โจแอน ทาราซุยก์ ผู้เชี่ยวชาญ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสวินเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย แบ่งกลุ่มนักเรียนประถมศึกษาตอนต้น อายุระหว่าง 4-6 ขวบออกเป็น 2 กลุ่ม

โดยให้แท็บเล็ตกับนักเรียนกลุ่มแรกเพื่อนำไปฝึกฝนเล่นเกม “หอคอยแห่งฮานอย” เกมปริศนาส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ ด้วยการย้ายแผ่นไม้เจาะรู ขนาดต่างๆ ไล่เรียงจากใหญ่ขึ้นมาหาขนาดเล็กใส่ไว้กับแท่งไม้อันแรก ไปยังแท่งไม้อันที่ 2 และ 3 แต่มีกติกาว่าย้ายแผ่นไม้ได้ 1 แผ่นต่อ 1 ครั้ง วางบนแท่งไม้ที่ ว่างอยู่ หรือวางทับบนแผ่นไม้ที่มีขนาดใหญ่กว่าได้เท่านั้น โดยใช้จำนวนหยิบให้น้อยที่สุด

เมื่อเด็กๆ คุ้นเคยจึงให้เล่นกับเกมจริงที่ทำจากไม้ แล้ว เปรียบเทียบจำนวนครั้งและระยะเวลาในการย้ายแผ่นไม้จนจบเกม พบว่าการได้ลองฝึกฝนบนแท็บเล็ตช่วยให้เด็กๆ เล่นเกมได้ดี เช่นเดียวกับเพื่อนอีกกลุ่มที่ฝึกฝนผ่านเกมจริงตั้งแต่แรก

นักวิจัยอธิบายว่าผลการศึกษานี้ทำให้เห็นว่า จริงๆ แล้วอุปกรณ์ไฮเทค ที่ถูกโจมตีว่าจำกัดการเรียนรู้นั้น กลับมีประโยชน์อย่างมากต่อการกระตุ้นพัฒนาการ ของเด็ก โดยเฉพาะการเรียนรู้แบบปฏิกิริยาตอบสนอง (อินเตอร์ แอ๊กทีฟ) เพราะทำให้เด็กมีส่วนร่วม ลองผิดลองถูก และขยาย มุมมองในการคิดวิเคราะห์

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน