คอลัมน์ เจ๊าะแจ๊ะวิทยาศาสตร์

ยูโรเปียนเจอร์นัล ออฟ ไซโคโลจี เผยแพร่งานวิจัยศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างสภาพอากาศ และพฤติกรรมของมนุษย์ โดยแบ่งกลุ่มผู้ร่วมทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งให้นั่งทำแบบสอบถามในห้องที่มีอุณหภูมิ 26.7 องศาฟาเรนไฮต์ อีกกลุ่มนั่งในห้องที่มีอุณหภูมิ 20.6 องศาฟาเรนไฮต์

ปรากฏว่าผู้ร่วมทดลองในห้องที่มีอากาศอบอุ่นให้ความร่วมมือในการทำแบบสอบถามน้อยกว่ากลุ่มที่อยู่ในห้องซึ่งมีอากาศเย็น โดยห้องอบอุ่นมีผู้ร่วมทดลองร้อยละ 63.9 ที่ตอบคำถามอย่างน้อย 1 ข้อ ขณะที่ห้องเย็นมีผู้ร่วมทดลองยินดีทำแบบสอบถามมากถึงร้อยละ 95.6

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยอีกชิ้นที่สรุปในทิศทางเดียวกัน หลังจากพบว่าอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น 5 องศาฟาเรนไฮต์ ทำให้คนเห็นแก่ตัวมากขึ้น และช่วยเหลือผู้อื่นน้อยลงถึงร้อยละ 50 แม้ยังไม่มีหลักฐานชี้ชัดว่าความร้อนเป็นตัวการเปลี่ยนนิสัย

แต่นักวิจัยระบุว่าทฤษฎีหนึ่งที่อาจใช้อธิบายการเปลี่ยนแปลงนี้ คือ เมื่อเผชิญกับความร้อน กลไกร่างกายจะพยายามปกป้องไม่ให้สูญเสียพลังงาน สมองเลยสั่งการให้หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวนั่นเอง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน