สามประสานที่ไต้หวัน ส่ง‘พลังงานบริสุทธิ์’สู่ไทย

สามประสานที่ไต้หวัน – งานแถลงข่าวจับมือของ EA Anywhere ของ บริษัทพลังงานมหานคร และ 4 พันธมิตรยักษ์ใหญ่ ได้แก่ บริษัท เชฟรอน (ไทย) จำกัด บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) บริษัท บริดจสโตน เอ.ซี.ที. (ประเทศไทย) และ บริษัท โรบินสัน จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 8 ก.ค.2562 เพื่อผุดสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าทั่วไทย 1,000 สถานีภายในปีนี้ ไม่เพียงเป็นวาระทางธุรกิจที่น่าตื่นเต้น

สามประสานที่ไต้หวัน

งาน “Charging The Future Synergy by EA Anywhere” ยังบ่งบอกถึงเทรนด์ของสังคมไทยว่าเข้าสู่ยุคยานยนต์สมัยใหม่

กล่าวคือ ทุกกิจการคำนึงถึงการรักษาสภาพแวดล้อมมาเป็นอันดับต้น เอื้ออำนวยด้วยเทคโนโลยีการชาร์จมาถึงจุดลงตัวด้วยล้ำสมัย ไม่กินเวลานาน สะดวกสบายเมื่อจะหาสถานีที่กระจายอย่างทั่วถึง และปลอดภัยต่อพาหนะที่ขับขี่

สามประสานที่ไต้หวัน

สมโภชน์ อาหุนัย – อมร ทรัพย์ทวีกุล คู่หูดูโอผู้บริหารอีเอ

อมร ทรัพย์ทวีกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ อีเอ (EA) บริษัทแม่ของพลังงานมหานคร กล่าวว่า การติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าในพื้นที่การให้บริการและการดำเนินธุรกิจของพันธมิตรในครั้งนี้ทั่วประเทศ เพื่อรองรับยานยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) และ ยานยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ (BEV) จึงเชื่อมั่นว่า เป้าหมายการเปิดให้บริการทั้งสิ้น 1,000 สถานี จะบรรลุได้ภายในปีนี้

ภายใต้เครื่องหมายการค้า EA Anywhere และโมบายล์ แอพพลิเคชั่น รองรับการใช้งาน

“เรามีความพร้อมสูงที่สุดด้วยการร่วมมือกับพันธมิตรทั้งสี่รายของเรา นำสังคมไทยก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของการเดินทางด้วยยานยนต์สมัยใหม่ที่มั่นใจยิ่งขึ้น” นายอมรกล่าว พร้อมเผยว่า บริษัทเริ่มต้นสร้าง EA Anywhere มาตั้งแต่ปี 2560 จากแนวคิดที่จะนำสังคมไทยเข้าสู่ยุคแห่งการเดินทางด้วยยานยนต์สมัยใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ มีความปลอดภัย สะดวกสบาย ประหยัด และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

สามประสานที่ไต้หวัน

งานแถลงข่าว 5 พันธมิตรใหญ่จับมือผุดสถานีชาร์จไฟฟ้า

สอดคล้องกับการเปิดตัวยานยนต์ไฟฟ้า PHEV และ BEV เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและแพร่หลายในทุกๆ แห่งทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย

สามประสานที่ไต้หวัน

“การมีสถานีชาร์จที่เพียงพอและมีคุณภาพ ทันสมัย เป็นเครือข่าย จึงเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่ต้องมี ผู้ใช้รถจึงมั่นใจและกล้าที่จะใช้รถยนต์ไฟฟ้า ดังนั้น เราจึงได้ร่วมมือกับพันธมิตรทั้งภาครัฐ และเอกชนที่มีวิสัยทัศน์และแนวคิดคล้ายๆ กัน มาสร้างสถานีอัดประจุไฟฟ้าที่ทันสมัย ติดตั้งในพื้นที่ที่มีความหลากหลาย รองรับรูปแบบการใช้ชีวิตที่มีความหลากหลายมากขึ้น ผู้ใช้เข้ารับบริการได้ตามไลฟ์สไตล์ของตัวเองอย่างครบวงจร อาทิ สถานีบริการน้ำมัน ศูนย์บริการด้านยานยนต์ ร้านสะดวกซื้อ ศูนย์การค้า และร้านอาหารต่างๆ เป็นต้น” รองซีอีโออีเอกล่าว

การผงาดขึ้นมาของอีเอ จนยืนแถวเดียวกับบริษัทยักษ์ใหญ่ ทั้งสี่ในงานนี้ เป็นเรื่องที่น่าสนใจไม่น้อย โดยเฉพาะเมื่อมองว่าอีเอเพิ่งแจ้งเกิดเมื่อปี 2549 ในนามบริษัท ซันเทคปาล์มออยล์ จำกัด จากนั้นอีกสองปี แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด และเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) เพิ่มทุนจดทะเบียนเพื่อขยายธุรกิจใหญ่โตมาอย่างต่อเนื่อง

สามประสานที่ไต้หวัน

สถานีชาร์จอีเอ เอนีแวร์ จะติดตั้ง 1,000 จุดทั่วประเทศ

ปัจจุบันอีเอมีธุรกิจหลักๆ 5 ธุรกิจ 1.น้ำมันไบโอดีเซล (B100) กลีเซอรีนบริสุทธิ์และผลิตภัณฑ์พลอยได้ 2.กระแสไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน มุ่งเน้นพลังงานจากแสงอาทิตย์และลม

3.แบตเตอรี่ลิเทียมไอออน สำหรับอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าและยานยนต์ไฟฟ้า 4.สถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับ ยานยนต์ไฟฟ้า ภายใต้ชื่อ EA Anywhere

5.ยานยนต์ไฟฟ้าที่ออกแบบและพัฒนาโดยฝีมือคนไทย 100% เป็นรถยนต์ไฟฟ้า ภายใต้ชื่อ Mine Mobility และ เรือไฟฟ้า

“บริษัทอีเอของเราที่ย่อมาจากคำว่า Energy Absolute แทนที่จะเป็น Absolute Energy หรือชื่อบริษัทพลังงานบริสุทธิ์ เพราะเป็นเจตนาและความตั้งใจที่จะสื่อถึงความฝันของบริษัทว่า เราต้องการเป็นความบริสุทธิ์ที่มีพลัง” สมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด บรรยายถึงที่มาที่ไปโดยสรุปสั้นๆ ระหว่างพาคณะสื่อมวลชนดูกิจการของบริษัทและพันธมิตรช่วงปลายเดือนมิถุนายน ที่ไต้หวัน

ทำไมต้องเป็นที่ไต้หวัน ?

นั่นเพราะเป็นที่ที่อีเอพบรัก (ทางธุรกิจและเทคโนโลยี) กับบริษัทและองค์กรพันธมิตรที่ร่วมศึกษาวิจัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาสินค้าผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาด

หนึ่งคือ บริษัท AMITA Technologies Inc. ผู้ผลิตแบตเตอรี่ลิเทียม

และอีกหนึ่งคือ ITRI สถาบันวิจัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

บิ๊กบอสสมโภชน์พาคณะไปเยือนบริษัทและโรงงานอมิตา เทคโนโลยีส์ อิงค์ ที่เมืองเถาหยวน เป็นที่แรกก่อน

ด้านหน้าทางเข้าบริษัท ตั้งพระพุทธรูปพระอมิตาภพุทธะองค์ขนาดกลางไว้ บ่งบอกว่าถึงที่มาของชื่อบริษัทอมิตา ซึ่งมาจากคำว่า อมิตาภพุทธ

สามประสานที่ไต้หวัน

อลเดน ถู บรรยายกิจการอมิตา

เอลเดน ถู ผู้อำนวยการบอร์ดของอมิตา มาช่วยบรรยายที่มาที่ไปของบริษัท ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี 2543 โดย ดร.จิม เฉิง ผู้เชี่ยวชาญเรื่องแบตเตอรี่ และมุ่งพัฒนาแบตเตอรี่ประเภทลิเทียมไอออนโพลิเมอร์ จนดึงเอาจุดเด่นของลิเทียมมาเพิ่มศักยภาพระบบกักเก็บพลังงานได้เป็นอย่างดี โดยโรงงานของ อมิตาแห่งนี้ออกแบบเครื่องจักรที่ใช้ผลิตแบตเตอรี่เองอย่างครบวงจร

คุณสมโภชน์กล่าวเสริมว่า ตอนแรกลิเทียมไม่ได้เข้าตาอีเอเลย ด้วยเห็นว่าแพงมาก กระทั่งเมื่อลงไปศึกษาวิจัยอย่างจริงจังรอบด้านใช้เวลาอยู่ 2-3 ปีแล้ว จึงตกผลึกและได้บทสรุปว่า ลิเทียมดีจริงๆ เพราะทำให้การผลิตพลังงานหมุนเวียนมีเสถียรภาพมากขึ้น ใช้พื้นที่น้อยลง ติดตั้งได้ทั้งในบริเวณจุดผลิต ระบบสายส่งไฟฟ้า จุดจ่ายไฟฟ้า ตลอดจนผู้ใช้ไฟฟ้า เหมาะสำหรับการใช้ในระบบการผลิตไฟฟ้าแบบกระจายตัว ไม่รวมศูนย์ ลดการลงทุนในระบบสายส่งขนาดใหญ่ ลดการศูนย์เสียพลังงาน และมีความคล่องตัว

อีเอจึงกลับมายังอมิตา โดยลงทุนซื้อหุ้นของบริษัทอมิตาอย่างเป็นมิตรช่วงปลายปี 2559 หลังจากเห็นว่าอมิตามีความเชี่ยวชาญมาก แม้ยังไม่เก่งเรื่องการตลาด แต่จุดเด่นอีกด้านของอมิตาคือมีความสัมพันธ์อันดีมากกับ ITRI สถาบันวิจัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมไต้หวัน

ผลงานเด่นที่เป็นก้าวสำคัญ ได้แก่ STOBA ซึ่งได้รับรางวัลและการยอมรับระดับโลก

STOBA เป็นวัสดุโพลิเมอร์ระดับนาโน เติมลงในแบตเตอรี่ ลิเทียมเพื่อเป็นแผ่นฟิล์มนั้น ป้องกันการลัดวงจร เมื่อเกิดความร้อนขึ้นข้างในแบตเตอรี่ สโตบาจะปิดกั้นไอออนทั้งบวกและลบไม่ให้ สปาร์กกัน จึงปลอดภัยไม่เกิดการระเบิดขึ้น ทำให้แบตเตอรี่ลิเทียมไออนของอมิตา มีความปลอดภัยสูงมาก

เป็นตัวอย่างหนึ่งจากการจับมือประสานพลังสามฝ่ายที่ตัวด้วยประการทั้งปวง

ประติมากรรมไฮเทคที่สถาบัน ITRI

จากนั้นทีมงานไปต่อที่สำนักงาน ITRI (ออกเสียงอิ-ทรี แบบ ท นำควบกล้ำ) Industrial Technology Research Institute ที่เมืองซินจู๋

สามประสานที่ไต้หวัน

เจ้าหน้าที่ ITRI บรรยาย

อิทรีเทียบไปแล้วคล้ายกับหน่วยงาน สวทช. ในบ้านเรา แต่มีภารกิจและประสบการณ์ใกล้ชิดวงการอุตสาหกรรมเอกชนมากกว่า รวมทั้งได้เงินงบประมาณสนับสนุนต่างออกไป คือมาจากรัฐบาลและเอกชนในสัดส่วนเท่าๆ กัน 50 : 50

เป็นส่วนที่กระตุ้นให้ทีมวิศวกรอิทรี ต้องร่วมพัฒนาผลงานออกมาทยอยออกมาจดสิทธิบัตรได้อย่างสม่ำเสมอ

ที่ตั้งของอิทรีอยู่ท่ามกลางบรรยากาศ สีเขียว เต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่น้อยสื่อถึงการเป็นสถาบันด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมในทุกย่างก้าว

สามประสานที่ไต้หวัน

ภายในสถาบัน ITRI ร่มรื่นมาก

อิทรีมีพนักงาน 6,246 คน จบระดับด๊อกเตอร์ 1,434 คน ปริญญาโท 3,685 คน และปริญญาตรี 1,127 คน มีสำนักงานอยู่ทั่วเกาะไต้หวัน

เจ้าหน้าที่ของอิทรีพาชมผลงานและผลิตภัณฑ์เทคโนโลยี อันน่าตื่นตาตื่นใจหลายชิ้น กวาดรางวัลนานาชาติมาหลายตัวและต่อเนื่องหลายปีถึงปัจจุบัน แต่ละตัวผ่านการวางแผนและคำนวณตั้งแต่เริ่มต้นว่าปลายทางของผลิตภัณฑ์จะไปลงเอยอย่างไร จะรีไซเคิลอย่างไร และระหว่างเส้นทางการผลิตจะรักษาสภาพแวดล้อมทั้งน้ำ ฟ้า ดิน ได้อย่างไร

เช่น การรีไซเคิลจอแอลอีดีของโทรทัศน์ การผลิตโดรนที่ใช้พลังงานไฮบริด และการออกแบบตกแต่งภายในอาคารที่ใช้พลังงานจากธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้า

สามประสานที่ไต้หวัน

ตัวอย่างรีไซเคิลจอแอลซีดี

จากนั้นเป็นการบรรยายผลงานและแผนงานเทคโนโลยีและนวัตกรรมของอิทรี นำทีมโดย ดร.เฉิน เจ๋อหยง รองผู้อำนวยการ

นอกจาก STOBA ที่ได้รับรางวัลและการยอมรับระดับโลกแล้ว ยังมี SWAGO ระบบกักเก็บพลังงานและชาร์จอัตโนมัติ มีรูปแมวเหมียวนั่งตาแป๋วเป็นพรีเซ็นเตอร์ และมีสถานีชาร์จอี-สกู๊ตเตอร์หลังคาติดแผงโซลาร์เซลล์ให้ชมเป็นขวัญตา

สามประสานที่ไต้หวัน

พรีเซ็นเตอร์ SWAGO

ช่วงท้ายอิทรียังเผยโฉมโรงงานรูปทรงทันสมัยแปลกตาของ อีเอที่จะเปิดที่จังหวัดฉะเชิงเทรา (Blue Tech City) ในปีหน้า

เป็นอีกหนึ่งผลงานความร่วมมือพัฒนาธุรกิจด้านระบบกักเก็บพลังงาน ที่นำไปสู่การขยายกำลังการผลิตของโรงงานในไต้หวันไปสู่ไทย เพื่อสร้างฐานการผลิตที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน ด้วยขนาดกำลังการผลิต 50 กิกะวัตต์ ชั่วโมงต่อปีในไทย มูลค่าการลงทุนราว 100,000 ล้านบาท

สามประสานที่ไต้หวัน

เผยโฉมโรงงานของอีเอที่จะเปิดในไทยปีหน้า

แผนงานนี้จะทำให้อีเอก้าวขึ้นเป็นผู้นำในธุรกิจแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนของภูมิภาคอาเซียน

ซีอีโอสมโภชน์กล่าวว่า เลือกฉะเชิงเทรา ซึ่งใกล้กรุงเทพฯ เป็นที่ตั้งโรงงานอีเอ เพราะบุคลากรของอีเออยู่ในเขตลาดกระบัง เป็นสถานที่ที่มีทรัพยากรมนุษย์และการขนส่งวัตถุดิบที่นำเข้า

“เรามักชินที่ต้องพึ่งการลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งสมัย 30 ปีก่อนทำได้ เพราะประชากรตอนนั้นของเรายังเป็นวัยรุ่นกลุ่มใหญ่ ไม่ใช่เข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างตอนนี้ ผมเห็นว่าเราต้องลงทุนเองในไทยให้ได้ อีเอเกิดมาจากเงินสนับสนุนของรัฐ (subsidy) ตอนนี้เราโตแล้ว ผมจะเป็นบริษัทแรกที่แสดงให้เห็นว่า เมื่อเราเคยได้ subsidy จากรัฐ ถึงเวลาที่เราจะคืนให้ชาติ เราจะเป็นคะตะไลต์ และถ้าอีเอทำสำเร็จ นี่จะเป็นโมเดลทางธุรกิจ เราจะทำให้เกิดดีเอ็นเอนี้และเดินไปข้างหน้า” ซีอีโออีเอ กล่าวอย่างมุ่งมั่น

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน