มูลนิธิรามาธิบดีฯ เปิดตัว “หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดประสาทศัลยศาสตร์” เครื่องแรกในไทย เสริมประสิทธิภาพการผ่ากระดูกสันหลังและสมองอย่างแม่นยำ ช่วยผู้ป่วยยากไร้เข้าถึงเทคโนโลยีขั้นสูงอย่างปลอดภัย

ในปัจจุบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเฉพาะด้านการแพทย์และวิศวกรรมศาสตร์มีความก้าวหน้าไปอย่างมาก

อีกทั้งเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในบทบาทของสหวิทยาการสำหรับการแก้ปัญหาทางการแพทย์ที่ซับซ้อน ตอบโจทย์ความต้องการด้านการดูแลรักษาสุขภาพ ช่วยผู้ป่วยคนไทยเข้าถึงเทคโนโลยีขั้นสูงอย่างปลอดภัย ทำให้อายุของประชากรในโลกยืนยาวขึ้น

09

07

มูลนิธิรามาธิบดี ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งมีภารกิจสำคัญในการสนับสนุนการทำงานของคณะแพทยศาสตร์ฯ มากว่า 50 ปีแล้ว เล็งเห็นความสำคัญของ การจัดหาเครื่องมือแพทย์อันทันสมัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการผ่าตัดด้านประสาทศัลยศาสตร์ ที่ต้องอาศัยความละเอียด รอบคอบ และความแม่นยำของประสาทศัลยแพทย์เป็นอย่างมาก

06

เดิมทีการผ่าตัดนั้นมีความเสี่ยงในการผิดพลาดสูงถึง 10-40 เปอร์เซ็นต์ จนกระทั่งปัจจุบันมีการพัฒนาด้านการวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดทางการแพทย์อย่างกว้างขวาง และรุดหน้าไปมาก โดยเฉพาะในต่างประเทศ ทั้งในยุโรป อเมริกา และประเทศในเอเชีย ซึ่งสามารถเพิ่มความแม่นยำให้ประสาทศัลยแพทย์ ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยอย่างสูงสุด ในการผ่าตัดที่กระดูกสันหลังและสมอง

05

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นาวาโท นายแพทย์สรยุทธ ชำนาญเวช ประสาทศัลยแพทย์ รองหัวหน้าภาควิชาภาควิชาประสาทศัลยศาสตร์ สาขาวิชาประสาทศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้รับผิดชอบ “โครงการหุ่นยนตร์ช่วยผ่าตัดประสาทศัลยศาสตร์” เผยถึงข้อมูลเกี่ยวกับโครงการดังกล่าวว่า หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดประสาทศัลยศาสตร์ที่โรงพยาบาลรามาธิบดีนำเข้ามา มีชื่อเรียกว่า เรเนสซองซ์ (RENAISSANCE) ซึ่งได้รับการยอมรับจาก US FDA ตั้งแต่ปี 2550

08

โดยหุ่นยนต์เรเนสซองซ์เดินทางถึงโรงพยาบาลรามาธิบดีแล้วเมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา นับว่าเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกในประเทศไทย จาก 123 เครื่องทั่วโลก

ทั้งนี้ ในประเทศไทยมีศักยภาพในการพัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดทางการแพทย์ในระดับหนึ่ง แต่ยังขาดงบประมาณที่จะมาสนับสนุนงานวิจัยดังกล่าว

สำหรับหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด หรือ หุ่นยนต์เรเนสซองซ์ มีความสามารถในการกำหนดเป้าหมายในการผ่าตัดกระดูกสันหลังของผู้ป่วย ทำให้ประสาทศัลยแพทย์สามารถใส่สกรูเข้าไปในกระดูกสันหลังของผู้ป่วยได้อย่างแม่นยำมากที่สุด ผู้ป่วยจะปลอดภัยจากการบาดเจ็บของเส้นประสาทและไขสันหลัง โดยเฉพาะในกรณีภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อน ทรุด หรือช่องไขสันหลังตีบแคบ และโรคกระดูกสันหลังคดงอในเด็กและอาการกระดูกสันหลังเคลื่อนในผู้สูงอายุให้กลับมาใช้งานได้เป็นปกติ โดยหุ่นยนต์เรเนสซองซ์ จะช่วยลดอัตราเสี่ยงที่สกรูนั้นจะหลุดออกนอกกระดูกสันหลังไปกดทับหรือตัดเส้นประสาทหรือไขสันหลังขาด ซึ่งอาจทำให้พิการหรือกระดูกสันหลังเสียหายได้ จาก 10-40 เปอร์เซ็นต์ เหลือเพียง 0.1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

04

ทั้งนี้ เทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์เข้ามามีบทบาทอย่างสูงในการอำนวยความสะดวกต่อการยกระดับคุณภาพการรักษาผู้ป่วย ช่วยทำให้งานด้านการผ่าตัด สามารถทำซ้ำได้ ไม่เกิดอาการล้า และมีความแม่นยำสูง มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการเตรียมผู้ป่วยและการวางแผนก่อนการผ่าตัด เช่น การจัดเตรียมอุปกรณ์ การกำหนดทิศทาง ขอบเขต และเป้าหมายรวมทั้งการวางแผนเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา หรือความเสี่ยงต่ออวัยวะสำคัญข้างเคียงของบริเวณที่ทำการผ่าตัด โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีด้านการถ่ายภาพทางการแพทย์ชนิดต่างๆ เช่น เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือการถ่ายภาพคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น

03

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นาวาโท นายแพทย์สรยุทธ กล่าวเพิ่มเติมถึงบทบาทของหุ่นยนต์ผ่าตัดว่ามีส่วนช่วยอย่างมากระหว่างผ่าตัด อาทิ การวัดและติดตามสัญญาณชีวภาพต่างๆ เช่น คลื่นไฟฟ้าหัวใจหรือสมอง คลื่นไฟฟ้าทางระบบประสาท หรือแม้กระทั่งการใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด ทำให้ศัลยแพทย์สามารถตรวจสอบและทราบพิกัด ลดการเกิดอุบัติเหตุต่ออวัยวะสำคัญข้างเคียงได้อีกด้วย

02

“นอกจากนี้ หุ่นยนต์เรเนสซองซ์ ยังช่วยเรื่องความแม่นยำในการผ่าตัดชิ้นเนื้อในสมอง เพื่อการวินิจฉัยโรค รวมถึงการวางขั้วไฟฟ้า เพื่อทำลายหรือกระตุ้นเนื้อสมองบางจุดสำหรับรักษาโรคบางชนิด ได้แก่ ภาวะอาการเคลื่อนไหวผิดปกติ โรคลมชัก โรคพาร์กินสัน รวมถึงโรคจิตบางชนิด เช่น ภาวะโรคซึมเศร้า ย้ำคิดย้ำทำ ภาวะรุนแรง เป็นต้น นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดแผลขนาดเล็กเท่ารูเข็มหรือเพียง 1 เซนติเมตร ลดการแทรกซ้อน ฟื้นตัวเร็วขึ้นอีกด้วย”

01

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนคนไทยทุกคน ธนาคารไทยพาณิชย์ บัญชีกระแสรายวัน สาขารามาธิบดี เพื่อสนับสนุนการจัดซื้อเครื่องมือแพทย์ ได้ที่ เลขที่บัญชี 026-3-05216-3 ธนาคารกรุงเทพ บัญชีกระแสรายวัน สาขาศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ (รพ.รามาธิบดี) เลขที่บัญชี 090-3-50015-5 หรือเข้าชมรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.ramafoundation.or.th หรือ โทร. 02-201-1111 ในวันและเวลาราชการ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน