ยาน‘ออพพอร์ทูนิตี’บนดาวแดง-ปิดฉากภารกิจ15ปีให้จดจำ

ยาน‘ออพพอร์ทูนิตี’บนดาวแดง-ปิดฉากภารกิจ15ปีให้จดจำ – การสำรวจดาวอังคาร ดาวเพื่อนบ้านของดาวเคราะห์โลก เป็นที่จับตามองว่าอาจเป็นดาวดวงต่อไปที่มนุษย์จะเรียนรู้ หรือแม้แต่ไปตั้งฐานได้ในอนาคตนั้นมาถึงจุดเปลี่ยนผ่านอีกจุดหนึ่ง หลังยานออพพอร์ทูนิตี มาร์ส ยานสำรวจ ที่ทำภารกิจมายาวนานที่สุดของมนุษย์บนดาวดวงดังกล่าวถูกคาดว่าปิดการทำงานลงไปแล้วอย่างถาวร

ยาน‘ออพพอร์ทูนิตี’

ยาน‘ออพพอร์ทูนิตี’

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของ สหรัฐอเมริกา หรือ นาซ่า ส่งคำสั่งเปิดการทำงานไปยังยานสำรวจ ออพพอร์ทูนิตี มาร์ส บนดาวอังคารเป็นครั้งสุดท้าย หลังยานดังกล่าวเผชิญกับพายุฝุ่นบนดาวอังคารและขาดการติดต่อไปนานหลายเดือน

นาซ่าระบุว่า ศูนย์ปฏิบัติการขาดการติดต่อกับยานสำรวจแบบ ล้อหมุน (โรเวอร์) ออพพอร์ทูนิตี มาร์ส (Opportunity Mars) ไปนานกว่า 8 เดือนแล้ว หลังเกิดพายุฝุ่นขึ้นทั่วดาวอังคาร ส่งผลให้แสงอาทิตย์ส่องลงมาไม่ถึงพื้นผิว และแผงเซลล์สุริยะของยานไม่สามารถรับพลังงานใหม่ได้ ขณะที่แบตเตอรี่สำรองก็หมดไปแล้วเช่นกัน

ตั้งแต่พายุฝุ่นบนดาวอังคารเริ่มสงบลง ทางนาซ่าพยายามติดต่อไปยังยานแต่ไม่มีสัญญาณการตอบรับ ขณะที่คำสั่งเปิดการทำงานข้างต้นนั้นถูกส่งไปแล้วกว่า 1,000 ครั้ง ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา ทำให้ ผู้เชี่ยวชาญหลายฝ่ายของนาซ่าคาดว่า ออพพอร์ทูนิตี มาร์ส น่าจะหลับใหลไปแล้วอย่างไม่มีวันตื่น

จึงปิดฉากการทำงานของยานด้วยคำชื่นชมและปลาบปลื้มกับภารกิจเพื่อมวลมนุษยชาติมายาวนานกว่า 15 ปี

ยาน‘ออพพอร์ทูนิตี’

Perseverance Valley บันทึกเมื่อ พ.ค.2550

ออพพอร์ทูนิตี มาร์ส ถือเป็นยานสำรวจดาวอังคารของมนุษย์ ที่ดำเนินภารกิจยาวนานที่สุดเป็นอับดับสองด้วยสถิติเดินทาง บนพื้นผิวดาวแดงถึง 40 กิโลเมตร ตลอดเวลา 15 ปี

ส่วนอันดับหนึ่งเป็นยานสำรวจแบบล้อหมุนหกล้อ เอนดิวแรนซ์ (Endurance) ทำสถิติเดินทาง 45 ก.ม. แต่หยุดทำงานไปนานแล้ว

ขณะที่ยานสำรวจ สปิริต (Spirit) ซึ่งเป็นยานฝาแฝดของออพพอร์ทูนิตี มาร์ส ทางนาซ่าประกาศว่าหยุดทำงานไปแล้วตั้งแต่ปี 2554 หลังยานสปิริตวิ่งไปติดหล่มทรายและขาดการติดต่อกับทางศูนย์ปฏิบัติการ

อย่างไรก็ตาม ทั้งยานสปิริต และออพพอร์ทูนิตี มาร์ส ต่างดำเนินภารกิจมาได้ยาวนานเกินกว่าที่นาซ่าออกแบบไว้แต่แรก

ออพพอร์ทูนิตี มาร์ส ได้รับการออกแบบมาให้ทำงานเพียง 3 เดือน เพื่อศึกษาสภาพทางธรณีวิทยาบนดาวอังคารหลังทะยานออกจากพื้นโลกในปี 2546 และร่อนลงจอดบนดาวแดงเมื่อเดือนม.ค. 2547

จอห์น คอลลาส ผู้บริหารภารกิจ ออพพอร์ทูนิตี มาร์ส ของนาซ่า กล่การกล่าว อำลาออพพอร์ทูนิตี มาร์ส นั้นไม่ได้ง่ายไปกว่าการอำลายานสปิริตเลยาวว่า

“มันเหมือนกับบุคคล ที่รักของคุณสูญหายไป แล้วคุณก็ยังตั้งความหวังว่าเขายังปลอดภัยและจะต้องกลับมา แต่เมื่อเวลาผ่านไปเป็นแรมเดือน คุณมาถึงจุดที่ต้องทำใจยอมรับว่าพอแล้วล่ะ ปล่อยวางเถอะ” คอลลาสกล่าว

ยาน‘ออพพอร์ทูนิตี’

ทีมสร้างยาน‘ออพพอร์ทูนิตี’

อบิเกล เฟรแมน รองผู้บริหารภารกิจเดียวกันกล่าวสมทบว่า เมื่อครั้งยานออพพอร์ทูนิตี มาร์ส ร่อนลงจอดบนดาวอังคาร ตนยังเป็นเพียงนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย แล้ว ก็เฝ้าดูภารกิจดังกล่าวผ่านห้องปฏิบัติการที่ตนเดินทางมาในฐานะนักเรียน ฝึกงาน กระทั่งจบการศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ และเข้าทำงานกับนาซ่า ประจำอยู่ ที่ห้องปฏิบัติการพลังขับเคลื่อนไอพ่น และมารับตำแหน่งปัจจุบัน

“จะเห็นได้ว่าภารกิจออพพอร์ทูนิตี มาร์ส นั้นยาวนานมาก ยานสำรวจลำนี้ เป็นเหมือนเรือธงในการสำรวจดาวอังคารของมนุษย์ เป็นสิ่งที่สุดยอดมากๆ ทั้งยานสำรวจเอง และคณะทำงานที่อยู่เบื้องหลังทั้งหมดของโครงการ ออพพอร์ทูนิตี มาร์ส” เฟรแมนกล่าว

อย่างไรก็ตาม การยุติโครงการสำรวจ ดังกล่าวไม่ได้หมายความว่าภารกิจสำรวจดาวแดงของมนุษยชาติจะจบสิ้นลง ตรงกันข้าม ออพพอร์ทูนิตี มาร์ส ได้สร้างคุณูปการให้โครงการสำรวจอื่นๆ ที่ตามมาหลายภารกิจ

อย่างยานสำรวจน้องใหม่ที่ได้รับการ ติดตั้งเทคโนโลยีล่าสุดอย่าง คิวริออสซิตี (Curiosity) และ อินไซต์ (Insight) ซึ่งออกแบบมาให้ต้านทานกับสภาพอากาศสุดทรหดบนดาวอังคาร และใช้พลังงานจากเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์

สตีฟ สไควเรส นักวิทยาศาสตร์จาก มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์มองว่า จุดจบของ ทั้งยานออพพอร์ทูนิตี และสปิริตนั้นถือว่าเป็นการจบอย่างมีเกียรติ คุณูปการที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของยานทั้งสองลำคือ การ เปิดเผยให้นักวิทยาศาสตร์พบว่าดาวอังคารนั้นเคยมีน้ำอยู่จริงๆ

เรื่องนี้นายคอลลาสกล่าวเสริมว่า จุดจบของยานสำรวจเหล่านี้ถือเป็นการเปิดศักราชใหม่ของการสำรวจดาวอังคารด้วย ยานลำใหม่ เทคโนโลยีที่ทันสมัยยิ่งขึ้น

ออพพอร์ทูนิตี ทำให้มนุษย์เราได้รู้จักจักรวาลของเราดีขึ้น และทำให้ดาวอังคารกลายเป็นดาวเพื่อนบ้านของดาวเคราะห์โลกไปแล้ว

ภาพชุดจากนาซ่า / เอพี

…อ่านข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้ที่…

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน