เจ๊าะแจ๊ะวิทยาศาสตร์ : คอนแท็กต์เลนส์ซูมได้

เจ๊าะแจ๊ะวิทยาศาสตร์ : คอนแท็กต์เลนส์ซูมได้ – ดร.เฉิงเกียง ไค หัวหน้าคณะนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานดิเอโก ในสหรัฐอเมริกา เปิดเผยการพัฒนาคอนแท็กต์เลนส์โรโบติก คอนแท็กต์เลนส์ที่มาพร้อมความสามารถในการซูมเข้า-ออก ผ่านการเคลื่อนไหวของดวงตา

ตัวคอนแท็กต์เลนส์ทำจากพอลิเมอร์ที่มีคุณสมบัติขยายโครงสร้างภายในเนื้อวัสดุเมื่อได้รับการกระตุ้นจากสัญญาณไฟฟ้า

คอนแท็กต์เลนส์ซูมได้

หลังจากใช้เทคนิคการตรวจสอบเรตินา หรือจอประสาทตา ที่เรียกว่า อิเล็กโทร- โอคูโลกราฟี (อีโอจี) เพื่อดูสัญญาณไฟฟ้าที่เกิดจากการเคลื่อนไหว ของดวงตา ไม่ว่าจะเป็นการกลอกตามองขึ้นด้านบน มองลงล่าง มองไปทางขวา-ทางซ้าย กะพริบ 1 ครั้ง และกะพริบ 2 ครั้ง

จึงสร้างคอนแท็กต์เลนส์นิ่มด้วยเทคโนโลยีไบโอเมตริก หรือเทคโนโลยีชีวภาพซึ่งผสมผสานระหว่างชีวภาพและการแพทย์ เข้ากับเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะตอบสนองโดยตรงต่อสิ่งเร้าที่เป็นสัญญาณไฟฟ้า เมื่อ ผู้สวมใส่กะพริบตา 2 ครั้ง คอนแท็กต์เลนส์นี้จะซูมเข้า หรือออก

ทั้งนี้ คอนแท็กต์เลนส์ดังกล่าวยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา ซึ่งดร.ไคหวังว่าคอนแท็กต์เลนส์อัจฉริยะจะนำไปต่อยอดในอนาคต สร้างเป็นคอนแท็กต์เลนส์เทียมสำหรับผู้ที่มีปัญหาทางสายตา ใช้เป็นอุปกรณ์ควบคุมหุ่นยนต์ระยะไกล หรือผู้ใช้ถ่ายภาพจากการมองเห็นผ่านดวงตาซึ่งทำหน้าที่เหมือนเป็นกล้องเฉพาะตัว

อ่าน : เจ๊าะแจ๊ะวิทยาศาสตร์ : รถพลังงานออกซิเจน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน