เสียงนิสิตนักศึกษา

คอลัมน์ ทิ้งหมัดเข้ามุม

เสียงนิสิตนักศึกษา : ช่วงจัดงานรำลึก 43 ปีเหตุการณ์รุมฆ่านิสิตนักศึกษา 6 ตุลา 2519 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน จัดงานเสวนานำเสนอผลสำรวจความคิดเห็นนักศึกษากว่า 28 สถาบัน ครอบคลุมสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ พบว่า 95.1 เปอร์เซ็นต์อยากแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ..2560 และ 63.9 เปอร์เซ็นต์ต้องการให้แก้ไขทั้งฉบับ

เป็นการสุ่มสำรวจทางวิชาการกับกลุ่มนักศึกษา คนรุ่นใหม่ที่มีสิทธิเลือกตั้ง อายุระหว่าง 19-26 ปี

พบสาเหตุที่จำเป็นต้องแก้รัฐธรรมนูญฉบับมรดกคสช. เนื่องจากพบปัญหาสรุปได้ดังนี้

การทำหน้าที่ของ กกต. ล่าช้า สับสน น่าสงสัยในความเป็นกลาง

การคำนวณคะแนนผลการเลือกตั้งไม่มีความแน่นอน

นายกรัฐมนตรีไม่ได้มาจาก ส..

..แต่งตั้ง เป็นผู้ชี้ขาดการเลือกนายกรัฐมนตรี

นอกจากนี้ ผลสำรวจดังกล่าวยังสะท้อนความเชื่อมั่นของนิสิตนักศึกษาต่อรัฐธรรมนูญในการแก้ปัญหาต่างๆ ดังนี้

ร้อยละ 87.80 คิดว่า การคอร์รัปชั่นใน วงราชการเพิ่มขึ้น

ร้อยละ 85.10 คิดว่า งบประมาณกลาโหมและความมั่นคงจะเพิ่มสูงขึ้นเกินความจำเป็น

ร้อยละ 86.70 คิดว่า ความเหลื่อมล้ำ ความไม่เท่าเทียมจะเพิ่มขึ้น

ร้อยละ 78.25 ไม่มั่นใจว่าการบริหารงบประมาณแผ่นดินจะโปร่งใสและมีประสิทธิภาพ

ร้อยละ 78.00 ไม่มั่นใจในกระบวนการยุติธรรมและการใช้อำนาจรัฐ

รศ.ดร.สามชาย ศรีสันต์ หนึ่งในทีมวิเคราะห์ผลสำรวจสรุปว่าภาพรวมที่เห็นชัดสุดคือ นิสิตนักศึกษามีความวิตกกังวลต่อรัฐธรรมนูญที่บิดเบือนเจตนารมณ์ประชาชน ทั้งการทำหน้าที่ของกกต. วิธีการคำนวณคะแนนที่นั่งของส.. ที่มาของนายกรัฐมนตรี และ ส..แต่งตั้งกลายเป็นตัวแปรชี้ขาดการเลือกนายกรัฐมนตรี

อีกทั้ง ลักษณะของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ในสายตาของนักศึกษาคือ ไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นว่าจะปราบโกงได้จริง ขณะเดียวกันยังน่ากังวลต่อการคอร์รัปชั่นในอนาคตด้วย

คงมีแต่บางฝ่ายเท่านั้นที่หวงแหนรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เพราะดีไซน์มาเพื่อพวกตัวเอง และรองรับการสืบทอดอำนาจ

เภรี กุลาธรรม

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน