ทองบุญชู อายุ 62 ปี อาชีพเกษตรกร เป็นการยกระดับการเลี้ยงผึ้งโพรงแปลงใหญ่ ในนามวิสาหกิจผึ้งโพรงไทย โดยขยายพื้นที่และรับผิดชอบโครงการ เล่าว่า ในปีนี้กลุ่มเป้าหมายจากเดิมให้ครอบคลุมทั่วทั้งพื้นที่อำเภอชะอวด จำนวน 100 คน ประกอบด้วยแรงงานนอกระบบที่เป็นเกษตรกร 45 คน ผู้ว่างงาน 68 คน และผู้พิการ 17 คน เพื่อให้ครอบครัวอาสาสมัครจัดการภัยพิบัติมีระบบดูแลครอบครัวภายใต้กิจกรรมการเลี้ยงผึ้งโพรงที่ เชื่อมโยงทั้ง 5 มิติ ได้แก่ สังคม เศรษฐกิจ สุขภาพ สิ่งแวดล้อม วิถีชุมชนและการหนุนเสริมให้ กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ประกอบการ นอกจากนี้ยังมีการอบรมการออกแบบและส้ร้างกระบวนด้านการตลาด ซึ่งเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์และจัดทำช่องทางการจำหน่ายผ่านตลาดออนไลน์ ซึ่งถือว่าเป็นมิติใหม่ของการทำตลาดในยุคดิจิตอล


ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน