เมื่อวันที่ 13 เม.ย. เอพีรายงานว่าฟอสซิสที่มีผู้ค้นพบในประเทศแทนซาเนีย เมื่อยุค 1930 มีส่วนช่วยสำหรับการศึกษาเพื่ออธิบายการวิวัฒนาการที่ขาดหายไปของไดโนเสาร์ ว่าบรรพบุรุษของไดโนเสาร์เป็นสัตว์คอยาว และเดินสี่ขาลักษณะคล้ายจระเข้

ฟอสซิลอายุ 245 ล้านปีที่เก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติแห่งชาติของอังกฤษและเป็นชิ้นที่นายอลัน คาริก นักบรรพชีวินวิทยาในคริสต์วรรษที่ 50 เคยใช้ศึกษา แต่ยังไม่สำเร็จดี

 

กระทั่งมีการพบซากฟอสซิลอีกครั้งในแทนซาเนียซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของแอฟริกาใน 2558 จนสามารถเติมเต็มโครงกระดูกของ เทเลโอเครเตอร์ ราดินุส Teleocrater rhadinus หรือ เทเลโอเครเตอร์

การค้นพบครั้งนี้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่ชื่อว่า เจอร์นัล เนเจอร์ ของสถาบันและมหาวิทยาลัยแห่งรัฐเวอร์จิเนียโพลีเทคนิค โดย ผศ.สเตอร์ลิง เนสบิตต์ อาจารย์ด้านธรณีวิทยาระบุในวารสารดังกล่าว่าการค้นพบครั้งนี้บังคับให้ต้องคิดใหม่ในเรื่องการวิวัฒนาการของไดโนเสาร์ในยุคแรกๆ

(Gabriel Lio/Museo Argentino de Ciencias Naturales, Buenos Aires via AP)

เคน อังกีลสกี ผู้ร่วมเขียนงานวิจัย ซึ่งปัจจุบันเป็น ภัณฑารักษ์ของพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติในชิคาโก ระบุว่า เทเลโอเครเตอร์เป็นสายพันธุ์ที่ไม่มีคาดการมาก่อนกับลักษณะคล้ายจระเข้ ซึ่งทำให้วงการบรรพชีวินต้องเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับการวิวัฒนาการของไดโนเสาร์ในยุคแรกทั้งหมด

Teleocrater rhadinus (Gabriel Lio/Museo Argentino de Ciencias Naturales, Buenos Aires via AP)

การวิจัยในระดับนานาชาติมักจะมุ่งไปที่การวิจัยด้านการวิวัฒนาการของกลุ่มใหญ่อย่างกลุ่มเลื้อยคลานที่เรียกว่าอาร์โคซอส์ และแบ่งออกเป็นสองสายคือจระเข้และนก หลายตัววิวัฒนาการจากสายนก แต่การค้นพบเทเลโอเครเตอร์ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่สูญพันธุ์ในช่วงที่ไดโนเสาร์มีชีวิต

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน