ไบรอัน เฮลมุธ หัวหน้าทีมนักวิทยาศาสตร์นอร์ทอีสเทิร์น สหรัฐอเมริกา เปิดเผยโครงการเก็บข้อมูลสภาพภูมิอากาศโดยใช้ “โรโบมัสเซิลส์” (Robomussels) หรือหุ่นยนต์หอยแมลงภู่ ซึ่งมีลักษณะภายนอกเหมือนหอยแมลงภู่ ทั้งขนาด และสี

ด้านในติดตั้งเซ็นเซอร์ขนาดเล็กที่เก็บข้อมูลอุณหภูมิรอบตัว และปริมาณรังสีจากดวงอาทิตย์ หรือความเข้มของรังสีดวงอาทิตย์ต่อพื้นที่ที่โรโบมัสเซิลส์ได้รับ ทุกๆ 10-15 นาที ส่วนการใช้งานก็แสนง่าย แค่นำโรโบมัสเซิลส์ไปติดตั้งกับแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของหอยแมลงภู่ใต้น้ำ
จากการวิจัยมานานกว่า 18 ปี ทีมนักวิทยาศาสตร์จึงชี้ชัดว่าพื้นที่ใดที่ระบบชีววิทยามีความเสี่ยงเสียหาย ซึ่งการศึกษาปริมาณรังสีทำให้ทราบการถ่ายเทพลังงานภายในระบบบรรยากาศโลก และวิเคราะห์คุณสมบัติและการกระจายของบรรยากาศจากส่วนประกอบต่างๆ เช่น อนุภาค ไอน้ำ โอโซน ช่วยให้ป้องกันระบบนิเวศน์ทางน้ำ รวมทั้งป้องกันความเสี่ยงสูญพันธุ์ของสัตว์น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน