เอพีรายงานว่า สำนักงานการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือ นาซา เปิดแถลงที่สำนักงานห้องปฏิบัติการขับเคลื่อน ในพาซาเดนา รัฐแคลิฟอร์เนีย การยุติภารกิจสำรวจดาวเสาร์ของยานแคสสินี-ไฮยเกินส์ ในวันศุกร์ที่ 15 ก.ย.นี้ หลังจากปฏิบัติหน้าที่มายาวนาน 20 ปี ยานจะพุ่งชนชั้นบรรยากาศ เรียกว่า “จูบลา” หรือ กู๊ดบายคิส”

ผลงานการสำรวจดาวเสาร์ของแคสสินีที่โคจรอยู่รอบดาวเสาร์มา 13 ปี คิดเป็นรอบเกือบ 300 รอบ มีการค้นพบสำคัญหลักๆ ได้แก่ พื้นที่ที่เรียกว่าทะเลมีเธนเหลวบนดวงจันทร์ไททัน และการพบพื้นผิวมหาสมุทรที่อยู่ใต้น้ำแข็งของดวงจันทร์เอนเซลาดัส

PASADENA, CA – SEPTEMBER 13: A model of NASA’s Cassini spacecraft /AFP

ยานแคสสินีเดินทางออกจากโลกเมื่อปี 2540 พร้อมอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ เข้าสู่วงจรดาวเสาร์ในปี 2547 และลงจอดบนดาวไททันในเดือนธันวาคมในปีนั้น

ภารกิจของแคสสินีมีมูลค่าใช้จ่าย 3,260 ล้านดอลลาร์ หรือราว 1 แสนล้านบาท แบ่งเป็นงบประมาณเตรียมการก่อนออกเดินทาง 1,400 ล้านดอลลาร์ ปฏิบัติการในภารกิจ 704 ล้านดอลลาร์ การแกะรอย 54 ล้านดอลลาร์ และพาหนะสำหรับการส่งยาน 422 ล้านดอลลาร์ กำหนดเวลาที่ยานจะพุ่งชนชั้นบรรยากาศเพื่อยุติภารกิจ 07.14 น. วันที่ 15 ก.ย. ตามเวลาในสหรัฐ แม้ว่าสัญญาณที่จะส่งมาถึงนาซาจะล่าช้าต้องใช้เวลาอีก 86 นาที

A news briefing for the end of the Cassini mission to Saturn, September 13, 2017 at NASA’s Jet Propulsion Laboratory in Pasadena, California. / AFP PHOTO / Robyn Beck

วันเดียวกัน ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ หรือสดร. กล่าวเชิญชวนให้ผู้สนใจติดตามภารกิจสุดท้ายยานอวกาศแคสสินี จับตานาทีแคสสินีพุ่งชนดาวเสาร์เผาไหม้ตัวเองปิดฉากการเดินทางและการสำรวจดาวเสาร์อันยาวนานกว่า 20 ปี

สดร. พร้อมจัด NARIT Facebook live “เกาะติดภารกิจสุดท้าย…ยานแคสนินีพุ่งชนดาวเสาร์” วันที่ 15 ก.ย.นี้ ตั้งแต่เวลา 18:00 น. เป็นต้นไปทาง www.facebook.com/NARITPage

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน