คอลัมน์ เจ๊าะแจ๊ะวิทยาศาสตร์

นีเมชา รันนิงเฮ และ อัลเลน อี้-หลวน จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ประเทศสิงคโปร์ เปิดเผยโครงการวิจัยอุปกรณ์สร้างรสชาติเสมือน เมื่อใช้ลิ้นสัมผัสเบาๆ ไปยังอุปกรณ์ที่ติดตั้งเข้ากับแบตเตอรี่ขนาด 9 โวลต์ อุณหภูมิของแผงวงจรจะปรับลดลง 5 องศาเซลเซียสในช่วงเวลาไม่กี่วินาที ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวกระตุ้นให้เกิดการรับรู้รสหวานทั้งที่ไม่มีน้ำตาล น้ำเชื่อม หรือสารให้ความหวานทาเคลือบอยู่บนอุปกรณ์สร้างรสชาติเสมือน

ขณะที่ผลทดสอบจากคนทั่วไป 15 คน ปรากฏว่ามีแค่ 8 คนที่ได้รับรสหวานอ่อนๆ หลังใช้ลิ้นแตะกับอุปกรณ์ ซึ่งทีมวิจัยระบุว่ายังต้องพัฒนาต่อไป
2
ทั้งนี้ การจำลองรสชาติถือเป็นความท้าทายที่ยากจะพัฒนาให้สำเร็จได้ เนื่องจากมีความซับซ้อนของการรับรู้รสผ่านการ ใช้ลิ้นและดมกลิ่น โดยเมื่อต้นปีที่ผ่านมาทีมนักวิทยาศาสตร์ในญี่ปุ่น พัฒนาส้อมที่ใช้การชอร์ตของไฟฟ้าแรงดันต่ำเลียนแบบการรับรสเค็ม หากแต่ละโครงการวิจัยสามารถพัฒนาจนนำมาใช้ได้ จะช่วยแก้พฤติกรรมบริโภคอาหารหวานจัดและ เค็มจัด รวมถึงยับยั้งวิกฤตโรคร้ายแรงในอนาคตได้ด้วย

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน