คอลัมน์ เจ๊าะแจ๊ะวิทยาศาสตร์

ฮาวาร์ด มิเอลเก ผู้เชี่ยวชาญด้านพิษวิทยาจากมหาวิทยาลัยทูเลน สหรัฐอเมริกา เปรียบเทียบปริมาณสารตะกั่วจากควันรถยนต์ ตั้งแต่ปี 2493-2528 กับพฤติกรรมของเด็กๆ ซึ่งเกิดช่วงเวลาดังกล่าว อีก 22 ปีต่อมา

พบว่า ร้อยละ 50 ของเด็กๆ ในย่านแออัดตามเมืองใหญ่ เมื่อโตขึ้นมีนิสัยก้าวร้าว ขี้โมโห และหงุดหงิดง่ายกว่าเด็กที่เติบโตในชนบท เพราะสารตะกั่วที่ลอยปลิวลมออกมาพร้อมกับควันเสียรถยนต์ รสบัส และมอเตอร์ ไซค์

ทำให้การทำงานของต่อมหมวกไตผิดปกติ ฮอร์โมนอะดรีนา ลินอิพิเนฟ ฟริน และนอร์อิพิ เนฟฟริน ซึ่งมีหน้าที่เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด อัตราการเต้นของหัวใจและการบีบตัวของหลอดเลือดจึงบกพร่อง

ส่งผลให้เด็กๆ มีอาการเครียด ซึมเศร้าและวิตกกังวล จนกลายเป็นคนอารมณ์ร้าย แถมสารตะกั่วยังสะสมทำอันตรายแก่ร่างกายได้นานหลายปี โชคดีที่ประเทศไทยเลิกใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีตะกั่วแล้ว

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน