คอลัมน์ เจ๊าะแจ๊ะวิทยาศาสตร์

โรเบิร์ต โพลมิน ศาสตราจารย์จากวิทยาลัยคิงส์คอลเลจ ประเทศอังกฤษ เปรียบเทียบพฤติกรรมการท่องโลกอินเตอร์เน็ต ทั้งการค้นหาข้อมูลข่าว สาร เล่นเกมออนไลน์ หรือติดต่อสื่อสารกับเพื่อนดิจิตอลผ่าน โซเชี่ยลเน็ตเวิร์ก ทั้งเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และอินสตาแกรม ของผู้ร่วมวิจัยวัย 16 ปี แบ่งเป็นฝาแฝดแท้ 4,250 คู่ และฝาแฝดเทียมอีก 4,250 คู่

พบว่า หน่วยพันธุกรรม หรือยีน มีผลต่อพฤติกรรมการเสพติดอินเตอร์เน็ตมากพอๆ กับปัจจัยแวดล้อมรอบตัว โดยเฉพาะการเข้าถึงอุปกรณ์แก๊ดเจ็ต เช่น คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และสมาร์ตโฟน รวมทั้งค่านิยมของกลุ่มสังคม

นักวิจัยระบุอีกว่า ยีนมีส่วนต่อการเสพติดการใช้อินเตอร์เน็ตมากถึงร้อยละ 39 ขณะที่ระยะเวลาในการใช้โซเชี่ยลเน็ตเวิร์กนั้นมีผลมาจากยีนกว่าร้อยละ 24 ส่วนเวลาที่ใช้กับสื่อเพื่อความบันเทิง

เช่น ภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ และฟังเพลง คิดเป็นร้อยละ 34 และชั่วโมงที่ใช้เล่นเกมออนไลน์มาจากยีนสูงถึงร้อยละ 39

อย่างไรก็ตาม แม้พันธุกรรมจะมีผลต่อการใช้อินเตอร์เน็ต แต่เป็นเพียงปัจจัยส่วนหนึ่งเท่านั้น หากรู้จักแบ่งเวลาและให้ความสำคัญกับการมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งหน้า ต่อให้มียีนเสี่ยงก็สามารถจัดสรรและหลีกเลี่ยงภัยร้าย ที่อาจตามมาจากการเสพติดเทคโนโลยีได้

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน