พิราบตรวจอากาศ

เจ๊าะแจ๊ะวิทยาศาสตร์

พิราบตรวจอากาศ ริก โธมัส นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษ เปิดเผย ความคืบหน้าของโครงการลดภาวะโลกร้อนและสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ผ่านการเก็บข้อมูลโดยใช้อุปกรณ์ติดตั้งระบบเซ็นเซอร์ ตรวจจับปัจจัยทางสภาพอากาศในพื้นที่ ต่างๆ ทั่วประเทศ

พิราบตรวจอากาศ

กับความพิเศษสุดของ การผสมผสานเทคโนโลยีและวิถีดั้งเดิม ของนกพิราบสื่อสารซึ่งรับหน้าที่เป็น ผู้ช่วยตรวจสภาพอากาศ ภายหลังทางการอังกฤษคุมเข้มการใช้โดรนเพื่อไม่ให้เกิดกรณีป่วนเช่นเดียวกับเหตุโดรนบินใกล้สนามบินแกตวิก เมื่อปลายปี 2561

หลังจากนั้นมา กลุ่มผู้เลี้ยงนกพิราบ ท้องถิ่นตอบรับร่วมโครงการ เจ้าหน้าที่จะสวมอุปกรณ์เซ็นเซอร์ในรูปแบบกระเป๋าเป้สะพายขนาดเล็กบนหลังนกพิราบ โดยอุปกรณ์ดังกล่าวมีน้ำหนักเบาไม่ถึงร้อยละ 3 ของน้ำหนัก จึงไม่ทำให้เจ้าหน้าที่นกบาดเจ็บ หรือรู้สึกไม่สบายตัว

เมื่อพร้อมปฏิบัติงาน ทีมวิจัยจะส่ง เจ้าหน้าที่นกกระจายไปตามจุดต่างๆ ที่กำหนดไว้ และแน่นอนว่าด้วยทักษะนกพิราบสื่อสาร พอถึงจุดหมายและทำหน้าที่แล้ว เหล่านกพิราบจะบินกลับไปยังจุดเริ่มต้น และทีมวิจัยจะโหลดข้อมูลที่ได้รับ ทั้งอุณหภูมิ ความชื้น ความผันผวนของอุณหภูมิ กระแสลม

และปัจจัยสำคัญในการตรวจวัดอุณหภูมิอีกสารพัดอย่าง ก่อนนำไปรวบรวมเป็นฐานข้อมูล ประเมินความเสี่ยง และแก้ไขปัญหา

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน