เมื่อวันที่ 14 ก.ย. ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ. ปิยะสกล สกลสัตยาทร กล่าวถึงห้องปฏิบัติการพิษวิทยาตรวจวิเคราะห์สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช รองรับการตรวจพบสารเคมีในผักผลไม้ที่ส่งออก ในฐานะที่ประเทศเราเพาะปลูกพืชอาหารหลายชนิด แต่ที่ผ่านมาพบปัญหาเรื่องการส่งออก การมีห้องนี้ปฏิบัติการดังกล่าวจึงถือเป็นนิมิตหมายใหม่ของ สธ.

2016091
ที่ห้องปฏิบัติการแห่งนี้ตรวจสารพิษผักและผลไม้ได้กว่า 500 ชนิด ก่อนการส่งออกไปต่างประเทศ ป้องกันการถูกตีกลับ และไม่เพียงแต่ใช้ในการส่งออกเท่านั้น แต่เป็นการคุ้มครองประชาชนในประเทศให้มีผัก ผลไม้ที่ปลอดภัยไว้บริโภคเช่นเดียวกัน เป็นการกำจัดคำกล่าวที่ว่า “คนปลูกไม่กล้ากิน” ออกไปจากประเทศ เชื่อว่าพืชผักที่ได้รับรองวิทยาศาสตร์การแพทย์ จะเป็นเครื่องมือความปลอดภัยของผัก ผลไม้ ซึ่งจะสามารถทำให้เศรษฐกิจของประเทศเดินหน้าต่อไปได้

201609141825065-20151218170201
ด้าน นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า สืบเนื่องจากกรมอุตสาหกรรมมีการตรวจผักผลไม้ในทุก 6 เดือนพบว่ามีการตรวจพบยาฆ่าแมลงเป็นจำนวนมาก ทำให้คนไทยไม่กล้ากินผักผลไม้ ซึ่งยังส่งผลให้อียูรายงานประชาชนว่าผัก ผลไม้ที่มาจากไทยส่วนมากไม่ปลอดภัย นอกจากนี้ที่ผ่านมาการตรวจสอบสารพิษในประเทศไทยจะต้องส่งออกไปตรวจในต่างประเทศ อาทิ สิงคโปร์ ออสเตรเลีย และอังกฤษ ใช้เงินในการตรวจแต่ละครั้ง 100,000 บาท

ด้วยเหตุนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จึงสร้างห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจสารพิษให้ครอบคลุมการวิเคราะห์สารพิษ สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชได้ไม่น้อยกว่า 500 ชนิดใน 10 กลุ่ม ใช้งบครั้งละ 40,000 บาท ทั้งนี้หากตรวจน้อยกว่า 500 ชนิด ค่าใช้จ่ายในการตรวจก็จะน้อยลงไปด้วย

201609141825053-20151218170201
สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในห้องปฎิบัติการนี้ส่งตรงจากสหรัฐอเมริกา และมีระบบดำเนินการจากประเทศเยอรมนี ใช้งบประมาณในการดำเนินการ 50 ล้านบาท
“ผักผลไม้ที่มีปัญหาในการส่งออกของไทย พบ 5 อันดับแรกคือ ผักคะน้า ถั่วฝักยาว ใบกะเพรา ผักชี และ โหระพา ซึ่งที่ผ่านมาไทยมีศักยภาพในการตรวจสอบสารพิษในผักผลไม้ ได้เพียง 200 ชนิด จึงเกิดปัญหาในการส่งออกทุกครั้ง แม้ว่าเราจะมองว่าดีแล้ว แต่เมื่อไปถึงอียูที่สามารถตรวจได้ถึง 500 ชนิด ดังนั้นทางอียูจึงขอให้ไทยหยุดการส่งออกผักผลไม้ที่พบว่ามีสารพิษออกไปก่อน หากยังพบว่ามีการส่งออกจะสั่งห้ามให้ประเทศไทยส่งออกอย่างเด็ดขาด
ดังนั้นการที่มีห้องปฏิบัติการประชาชนหรือผู้ประกอบการสามารถส่งผัก ผลไม้ เข้ามาตรวจได้จะได้รับการรับรองจากกรมการแพทย์ว่าผ่านการรับรอง แต่ยังไม่สามารถให้ผ่านการรับรองมาตฐานสากลได้ เพราะอียูขอเวลาตรวจสอบอีก 6 เดือน จึงจะให้ใบรับรองเราได้

“ขณะนี้เริ่มตรวจจากผักที่มีปัญหามากที่สุด คือ ผักคะน้าก่อน ในอนาคตจะมีการพัฒนาเพื่อตรวจสอบผักชนิดอื่นๆต่อไป” อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กล่าว

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน