‘เอซุส’เซ็นบุ๊ก14 อัลตราบุ๊กล้ำสองจอ

‘เอซุส’เซ็นบุ๊ก14 – ตอกย้ำความสำเร็จในฐานะค่ายที่มียอดจำหน่ายผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กระดับผู้บริโภคอันดับหนึ่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เอซุส ผู้พัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ชื่อดังจากไต้หวัน ส่งเซ็นบุ๊กรุ่นใหม่มาพร้อมกับนวัตกรรมอย่าง สกรีนแพ็ด 2.0 (ScreenPad 2.0) ที่เปลี่ยนทัชแพดให้กลายเป็นหน้าจอ แสดงผล ได้รับการปรับปรุงใหม่ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

มัลติทาสกิ้ง หรือการทำงานหลายๆ อย่างพร้อมกันนั้นกำลังเป็นหนึ่งในเทรนด์ไอทีที่บรรดาค่ายต่างๆ พยายามคิดค้นนวัตกรรมขึ้นมาตอบสนอง การมีจอภาพมากกว่าหนึ่งจอในคอมพ์เครื่องเดียวก็คือหนทางหนึ่ง ซึ่งทางเอซุสนำนวัตกรรมสกรีนแพ็ดที่เคยสร้างความฮือฮามาต่อยอดลงในเซ็นบุ๊ก

‘เอซุส’เซ็นบุ๊ก14 ‘เอซุส’เซ็นบุ๊ก14 ‘เอซุส’เซ็นบุ๊ก14

รุ่นนี้จะเข้ามาวางจำหน่ายในประเทศไทยด้วย

เซ็นบุ๊ก 14 รุ่นใหม่ ที่ทีมข่าวสดได้มาทดสอบ เป็นรุ่นรหัส UX434F สีน้ำเงินรอยัล บลู ตัดขอบสีโลหะทองวาววับ ซึ่งเป็นสีภายใต้รูปแบบเอกลักษณ์ของเซ็นบุ๊ก ให้ความรู้สึกเรียบหรูผ่านการประกอบที่ยอดเยี่ยม

โดดเด่นด้วยการออกแบบที่ครอบคลุมการใช้งาน และผสานความรู้สึกเต็มเปี่ยมด้วยประสิทธิภาพ สนนราคาเริ่มต้นที่ 26,000 บาทขึ้นไป

การออกแบบภายนอกของเซ็นบุ๊ก 14 รุ่นใหม่นี้ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากรุ่นก่อนนัก ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี เพราะหลายๆ คนชื่นชอบการออกแบบเซ็นบุ๊กแบบนี้อยู่แล้ว แม้จะไม่ได้แลดูหวือหวา แต่รู้สึกได้ถึงความสง่างามที่ทรงพลัง

‘เอซุส’เซ็นบุ๊ก14

ของแถม

เช่น ลวดลายโลหะขัดวนโอบล้อมรอบโลโก้ค่ายเอซุสที่ฝาหน้าของเซ็นบุ๊ก และเออร์โกลิฟต์ (ErgoLift) ที่เมื่อยกฝาจอขึ้นมาก็จะยกเครื่องเทเข้าหาผู้ใช้เล็กน้อย รวมถึงการใช้สีแบบเมทัลลิกสร้าง คอนทราสต์ขอบบริเวณเหนือแป้นพิมพ์เครื่อง ถือเป็นเสน่ห์ที่หาได้ยากจาก อัลตราบุ๊กคู่แข่งค่าย อื่นๆ

สิ่งแตกต่างชัดเจนนั้นมีเพียงขนาดที่เล็กลงประมาณร้อยละ 13 โดยเซ็นบุ๊ก 14 มีความกว้าง 199 ยาว 319 และหนา 16.9 มิลลิเมตร มีน้ำหนักราว 1.3 กิโลกรัม แม้จะหนักกว่าที่ ผู้ทดสอบคาดไว้แต่จากการ แบกใส่เป้สะพายหลังไปไหน มาไหนไม่พบว่าเป็นปัญหาแต่อย่างใด ด้วยขนาดที่ว่ามานี้เองทำให้เซ็นบุ๊ก 14

กลายเป็นหนึ่งในอัลตราบุ๊กหน้าจอกว้าง 14 นิ้วที่มีขนาดเล็กที่สุดในตลาดขณะนี้

เนื่องด้วยการออกแบบที่ เรียกว่า นาโนเอดจ์ (NanoEdge) เป็นการลดขนาดของขอบจอภาพลงมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มอัตราส่วนพื้นที่จอภาพต่อตัวเครื่องให้ได้สูงสุดถึงร้อยละ 92 ช่วยให้จอภาพของเซ็นบุ๊กรุ่นใหม่นี้แลดูทันสมัยและสวยงามน่าใช้อย่างยิ่ง โดยกล้องเว็บแคม และเซ็นเซอร์ภาพของเครื่องยังคงอยู่ที่ขอบบนของจอภาพตามปกติอีกด้วย

‘เอซุส’เซ็นบุ๊ก14

จอชัด

‘เอซุส’เซ็นบุ๊ก14

สกรีนแพ็ด 2.0

ยังไม่เท่านั้น การประกอบของทางเอซุสยังแน่นหนา และผ่านมาตรฐานความคงทน MIL-STD-810G ซึ่งเป็นมาตรฐานของอุปกรณ์ทางทหารที่ใช้ในกองทัพสหรัฐอเมริกา ไม่ว่าจะเป็นแรงกระแทก ความชื้น อุณหภูมิ และความกดอากาศที่ระดับความสูงต่างๆ ของดาวเคราะห์โลก

อีกสิ่งหนึ่งที่เอซุสไม่เคยละเลยในโน้ตบุ๊กของค่ายคือ ประโยชน์ด้านการใช้งานอย่างพอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญการตัดสินใจซื้อโน้ตบุ๊กของผู้บริโภคจำนวนมาก เริ่มที่ขอบซ้ายของเครื่อง ได้แก่ ช่องสายไฟกระแสตรงหัวกลมแบบ DCIN ทั่วไป ช่องเชื่อมต่อ HDMI สำหรับต่อภาพและเสียงออกไปสู่จอภาพอื่นๆ ช่องเชื่อมต่อ USB 3.2 Gen 2 Type-A และ USB 3.2 Gen 2 Type-C

‘เอซุส’เซ็นบุ๊ก14

ลำโพงคุณภาพ

ส่วนขอบด้านขวา ได้แก่ ช่องอ่านการ์ด microSD ช่อง USB 2.0 ช่องหูฟังมินิสเตอริโอ หรือมินิแจ๊กขนาด 3.5 .. ไฟบอกสถานะแบตเตอรี่และการทำงานของเครื่อง น่าเสียดายที่ไม่สนับสนุนเทคโนโลยีเชื่อมต่อ Thunderbolt และช่องสายไฟผ่าน USB-C

ผู้ที่ต้องการเชื่อมต่ออัลตราบุ๊กรุ่นนี้เข้ากับอินเตอร์เน็ตผ่านสาย LAN นั้นไม่ต้องกังวล เพราะทางเอซุสแถมอะแด็ปเตอร์ USB-to-Ethernet มาให้ในกล่องแล้ว

หน้าจอแสดงผลของเซ็นบุ๊ก 14 รุ่นใหม่ ใช้เทคโนโลยี IPS LCD มีความละเอียดสูงสุดแบบฟูลเอชดี (1,920 x 1,080 พิกเซล) ความสว่างเพียงพอกับการใช้งานนอกอาคาร แต่แนะนำให้เสียบสายชาร์จจะดียิ่งขึ้น ส่วนภาพนั้นมีความคมชัดน่าพอใจ และสีสันอยู่ระดับที่ดี มีมุมการมองที่กว้างไม่ทำให้สีแลดูเพี้ยน

‘เอซุส’เซ็นบุ๊ก14

พอร์ตซ้าย

‘เอซุส’เซ็นบุ๊ก14

พอร์ตขวา

ขณะที่ลำโพงนั้นอยู่ที่ใต้เครื่อง แบ่งเป็น 2 จุด ที่มุมซ้ายและขวาของเครื่องผ่านการปรับแต่งเสียงจากค่าย Harman/Kardon บริษัทลูกของ HARMAN ประเทศสหรัฐ ในเครือของซัมซุง ประเทศเกาหลีใต้

การทดสอบพบว่า เสียงที่ได้นั้นมีคุณภาพสูงอย่างน่าประทับใจ เสียงเบสชัดเจน อิมแพ็กพอเหมาะ เสียงกลางเด่นพุ่งเข้าหาผู้ใช้ เสียงสูงนุ่มไม่แหลมบาดหู เวทีเสียงปานกลาง แต่มิติเสียงทางลึกดีเยี่ยมน่าประทับใจมาก เหมาะกับการชมภาพยนตร์ เช่นเดียวกันกับความสามารถในการแยกเสียงเครื่องดนตรีและนักร้อง เหมาะกับการฟังเพลง แต่เสียงค่อนข้างเบา หากสภาพแวดล้อมมีเสียงดังอาจไม่ได้ยินชัดเจน

เซ็นบุ๊ก 14 ใหม่ ใช้ขุมพลังจากหน่วยประมวลผลกลาง หรือซีพียูรุ่น Intel Core i7-105110U แบบควอดคอร์ (4 คอร์) ติดตั้งเทคโนโลยีไฮเปอร์เธรดดิ้ง (HT) สามารถรองรับได้ 8 เธรด (เทียบเท่า 8 คอร์) ใช้สถาปัตยกรรมการผลิตขนาด 14 นาโนเมตร (nm) ความเร็วสัญญาณนาฬิกาฐาน 1.80 กิกะเฮิร์ตซ์ (GHz) และความเร็วเทอร์โบสูงสุด 4.90 GHz เป็นซีพียู 10th Generation ที่เพิ่งวางจำหน่ายไปเมื่อไตรมาสที่สามของปี 2562 หน่วยความจำแรม (RAM) 8 กิกะไบต์ (GB) แบบ LPDDR3 ความเร็ว 2,166 เมกะเฮิร์ตซ์ (MHz)

‘เอซุส’เซ็นบุ๊ก14

ดีไซน์เอกลักษณ์

หน่วยประมวลผลกราฟิก หรือจีพียูรุ่น NVIDIA GeForce MX250 มี VRAM (แรมกราฟิก) ขนาด 2 GB โดยเครื่องจะเปลี่ยนไปใช้ จีพียูนี้โดยอัตโนมัติเมื่อพบว่าต้องรันแอพพลิเคชั่นที่มีกราฟิกสูง แต่ตามปกติแล้วเครื่องจะใช้จีพียูแบบปกติเป็น Intel UHD Graphics ที่มากับซีพียูแทน เพื่อประหยัดพลังงาน อย่างไรก็ดี GeForce MX250 นั้นถือเป็นจีพียูที่มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับขั้นต้น ส่งผลให้เซ็นบุ๊ก 14 ใหม่ จัดเป็นอัลตราบุ๊กทำงานมากกว่าการใช้เล่นเกมจริงจัง ขณะที่หน่วยเก็บข้อมูลของมีขนาด 512 GB เป็น SSD แบบ M.2 NVMe บนอินเตอร์เฟซแบนด์วิธสูงสุดปัจจุบันอย่าง PCIE ถือว่าเป็นอัลตราบุ๊กทำงานและเล่นเกมทั่วไปที่มี สเป๊กค่อนข้างสูง ภายใต้ระบบปฏิบัติการวินโดว์ส 10 64-บิต จากไมโครซอฟท์

แป้นพิมพ์ของเซ็นบุ๊ก 14 มีไฟแบ๊กไลต์สีขาว ปิด และปรับระดับแสงได้ 3 ระดับ มองเห็นได้ชัดเจนในที่แสงน้อย

ส่วนประสบการณ์การพิมพ์งานนั้น จากการทดสอบพบว่าขนาดและระยะห่างของปุ่มอยู่ในระดับที่ดี ความลึกของการกดประมาณ 1.4 .. ปุ่มมีความนุ่มพอสมควรไม่ต้องออกแรงมาก และที่สำคัญคือเงียบเชียบไม่น่ารำคาญเวลาพิมพ์ ขณะที่บริเวณจุดวางพักข้อมือขณะพิมพ์ก็คงทนแข็งแรงไม่บุบบุ๋มง่าย ถือว่าสร้างมาสำหรับพิมพ์งานโดยแท้

ขณะที่ปุ่มเพาเวอร์นั้นอยู่ที่มุมขวาบนแต่รวมกับแป้นพิมพ์ ต้องระวังอย่าไปโดน

 

ไฮไลต์ ทัชแพด

มาถึงไฮไลต์ของเครื่อง คือทัชแพดซึ่งทางเอซุสนำนวัตกรรมสกรีนแพ็ดมาใส่ไว้แทน โดยสกรีนแพ็ดนี้ได้รับการปรับปรุงใหม่ต่อยอดจึงเรียกว่า สกรีนแพ็ด 2.0 ช่วยให้มีความไวขึ้น การบู๊ตปิดเปิดจอที่ไวขึ้น รวมทั้งการตอบสนองและขนาดที่ใหญ่ขึ้น เพื่อทำหน้าที่เป็นจอภาพแบบทัชสกรีนเพิ่มเติมให้กับเซ็นบุ๊ก 14

สกรีนแพ็ด 2.0 มีขนาด 5.7 นิ้ว ความละเอียดสูงสุด 2,160 x 1,080 พิกเซล มีความคมชัด ตอบสนอง และสว่างไสวกว่าสกรีนแพ็ดรุ่นเก่าที่มีขนาด 4.8 นิ้ว โดยหน้าที่หลักนั้นเป็นพื้นที่สำหรับปุ่มลัดต่างๆ อาทิ Number Key สำหรับปุ่มเลขและเครื่องคิดเลข Hand writing สำหรับเขียนบันทึกด้วยนิ้ว หรือปากกาอิเล็กทรอนิกส์ (ไม่แถมมา) Quick key สำหรับวินโดว์ส เช่น Cut Copy Paste เป็นต้น และปุ่มลัดต่างๆ สำหรับการทำงาน ร่วมกับแอพฯ ของไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ รวมถึง MyASUS และอื่นๆ อย่าง Spotify ตลอดจน AppDeals สำหรับดาวน์โหลดแอพฯ ใช้งานอื่นๆ

ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนโหมดมาเป็นทัชแพดได้ง่าย เพียงกด F6 หรือปุ่มลัดบนสกรีนแพ็ด หรือการใช้นิ้ว 3 นิ้ว (ชี้กลางนาง) ชิดกันแล้วแตะเบาๆ บนจอสกรีนแพ็ดก็จะใช้ทัชแพดได้ชั่วคราว โดยแบบหลังนี้ระบบจะตัดกลับเข้าสู่สกรีนแพ็ดหลังผู้ใช้ยกนิ้วออกจากทัชแพด

สกรีนแพ็ด 2.0 ตอบสนองที่รวดเร็วกว่ารุ่นก่อนมาก ขณะที่ทัชแพดนั้นก็มีความแม่นยำและความไวอยู่ในระดับที่ดีเยี่ยม อย่างไรก็ดี บางคนอาจไม่ค่อยได้ใช้ประโยชน์จากสกรีนแพ็ดเท่าที่ควร แม้น่าชื่นชมและสนับสนุนนวัตกรรมนี้ อาจเป็นเพราะไม่คุ้นเคย และชินกับการใช้เป็นทัชแพดเสียมากกว่า

จุดที่ค่อนข้างผิดหวังสำหรับเซ็นบุ๊ก 14 รุ่นใหม่นี้เป็นระยะเวลาการใช้งาน ใช้ติดต่อกันเป็นเวลาประมาณ 7 ชั่วโมง ที่ความสว่างปานกลาง แม้เป็นระยะเวลาที่ไม่เลวแต่ถือว่าต่ำกว่าอัลตราบุ๊กคู่แข่งอื่นๆ ในราคาช่วงนี้ คาดว่าน่าจะเป็นเพราะจอภาพสกรีนแพ็ดซึ่งมีความละเอียดถึง 2,160 x 1,080 พิกเซล ทำให้แบตฯ หมดเร็วขึ้น อย่างไรก็ดี ระยะเวลาการใช้งานไม่ได้ถือว่าเลวร้าย แต่เรียกว่าไม่ใช่จุดแข็งของอัลตราบุ๊กรุ่นนี้จะเหมาะสมที่สุด

อย่างไรก็ตาม โดยสรุปแล้ว เซ็นบุ๊ก 14 รุ่นใหม่จากเอซุสเป็นอัลตราบุ๊กที่ยังคงความสง่างามเตะตาของเซ็นบุ๊กไว้ได้เป็นอย่างดี เหมาะสำหรับการทำงานและความบันเทิงทั่วไป เพราะมีสเป๊กที่ค่อนข้างสูง รวมทั้งนวัตกรรมใหม่ล่าสุดอย่างสกรีนแพ็ด 2.0 ที่ถือเป็นไฮไลต์ของรุ่นนี้ ซึ่งหลายคนอาจพบว่าใช้ประโยชน์ได้มากกว่าที่คาดไว้ ผู้ที่ต้องการอัลตราบุ๊กทำงานประสิทธิภาพดีเยี่ยมพร้อมนวัตกรรมแปลกใหม่ ไม่ควรมองข้ามเซ็นบุ๊ก 14 รุ่นใหม่ตัวนี้เป็นอันขาด

จันท์เกษม รุณภัย

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน