เมื่อวันที่ 29 มี.ค.เดอะการ์เดียนรายงานการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ที่ตีพิมพ์ในนิตยสารบันทึกความทรงจำของสมาคมซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ที่มีกระดูกสันว่า ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ และมหาวิทยาลัยเจมส์ คุกร่วมกับชนพื้นเมือง พบรอยเท้าไดโนเสาร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกยาวราว 1.7 เมตร ทางตะวันตกของประเทศออสเตรเลีย

ร่องรอยที่พบขึ้นใหม่นี้เป็นส่วนหนึ่งของร่องรอยเท้าที่เก็บสะสมในสภาพสมบูรณ์ของไดโนเสาร์ 21 ชนิด เป็นการรวมรอยเท้าที่หลายหลายที่สุดในโลก จากกลุ่มไดโนเสาร์ใหญ่ 4 กลุ่ม จากที่เมื่อปีที่แล้ว พบรอยเท้าไดโนเสาร์ที่ใหญ่ที่สุดมีขนาด 106 เซนติเมตรในทะเลทรายประเทศมองโกเลีย

ผู้เชี่ยวชาญด้านซากดึกดำบรรพ์ค้นพบรอยเท้าไดโนเสาร์ที่สมบูรณ์ดังกล่าวในหินทราย ในพื้นที่ใหม่ตามแนวชายฝั่งคิมเบอร์ลีย์ ในภูมิภาคห่างไกลด้านตะวันตกของออสเตรเลีย โดยรอยเท้าจำนวนมากเห็นได้เมื่อระดับน้ำลงเท่านั้น

 

นายสตีฟ ซัลลิสบูรี่ ผู้เชี่ยวชาญด้านซากดึกดำบรรพ์ที่มีกระดูกสันหลัง มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ กล่าวว่า พวกเราพบหลายรอยเท้าในพื้นที่ดังกล่าว ยาวราว 1.7 เมตร มีสะโพกราว 5.3-5.5 เมตร ซึ่งนับว่าใหญ่มาก ดังนั้นคนส่วนใหญ่จะสามารถเข้าไปเทียบรอยเท้าข้างในได้และพบว่ามีขนาดมหึมา
ความหลากหลายของร่องรอยนี้ไม่มีรอยใดในโลกเทียบเท่าได้ และทำให้พื้นที่ที่ค้นพบรอยเท้าเป็นพื้นที่ยุคครีเตเชียสตอนต้น

 

นายซัลลิสบูรี่ ได้ตั้งสมญานามว่า “จูราสสิกปาร์กของประเทศออสเตรเลีย” โดยรอยเท้าที่ใหญ่ที่สุดเป็นของไดโนเสาร์ซอโรพอด สัตว์กินพืชขนาดใหญ่ ลำคอและหางยาว นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์พบรอยจากไดโนเสาร์ออนิโธพอด ซึ่งกินพืช มีสองขา ราว 4 ชนิดด้วย
ไดโนเสาร์ฝากรอยเท้าไว้ในที่แห่งนี้เป็นเวลา 130 ล้านปีมาแล้ว โดยไดโนเสาร์จะเดินข้ามพื้นที่ทรายเปียกอยู่ระหว่างป่าที่แวดล้อมรอบๆ ซึ่งเป็นสามเหลี่ยมปากแม่น้ำขนาดใหญ่
การสอบสวนนี้เกิดขึ้นหลังภูมิภาคนี้ถูกเลือกให้เป็นพื้นที่สำหรับเขตก๊าซธรรมชาติเหลวในปี 2551 โดยชนพื้นเมืองในพื้นที่ ซึ่งรู้ว่ามีรอยเท้าอยู่ได้ติดต่อนายซัลลิสบูรี่และทีมงานให้มาสืบค้น นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ และมหาวิทยาลัยเจมส์ คุก รวมด้วยตัวแทนจากชนพื้นเมือง ใช้เวลา 400 ชั่วโมงบันทึกรอยเท้าดังกล่าว

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน