เดอะการ์เดียนรายงานผลการศึกษาซากไดโนเสาร์ของทีมวิจัยมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ว่าเป็นซากอายุ 130 ปีที่มีเนื้อเยื่อสมองอยู่ด้วยเป็นครั้งแรก

ซากไดโนเสาร์ดังกล่าวค้นพบโดยนักสะสมซากฟอสซิลสมัครเล่นเมื่อปี 2547 ที่แอ่งหินบนหาดใกล้เมืองเบ็กซ์ฮิลล์ แคว้นซัสเส็กซ์ของอังกฤษ เมื่อศึกษาแล้วพบว่าเป็นชนิดที่ใกล้กับอิกัวโนดอน มีอายุอยู่ราว130 ปีก่อน เป็นชนิดกินพืช สูง 8 เมตร อาจเดินด้วยสองขา หรือเดินทั้งสี่ขา ฟันคล้ายกับฟันของตัวอิกัวนา จึงเป็นที่มาของชื่อ อิกัวโนดอน

image_4315_2-dinosaur-brain

สิ่งที่น่าตื่นตะลึงก็คือในซากนี้มีเนื้อเยื่อสมองที่บอบบางอยู่ และนั่นไม่ใช่เรื่องที่คุณคาดว่าจะได้เห็น แต่กลับยังอยู่อย่างดี เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องคุณภาพของการเก็บรักษาที่อยู่มาได้ ทั้งๆ ที่ไดโนเสาร์ตัวนี้มีชีวิตอยู่เมื่อ 130 ปีก่อน” อเล็กซ์ หลิว ผู้ร่วมเขียนงานวิจัย กล่าว

image_4315_3-dinosaur-brain

จากการใช้เทคนิคการศึกษาด้วยเอ็กซ์เรย์ ทีมงานจำลองภาพสามมิติของฟอสซิลนี้เพื่อสำรวจโครงสร้างและหาที่มาที่ไปของไดโนเสาร์ตัวดังกล่าว

เบื้องต้นสันนิษฐานว่า บริเวณที่พบนั้นเคยเป็นทะเลสอบหรือหนองน้ำ ภายใต้สภาพเป็นกรดและออกซิเจนน้อย ทำให้เนื้อเยื่อสมองผันเป็นแร่ธาตุอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ส่วนอื่นเน่าเปื่อยไป ส่วนสมองที่อยู่ในโพรงเต็มไปด้วยโคลน กระดูกที่แตกละเอียด และแร่ธาตุอื่นๆ

dinosaur-brain

หลิวกล่าวว่า เนื้อเยื่อที่พบนั้นมีสภาพดีมาก จะช่วยให้ศึกษาได้ว่า สมองไดโนเสาร์นั้นเป็นอย่างไร จากเดิมที่เราคิดกันว่าสมองไดโนเสาร์น่าจะเปรียบเทียบได้กับสมองของสัตว์ที่เป็นญาติกับมัน เช่น สัตว์เลื้อยคลานหรือนก หรือเป็นรูปร่างตามโครงสร้างตามรอยพิมพ์ของสมองบนช่องสมองของมันเอง

นอกจากนี้ยังเป็นไปได้ว่า ไดโนเสาร์มีสมองใหญ่กว่าที่เราคิด และอาจทำให้ได้รู้เกี่ยวกับความฉลาดของไดโนเสาร์ หรือศักยภาพในการสื่อสารระหว่างกัน ซึ่งน่าศึกษาอย่างยิ่ง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน