เดอะการ์เดียนรายงานการเผยแพร่ผลงานของนักวิจัยที่ใช้เทคโนโลยีไลดาร์ในการหาพื้นที่อารยธรรมทางทิศตะวันตกของประเทศเม็กซิโก

ไลดาร์เป็นวิธีการสำรวจซึ่งวัดระยะทางถึงเป้าหมายโดยแสดงเป้าหมายด้วยแสงเลเซอร์เป็นจังหวะและวัดอัตราการเต้นเป็นจังหวะสะท้อนด้วยตัวรับ จากนั้นใช้ความแตกต่างระหว่างเวลากลับคืนของเลเซอร์และความยาวคลื่นเพื่อสร้างรูปจำลองสามมิติดิจิทัลของเป้าหมาย

คริส ฟิชเชอร์ นักโบราณคดีจากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐโคโลราโด รายงานในงานประชุมวิชาการของสมาคมวิทยาศาสตร์ก้าวหน้าในเมืองออสติน รัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา ว่า การค้นพบพื้นที่ใจกลางเม็กซิโกว่าเคยมีเมืองขนาดมหึมาอยู่ ซึ่งยังไม่มีใครรู้ เป็นเรื่องที่น่าตื่นตาตื่นใจอย่างยิ่ง

Photograph: C Fisher

อารยธรรมดังกล่าวเป็นของชนเผ่าแอซแทค ปรากฏที่เมืองปูเรเปชา เคยรุ่งเรืองในช่วงคริตส์ศตวรรษที่ 16 ก่อนที่ยุโรปจะเข้ามาและเกิดโรคระบาดรุนแรงพร้อมกับสงครามที่คร่าชีวิตผู้คน

ในกลุ่มเมืองปูเรเปชายังมีเมืองหลวงของอาณาจักรอีกแห่งหนึ่งชื่อว่าซินซูนซัน ที่ตั้งอยู่ติดทะลสาบเปตซ์กูอาโร สะท้อนถึงสังคมของปูเรเปชาที่ยังสืบทอดถึงปัจจุบัน

นอกจากนี้ยังมีการค้นพบเมืองใหม่โดยใช้เทคโนโลยีไลดาร์ที่มืองอันกามูโก ที่นายฟิชเชอร์ระบุว่าพื้นที่ของเมืองนี้กินอาณาบริเวณกว้างขวาง มีผู้คนเคยอยู่อาศัยที่มากมาย ตึกรามบ้านช่องคล้ายกับเกาะแมนแฮตตัน ในนครนิวยอร์ก

Photograph: C Fisher

ผังเมืองเป็นตามแบบอารยธรรมเเอซแทค กับการที่โซนตัวเมืองอยู่ตรงกลางและเป็นหนึ่งในแปดโซนของทั้งเมือง ประกอบกับในแปดโซนดังกล่าวก็มีพื้นที่เปิดอย่างจัตุรัสและพีระมิดประกอบอยู่ด้วย เชื่อว่าเมืองนี้มีประชากรมากกว่า 100,000 คน และรุ่งเรืองในช่วง 1000-1350 ก่อนคริสต์ศักราช

การใช้เทคโนโลยีไลดาร์ทำให้นักวิจัยค้นพบอะไรได้มากกว่าซากโบราณสถาน อย่างการค้นพบระบบโครงข่ายถนนหนทาง พื้นที่สวนสำหรับเพาะปลูกอาหาร หรือพื้นที่สำหรับการละเล่น เทคโนโลยียังทำให้นักวิจัยเห็นภาพต่างๆ ได้ชัดขึ้นแม้จะใช้สำรวจพื้นที่ที่มีป่าขึ้นหนาแน่น

ในอนาคตอาจจะมีการหยิบไลดาร์ไปใช้กับสิ่งปลูกสร้างที่มีความซับซ้อนทางสถาปัตยกรรมอย่างที่กัมพูชา และอาจจะนำไปใช้ได้ในพื้นที่เขตร้อนหลายแห่งอย่างในแอฟริกา หรือทวีปอเมริกา

นายกานูโตกล่าวว่า การใช้เทคโนโลยีไลดาร์กับโปรเจ็กต์เกิดขึ้นได้จากการสนับสนุนของหน่วยงานไม่แสดงหากำไรด้านวัฒนธรรมมายาและมรดกทางธรรมชาติ ของกัวเตมาลา ซึ่งเป็นการนำผู้เชี่ยวชาญจากหลายส่วนเข้ามาช่วยกันในการค้นหาซากอารยธรรมครั้งนี้

เทคโนโลยีนี้ส่งเสริมการทำงานร่วมระหว่างนักโบราณคดีกับผู้เชี่ยวชาญจากสาขาอื่นๆ อย่างนิเวศวิทยา วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการถ่ายภาพบนอากาศก็จะทำให้คุ้มทุนวิจัยมากขึ้น และนำไปใช้ได้อย่างหลากหลาย ประกอบกับได้ความคิดเห็นจากหลากหลายสาขา

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน