คอลัมน์ เจ๊าะแจ๊ะวิทยาศาสตร์

จิมมี่ โบราห์ ผู้อำนวยการโครงการอนุรักษ์สัตว์ป่า องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (ดับเบิลยูดับเบิลยูเอฟ) รายงานสิ่งมหัศจรรย์ใหม่แห่งลุ่มน้ำโขง ซึ่งนักวิทยา ศาสตร์ค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ 163 ชนิดในพื้นป่าของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งประกอบด้วยประเทศกัมพูชา พม่า ลาว เวียดนาม และไทย เมื่อปี 2558 แบ่งเป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 9 ชนิด ปลา 11 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 14 ชนิด พืช 126 ชนิด และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอีก 3 ชนิด

อาทิ “อึ่งเล็ก” (Leptolalax isos) ที่มีขนาดลำตัว 3 เซนติเมตร พบได้ในกัมพูชาและเวียดนาม อีกตัวที่ถือเป็นสีสันของการค้นพบล่าสุด คือ “งูหัวสีสายรุ้งเหลือบเงิน” (Parafimbrios) พบได้ตามผาสูงชันทางตอนเหนือของลาว และ “กระท่าง” (Tylototriton anguliceps) หน้าตาคล้ายจิ้งจก มีผิวหนังนูนเป็นตุ่มสีเหลืองซึ่งเรียงเป็นเส้นขนานกับลายนูนกระดูกสันหลังจนถึงโคนหาง แม้รูปลักษณ์ภายนอกจะคล้ายสัตว์เลื้อยคลาน

แต่กระท่างเป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก อาศัยอยู่ในป่าดิบเขาบนดอยสูงระดับ 1,200-2,000 เมตร และพบได้ในภาคเหนือ รวมถึงจังหวัดเชียงรายของไทย

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน