ดร.ชเว ซอกฮุน จากมหาวิทยา ลัยรัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เปิดเผยความสำเร็จในการพัฒนาแบตเตอรี่เซลล์แบคทีเรีย หรืออีโซอิเล็กโทรเจนส์ ที่ย่อยสลายทางชีวภาพ ด้วยการนำเซลล์แบคทีเรียไปผ่านกระบวนการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง

จากนั้นวางบนแผ่นกระดาษ ซ้อนทับด้วยแผ่นโลหะ และวัสดุนำไฟฟ้า เวลาใช้งานเพียงใช้น้ำ หรือน้ำลายเพียงเล็กน้อยเพื่อกระตุ้นให้แบคทีเรียตื่นตัวกลับมามีชีวิตหลังจากอยู่ในภาวะชะงักการเจริญเติบโตชั่วคราว

เมื่อเซลล์แบคทีเรียเคลื่อนตัวและสัมผัสกับอิเล็กโทรด หรือขั้วไฟฟ้าของอุปกรณ์ ก็จะก่อให้เกิดอิเล็กตรอนขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งมากพอที่จะใช้กับเครื่องคิดเลข และไดโอดเปล่งแสงหรือแอลอีดี รวมถึงอุปกรณ์ไฟฟ้าแบบเคลื่อนที่ขนาดเล็ก

ทั้งนี้ ทีมวิจัยหวังว่าจะพัฒนาต่อยอดอุปกรณ์สร้างกระแสไฟฟ้าจากแบคทีเรีย ให้สามารถนำไปใช้เป็นแหล่งพลังงานสำหรับอุปกรณ์ทางการแพทย์ขนาดเล็ก

อาทิ อุปกรณ์ตรวจเชื้อเอชไอวี และเซ็นเซอร์ตรวจระดับกลูโคส เมื่อต้องใช้งานในพื้นที่ชนบทของประเทศยากจนที่ไม่มีไฟฟ้าเข้าถึง และอาจพัฒนาเป็นแหล่งพลังงานไฟฟ้าทดแทนเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันในอนาคตได้ด้วย

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน