คอลัมน์ เจ๊าะแจ๊ะวิทยาศาสตร์

ดร.ดาร์ชิล ชาห์ จากมหาวิทยาลัย เคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ เปิดเผยโครงการพัฒนาสุดยอดเส้นใย “ซูปราโมเลกุล” ที่แข็งแกร่ง และยืดหยุ่นคล้ายใยแมงมุม ไฟเบอร์ธรรมชาติที่แข็งแกร่งกว่าเหล็กถึง 5 เท่า และยืดหยุ่นอย่างน่าอัศจรรย์จนหยุดการเคลื่อนไหวของแมลงที่บินด้วยความเร็วราว 32 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แม้จะมีความบางกว่าเส้นผมมนุษย์มากกว่า 10 เท่าก็ตาม

หากสุดยอดเส้นใยดังกล่าวประสบความสำเร็จ จะนำไปใช้กับผลิตภัณฑ์ที่เน้นความทนทาน ผลิตหมวกกันน็อก และเสื้อกันกระสุน

กระบวนการผลิตเส้นใยดังกล่าว ใช้การยืดเส้นใยออกจากวัสดุที่เรียกว่า “ไฮโดรเจล” วัสดุโพลิเมอร์โครงสร้างโมเลกุลแบบโครงร่างตาข่าย ประกอบด้วยน้ำมากถึง ร้อยละ 98 อีกร้อยละ 2 เป็นเซลลูโลส คาร์โบไฮเดรตโมเลกุลใหญ่ที่ ต่อกันเป็นโซ่ยาว ไฮโดรเจลจึงมีความเหนียวและยืดตัวได้มากเป็นพิเศษ

นอกจากนี้เมื่อแตกตัวออกยังสามารถรวมตัวขึ้นใหม่ได้อย่างง่ายดาย โดยจะยืดเส้นใย จากไฮโดรเจลที่อุณหภูมิห้องสูงสุดไม่เกิน 1,500 องศาเซลเซียส จนเกิดปฏิกิริยาแบบไดนามิก ครอส-ลิงก์กิง ทำให้เส้นใยซูปราโมเลกุลสามารถยืดตัว และจัดเรียงเส้นใยได้เต็มประสิทธิภาพนั่นเอง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน