คอลัมน์ เจ๊าะแจ๊ะวิทยาศาสตร์

ศาสตราจารย์ เอเดรียน เรน จากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา ร่วมศึกษาพฤติกรรมการนอนของเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และแนวโน้มการก่ออาชญากรรมในอนาคต

โดยสอบถามระยะเวลานอนหลับในแต่ละวัน ประกอบกับการให้คะแนนความตื่นตัวระหว่างเรียนคาบบ่าย เวลา 13.00-15.00 น. โดยคะแนน 1 คือ รู้สึกกระฉับกระเฉง ไล่ระดับลงไปที่ 7 คือ ง่วงนอน จากนั้นนำไปเปรียบเทียบกับประวัติอาชญา กรรมของเด็กแต่ละคนเมื่ออายุ 29 ปี

ปรากฏว่าคนที่เคยมีบันทึกข้อมูลว่ามักจะง่วงนอนเวลาเรียนตอนเด็กๆ มากกว่าร้อยละ 17 ถูกจับฐานทำร้ายร่างกาย หรือลักทรัพย์ ผู้เชี่ยวชาญอธิบายว่าการนอนน้อยส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมองโดยตรง โดยเฉพาะกลุ่มที่นอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน เพราะความเหนื่อยล้าทำให้ขาดสมาธิ

เมื่อไม่สนใจเรียนก็ไม่เข้าใจ และทำข้อสอบไม่ได้ พอเกรดตกก็พลาดโอกาสเรียนต่อระดับสูงๆ กระทบไปถึงการประกอบอาชีพ และความสำเร็จในชีวิตนั่นเอง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน