บีบีซีรายงานวันที่ 8 ธ.ค. ว่า ยานอวกาศแคสซินีขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (นาซ่า) ได้ส่งภาพถ่ายชุดแรกในวงโคจรใหม่รอบดาวเสาร์กลับมายังโลก เผยให้เห็นพายุประหลาด รูปทรงหกเหลี่ยมบริเวณซีกเหนือของดาวเสาร์

ภาพดังกล่าวบันทึกโดยกล้องมุมกว้างเมื่อวันที่ 2 ธ.ค. ขณะยานแคสซินีโคจรห่างจากดาวเสาร์ 640,000 ก.ม. มองผ่านฟิลเตอร์ที่แตกต่างกัน 4 อัน แต่ละอันจะไวต่อความยาวคลื่นของแสง และแสดงให้เห็นเมฆหมอกที่ระดับความสูงต่างกัน

This image obtained from NASA shows part of the giant, hexagon-shaped jet stream around Saturn from the Cassini spacecraft about 36 hours before the spacecraft's close pass by the outer edges of Saturn's main rings. The image was taken with the Cassini spacecraft wide-angle camera on Dec. 3, 2016, at a distance of about 240,000 miles (390,000 kilometers) from Saturn. / AFP PHOTO / NASA/JPL-CALTECH / HO / RESTRICTED TO EDITORIAL USE - MANDATORY CREDIT "AFP PHOTO / NASA/JPL-Caltech/Space Science Institute" - NO MARKETING NO ADVERTISING CAMPAIGNS - DISTRIBUTED AS A SERVICE TO CLIENTS

This image obtained from NASA shows part of the giant, hexagon-shaped jet stream around Saturn from the Cassini spacecraft about 36 hours before the spacecraft’s close pass by the outer edges of Saturn’s main rings.

นาซ่าระบุว่า จะมีภาพถ่ายส่งมาอีกในอนาคต รวมทั้งภาพวงแหวนนอกและพระจันทร์ดวงเล็กที่โคจรรอบๆ ในระยะใกล้ที่สุดเท่าที่เคยมีมา ระหว่างภารกิจในเฟสสุดท้ายระยะเวลา 9 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปีนี้

saturn-rings_cham

“นี่เป็นการเริ่มต้นในช่วงท้ายของการสำรวจดาวเสาร์ครั้งประวัติศาสตร์ของเราแล้ว ขอให้ภาพเหล่านี้ และภาพอื่นที่จะตามมาบอกคุณว่า เราอยู่ในการผจญภัยที่มุ่งมั่นและน่าปลาบปลื้มรอบดาวเคราะห์ที่มหัศจรรย์ที่สุดในระบบสุริยะ” ดร.แคโรลีน ปอร์โก หัวหน้าทีมงานถ่ายภาพของยานแคสซินีกล่าว

ยานแคสซินีปฏิบัติภารกิจมานาน 12 ปีแล้ว และในเดือนเมษายนปีหน้าจะเข้าสู่ช่วงโค้งสุดท้าย ตอนนั้นยานจะปรับทิศทางโคจรตามแนวขั้วและพุ่งถากวงแหวน 20 ครั้ง แล้วจะตีวงให้แคบอีกเพื่อฝ่าแทรกเข้าไประหว่างดาวเสาร์กับวงแหวนชั้นในอีก 22 ครั้ง ระยะช่องห่าง 2,400 ก.ม. เพื่อศึกษาวงแหวนและบรรยากาศในระยะใกล้ ซึ่งเป็นงานที่เสี่ยงอันตรายมาก

จากนั้นในวันที่ 15 ก.ย.2560 ยานจะเข้าสู่ชั้นบรรยากาศดาวเสาร์ และจะปิดฉากด้วยการทำลายตัวเองในชั้นบรรยากาศ เมื่อเชื้อเพลิงหมดลง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน