เด็กไทยก้าว-รู้เท่าทัน! โลกโซเชี่ยลยุค 2020

เด็กไทยก้าว-รู้เท่าทัน! โลกโซเชี่ยลยุค 2020 – ในยุคที่เว็บไซต์ สื่อสังคมออนไลน์ เข้าถึงง่ายเพียงแค่ปลายนิ้ว และยังคงพัฒนาก้าวกระโดดในทุกๆ วัน

เด็กๆ และเยาวชนไทยจะก้าวตามพร้อมรู้เท่าทันอย่างไรในการรับมือโลกโซเชี่ยล

เด็กไทยก้าว-รู้เท่าทัน! โลกโซเชี่ยลยุค 2020

ในโอกาสที่ยูนิเซฟเปิดตัวแคมเปญรณรงค์สิทธิ ในการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนในวาระครบรอบ 30 ปี อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก “ข่าวสด” สัมภาษณ์เยาวชนในเรื่องดังกล่าว โดยกลุ่มเยาวชนมีความคิดเห็น มุมมอง คำแนะนำถึงเพื่อนๆ และผู้ใหญ่ในการใช้โลกโซเชี่ยลปี 2020 ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม

เด็กไทยก้าว-รู้เท่าทัน! โลกโซเชี่ยลยุค 2020

“เด็กยุคนี้เกิดมาพร้อมโซเชี่ยล น้อยคนมากที่จะไม่ใช้ โลกทั้งใบเข้าถึงง่ายเพียงแค่ปลายนิ้ว

โซเชี่ยลเองมีทั้งสิ่งสร้างสรรค์และไม่สร้างสรรค์ อยู่ที่ว่าเด็กๆ อยากจะเลือกใช้อันไหน

เด็กๆ ต้องเป็นคนกรองสิ่งเหล่านั้นด้วยตัวเอง ถ้าผู้ใหญ่ห่วงว่าเด็กๆ จะเปิดดูอะไรไม่ดี อยากบอกว่าไม่ต้องห่วงค่ะ เปิดแน่นอน ด้วยความอยากรู้อยากเห็น”

เจน สุภาพิชญ์ ไชยดิษฐ์ ประธานสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย ให้มุมมองพร้อมกล่าวต่อว่า สิ่งที่ผู้ใหญ่ควรทำคือติดอาวุธสร้างภูมิคุ้มกันให้เขา ต่อให้มีเว็บพนันออนไลน์ขึ้นมา เด็กรู้แล้วว่าเล่นไปเขาก็เสีย หรือโฆษณาเว็บลามกก็รู้แล้วว่ากดเข้าไปแล้วจะเป็นอย่างไร ต้องทำให้เด็กรู้เท่านั้น ใช้สื่ออย่างมีวิจารณญาณ เราไม่สามารถดักจับเว็บไซต์พวกนี้ได้ เพราะปิดไปก็เกิดขึ้นมาอีก

เด็กไทยก้าว-รู้เท่าทัน! โลกโซเชี่ยลยุค 2020

เจน สุภาพิชญ์เจน

“การใช้โซเชี่ยลในปี 2020 เด็กและผู้ใหญ่ควรเรียนรู้ร่วมกัน เป็นพื้นที่ที่มีประโยชน์ ผู้ใหญ่และเด็กควรปรับตัว มีพื้นที่ตรงกลางมาเจอกัน ดูว่าเราจะใช้เวลาร่วมกันอย่างไร ใช้สื่อเหล่านี้ให้สร้างสรรค์ได้อย่างไร สื่อโซเชี่ยลเป็นตัวสานฝันให้เด็กหลายๆ คนได้ เป็นพื้นที่ให้เขาแสดงความสามารถและศักยภาพให้มีคนเห็นอีกมุมหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้ก็สามารถทำลายเด็กได้เหมือนกัน ทุกสิ่งที่โพสต์ลงไปจะกลายเป็นประวัติของตัวเอง ต้องรับได้กับผลของมัน หยุดคิดนิดหนึ่งก่อนจะโพสต์อะไรลงไป”

เด็กไทยก้าว-รู้เท่าทัน! โลกโซเชี่ยลยุค 2020

ม๊าเดี่ยว – นนทพรรษ

ด้าน ม๊าเดี่ยว อภิเชษฐ์ เอติรัตนะ เน็ตไอดอลด้านแฟชั่น วัย 20 ปี มองว่าโซเชี่ยลทำให้เด็กฉลาดขึ้น เพราะเราจะรู้เท่าทันทุกอย่าง รับข้อมูลข่าวสารตลอด แต่แน่นอนถ้าเราใช้ในทางไม่ดีก็จะเกิดผลระยะยาว กลายเป็นบาดแผลติดตัวไปตลอดชีวิต ผู้ใหญ่ควรบอกเด็กด้วยวิธีที่เหมาะสม ไม่ใช่บังคับหรือห้ามเล่น ควรมีคำแนะนำที่เหมาะสม สอนอย่างจริงใจ

ม๊าเดี่ยวก็ทำให้เห็นแล้วว่าโซเชี่ยลเป็นสื่อที่มีในมือ การที่เราจะมีคนมาสนใจเห็นความสามารถของม๊าเดี่ยวก็เริ่มจากทางนี้ แล้วทำไมเราต้องไปสื่อด้านที่ไม่ดีให้คนอื่นรู้ เราต้องสื่อสาร สิ่งที่ดีๆ ออกไป และยังสามารถหาข้อมูลความรู้พัฒนาตัวเองได้อีก

ตอนนี้เราค่อนข้างตื่นตัวกับเรื่องโซเชี่ยลบูลลี่ ม๊าเดี่ยวเองก็เคยโดนคอมเมนต์แรงๆ จนทำให้เสียใจมากเหมือนกัน ในปี 2020 อยากให้เด็กๆ และทุกคนตั้งสติก่อนจะทำอะไร โซเชี่ยลเป็นพลังบวกในการช่วยเหลือกันได้”

เด็กไทยก้าว-รู้เท่าทัน! โลกโซเชี่ยลยุค 2020

มาที่เด็กชายวัย 10 ขวบ ด.ช.นนทพรรษ จิตรรังสรรค์ โรงเรียนสุจิปุลิ บอกเล่าถึงการใช้สื่อออนไลน์ของตนเองว่า “ผมชอบเล่นเกมครับ ในโซเชี่ยลก็จะเล่นเกมเป็นส่วนใหญ่ ผมทำสิ่งที่สำคัญก่อน ทำการบ้าน ทำงานของตัวเองก่อน แล้วค่อยเล่นเกมครับ พ่อแม่ก็ไม่ว่าอะไร ผมก็บอกพ่อแม่ว่าไม่ต้องห่วงครับ มันจะเป็นประโยชน์กับเราในอนาคต”

เด็กไทยก้าว-รู้เท่าทัน! โลกโซเชี่ยลยุค 2020

ส่วน ด.ญ.มณฑาทิพย์ แก้วบุญสิงห์ อายุ 11 ขวบ นักเรียนชั้น ป.5 โรงเรียนสุจิปุลิ เล่าว่า “หนูชอบโพสต์รูปในโซเชี่ยลค่ะ มีแพลนว่าอยากทำเพจ การพูดสร้างแรงบันดาลใจ แต่ยังไม่ได้เริ่ม พ่อแม่ก็มีเป็นห่วง เขาจะบอกให้หยุดเล่นแล้วมาอ่านหนังสือบ้าง เราจะบอกพ่อแม่ว่าไม่ต้องเป็นห่วงค่ะ หนูจะใช้เวลากับโซเชี่ยลไม่เยอะ

เราสามารถหาความสุขจากการใช้มันได้ ทั้งการเล่นเกม การโพสต์รูปภาพอะไรต่างๆ ถ้าใครคอมเมนต์ในทางที่ไม่ดีเราก็จะไม่ไปโฟกัสสิ่งนั้นมาก แต่จะเอาคอมเมนต์ลบๆ มาปรับปรุงตัวเอง อยากใช้โซเชี่ยลในปี 2020 แบบนั้นค่ะ”

เด็กไทยก้าว-รู้เท่าทัน! โลกโซเชี่ยลยุค 2020

สุนิษา – จีน่า – แจม – อาทิตยา – ธันย์ ณิชชารีย์

สำหรับพี่ๆ นิสิต นักศึกษา น.ส.สุนิษา จันทร์ส่อง อายุ 22 ปี นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองว่าในโลกโซเชี่ยลบางคนอาจใช้คำที่รุนแรงเกินไป แง่หนึ่งอาจเป็นความกล้าแสดงออกที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในเรื่องต่างๆ แต่อีกแง่หนึ่งอาจกลายเป็นโซเชี่ยลบูลลี่ อยากบอกผู้ใหญ่ว่าอย่าปิดกั้นเด็กกับโซเชี่ยล เด็กบางคนคิดได้ มีไอเดียใหม่ๆ ที่จะสื่อสาร แต่ควรระวัง หากเด็กใช้ถ้อยคำรุนแรงในการสื่อสาร

เด็กไทยก้าว-รู้เท่าทัน! โลกโซเชี่ยลยุค 2020

“ในปี 2020 อยากบอกผู้ใหญ่ว่าอย่าปิดกั้นเด็กๆ ถ้าอะไรที่เขาผิดพลาดไปแล้ว จะเกิดการเรียนรู้ว่าอะไรเหมาะสม ไม่เหมาะสม สำหรับน้องๆ เองก็อยากให้ระวังในการใช้คำพูดและใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง”

เด็กไทยก้าว-รู้เท่าทัน! โลกโซเชี่ยลยุค 2020

จีน่า ชินี ลอยวานิชย์ อายุ 22 ปี นักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่าโซเชี่ยลทำให้เราติดต่อคนรอบข้างได้ตลอดเวลา ทำให้เราเปิดกว้างมากขึ้น ข้อเสียก็มีเยอะมาก เพราะหลายคนใช้ในการคอมเมนต์แย่ๆ โซเชี่ยลบูลลี่ใส่กัน ตามที่มีข่าวว่ามีคนฆ่าตัวตายเพราะโซเชี่ยลก็ควรตระหนักถึงมัน

เราใช้ประโยชน์ในทางที่ดีได้ อยากให้คิดถึงใจเขาใจเรา ถ้าเราโดนบ้างจะเป็นอย่างไร ถ้าผู้ใหญ่เป็นห่วงลูกหลานในการใช้โซเชี่ยล อยากให้ช่วยสร้างทัศนคติที่ดีในการใช้โลกโซเชี่ยลทั้งการพิมพ์ การโพสต์โซเชี่ยลในปี 2020 ควรเป็นพื้นที่ดีๆ สร้างสรรค์ ไม่สร้างพลังลบให้กัน

เด็กไทยก้าว-รู้เท่าทัน! โลกโซเชี่ยลยุค 2020

แจม พารัก โรจนสุนทร อายุ 22 ปี นิสิตชั้นปีที่ 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยว่าโซเชี่ยลมีอิทธิพลกับตนเองมาก เพราะทำงานฟรีแลนซ์ ใช้ติดต่องาน จะโพสต์สิ่งที่เราทำในชีวิตประจำวันหรือเราสร้างขึ้นมา อยากให้คิดเยอะๆ ในการใช้โซเชี่ยล

ถ้าสิ่งที่พิมพ์สิ่งที่โพสต์ลงไปย้อนกลับมาหาเราจะเป็นอย่างไร โซเชี่ยลไม่ใช่สิ่งที่เด็กใช้แล้วจะไม่ดีอย่างเดียว ผู้ใหญ่เองก็ควรระมัดระวังในการใช้งานด้วยเช่นกัน

เด็กไทยก้าว-รู้เท่าทัน! โลกโซเชี่ยลยุค 2020

“อยากให้โซเชี่ยลในปี 2020 เป็นพื้นที่พลังบวก เพราะ ตอนนี้รู้สึกว่าพลังลบในโซเชี่ยลมันมากกว่าในชีวิตจริง ถ้าไม่สร้างความรู้สึกลบให้คนอื่นก็น่าจะดี”

น.ส.อาทิตยา ไสยพร อายุ 19 ปี นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เห็นว่าอยากให้เยาวชนใช้สื่อ โซเชี่ยลในทางที่เกิดประโยชน์ดีกว่าใช้เพื่อระบายอารมณ์ โซเชี่ยลมีประโยชน์ในการรับข่าวสารที่รวดเร็ว แต่ต้องใช้วิจารณญาณในการรับข้อมูลต่างๆ ด้วย บางครั้งไม่ได้กลั่นกรองมาก่อน ผู้ใหญ่อย่าไปห้ามนั่นห้ามนี่ ทำให้เด็กเขากล้าพูดคุยกับเราดีกว่า เขาอาจจะอยากถามความเห็นเราว่าตรงนี้ใช้ได้ไหมหรืออะไรก็ตาม ควรเปิดใจให้ลูก ให้คำแนะนำดีๆ กับเด็กๆ อยากให้เด็กๆ ใช้โซเชี่ยลในการหาแรงบันดาลใจ ใช้ในทางที่ดี พัฒนา ตัวเอง

เด็กไทยก้าว-รู้เท่าทัน! โลกโซเชี่ยลยุค 2020

ปิดท้ายที่ ธันย์ ณิชชารีย์ เป็นเอกชนะศักดิ์ เจ้าของฉายา “สาวน้อยคิดบวก” มองว่าทุกคนใช้โซเชี่ยล แต่ก็ยังมีคนที่ใช้ไม่ถูกวิธี หลายคนใช้เพื่อความบันเทิง หลายคนใช้โซเชี่ยลในการเสพเรื่องของคนอื่น น้อยคนที่จะรู้ว่าโซเชี่ยลมีประโยชน์มากกว่านั้น

ธันย์ใช้โซเชี่ยลเยอะเหมือนกัน ใช้ติดตามเรื่องของคนอื่นๆ แต่ก็มีส่วนหนึ่งที่เราใช้ติดตามกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญ ผู้ใหญ่หลายคนรู้สึกว่าโซเชี่ยลเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงหรือห่างไกล

สำหรับการ คอมเมนต์บุคคลคนหนึ่งไม่ใช่เพียงแค่คนนั้นเห็น แต่ทุกคนจะเห็นความเห็นนั้น เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้การสื่อสารไม่ชัดเจน

เด็กไทยก้าว-รู้เท่าทัน! โลกโซเชี่ยลยุค 2020

“ในยุค 2020 ธันย์อยากให้เน้นว่าสื่อโซเชี่ยลให้อะไรเราบ้าง อยากให้ทุกคนใช้ประโยชน์กับมัน เข้าถึงมันมากกว่านี้ อยากให้ทุกคนใช้โซเชี่ยลในทางที่ถูกต้อง ระวังในเรื่องการคอมเมนต์แสดงความคิดเห็น เพราะธันย์เองก็เคยโดนเหมือนกัน”

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน